ดิชั๊นก็ไม่มีความรู้อะไรมาก ขอเป็นการเล่าสู่กันฟังจากอาการของย่า และที่บ้านช่วยกันดูแลหน่ะค่ะ
อาการเบื้องต้นที่เราจับสังเกตได้เป็นอย่างที่คุณ Tzarina ว่าค่ะ แต่รายของย่าดิฉัน จะมีอาการโมโหร้ายรุนแรงมาก จำกิจวัตรประจำวันตัวเองไม่ได้ เช่น กินข้าวหรือยัง อาบน้ำหรือยัง แล้วก็ต้องการความสนใจมากๆ อาการของย่าจะเป็นว่าร้องโวยวายจะกินข้าวตลอดเวลา หาว่าไม่มีใครหาข้าวให้กิน ถ้าเราไม่เอาให้กินอีก หรือบอกว่ากินไปแล้วก็จะโมโหร้าย เหมือนในละครเลยค่ะ หาว่าคนนั้นคนนี้ขโมยข้าวของ มีอาการคิดว่ามีคนเข้ามาในบ้านจะทำร้ายร่างกาย ด่าว่าแก แล้วก็มีอาการคล้ายจิตเพศร่วมด้วย คือได้ยินเสียงกระซิบ (แกว่าแกได้ยินหน่ะนะคะ)
อาการปลีกย่อยอื่นๆ ก็เช่น จำไม่ได้ว่าตัวเองทำอะไรไปบ้าง พูดอะไรไปบ้าง วันที่เท่าไหร่ หรืออยู่ที่ไหน จะกลับบ้านท่าเดียวค่ะ แล้วก็จะเริ่มออกจากบ้าน เคยหายออกจากบ้านไป 2 ครั้งค่ะ แต่ตามหาตัวกันจนเจอ อันนี้ต้องระวังมากๆ นะคะ อาการของย่ามีทำร้ายร่างกายปู่ด้วยค่ะ
แนะนำให้ปรึกษาหมอด่วนเลยนะคะ ดูแลกันไว้แต่เบื้องต้นจะดีที่สุดค่ะ เพราะกว่าที่บ้านจะรู้ว่าย่าเป็น เราเจออะไรกันมาค่อนข้างเยอะ มันบั่นทอนกำลังใจคนในบ้านทุกคนเลยค่ะ อยู่กันไม่ค่อยเป็นสุข
การหาหมอ ไม่ใช่ว่าจะหายหรอกนะคะ แต่เป็นเพียงการควบคุมและดูแลคนไข้และฝึกหัดผู้ดูแลคนไข้อย่างถูกวิธี เพราะอะไรหลายๆ อย่างของคนไข้จะเปลี่ยนแปลง อย่างแรกเลยคืออารมณ์ ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจเขามันจะกลายเป็นปัญหาระดับชาติได้เลยค่ะ (เจอมาแล้ว น่ากลัวมากกก)
การหาหมอของย่า จะเป็นการให้ยาปรับพฤติกรรมของเขาหน่ะค่ะ ไม่ฉุนเฉียว ไม่โมโหง่าย ให้นอนหลับพักผ่อนมากขึ้น แล้วก็จะมียาที่รักษาสภาพและบำรุงสมองด้วยหน่ะค่ะ
ในแต่ละครั้งที่เราไปหาหมอ หมอก็จะปรับเปลี่ยนขนาดยาเพื่อให้เหมาะกับพฤติกรรมแต่ละช่วงของคนไข้ค่ะ เช่น ช่วงนี้ฉุนเฉียวนัก จัดควบคุมอารมณ์หน่อยไม๊ ช่วงนี้นอนมากไป ดูซึมๆ ก็คลายยานอนหลับลง อะไรประมาณนี้ค่ะ
กว่าย่าจะคงเส้นคงวา รวมถึงคนในบ้านด้วยก็ปรับเปลี่ยนขนาดยากันมาหลายยกค่ะ บางครั้งย่าถึงขั้นต้องใส่แพมเพิส กินข้าวไม่ได้ เพราะยาบางช่วง แต่ตอนนี้ก็มีการปรับขนาดกลับมาในระดับที่ย่าสามารถดูแลเรื่องทั่วไปของตัวเองได้ กินข้าวเองได้ แต่ก็ยังจำไม่ได้อยู่ดีค่ะว่าตัวเองกินหรือยัง แล้วก็นอนเป็นเวลามากขึ้น (ตอนแรกๆ ก่อนหาหมอ ย่าไม่หลับไม่นอนเลยค่ะ นึกสภาพว่าจะป่วนโลกได้ขนาดไหน)
เรียกว่าตอนนี้ก็อยู่ตัวแล้วค่ะ ทั้งคนไข้ แล้วก็คนดูแล
สิ่งสำคัญคือคนดูแล คนในบ้าน และครอบครัว นะค่ะ คือต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับคนไข้ค่ะ ช่วงแรกๆ อาจจะทรมานหัวจิตหัวใจ ดูวุ่นวายสับสน พาลประสาทเสียกันไปบ้าง แต่ถ้าเราเข้าใจเขา เข้าใจโรคที่เขาเป็น มันจะโอเคขึ้นค่ะ ตอนนี้ก็เหมือนดูแลเด็กน้อยๆ ขี้เหวี่ยงคนนึงหน่ะค่ะ
แต่อาการของผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกันนะคะ อย่างย่าของดิชั๊น ยังจำลูกหลานที่อยู่ด้วยกันทุกวันได้ค่ะ แต่คนไหนตายไปแล้วบ้างเนี่ย ย่าชอบเรียกหาบ่อยๆ เลยค่ะ 55
เป็นการแชร์ประสบการณ์นะคะ ข้อมูลของดิชั๊นอาจจะถูกบ้างผิดบ้าง ยังไงก็เป็นกำลังใจและเอาใจช่วยนะคะ
ตอนนี้ย่าหาหมอที่ รพ.ศิริราชค่ะ คลีนิคโรคความจำ อาจจะดูปวดหัววุ่นวายกับจำนวนคนไข้ที่เยอะ และเวลาในการรอการรักษาและรับยานิดหน่อย (ที่จริงค่อนข้างครึ่งค่อนวัน) แต่คุณหมอให้การเอาใจใส่ และให้คำแนะนำดีมากๆ ค่ะ
สู้สู้นะคะ ถ้าชินๆ กันแล้วก็เหมือนหลอกเด็กให้กินข้าวกินยาหน่ะค่ะ เอาใจช่วยค่า..
จากคุณ |
:
จ้อยร่อย
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ก.ค. 55 14:57:25
|
|
|
|