Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
โรคซึมเศร้า สัญญาณอันตรายสู่การฆ่าตัวตาย ติดต่อทีมงาน

ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายประมาณร้อยละ 50 โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการรุนแรง และมีประวัติเคยทำร้ายตนเองมาก่อน มุมมองทางการแพทย์เชื่อว่า ผู้ป่วยทางจิตเวชที่คิดฆ่าตัวตาย เมื่อรักษาจนภาวะทางจิตดีขึ้น ส่วนใหญ่ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะลดลง การรักษาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญในการป้องกันการฆ่าตัวตาย และการเจ็บป่วยทางจิตเวชก็ถือเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายด้วย


       โรคซึมเศร้า หรือโรคอารมณ์เศร้า เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกทางจิตใจ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติในลักษณะตรงกันข้ามกัน ซึ่งจะแตกต่างจากอาการเศร้า เบื่อ เซ็ง ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นบางโอกาส


        ถ้าจะวิเคราะห์ปัจจัยทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และ ด้านชีวเคมีในร่างการคนเราที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น มีสาเหตุ ดังนี้(ปุณยภพ สิทธิพรอนันต์ : ฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า, 2550)

       1. ความบกพร่องของสารสื่อสมอง – ในสมองนอกจากมีไขมัน และเส้นประสาทแล้ว ยังมีสารเคมีหลายชนิดวิ่งไปมาระหว่างเซลล์สมอง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณและควบคุมระบบฮอร์โมนของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการคิด เรียนรู้ การจำ และความรู้สึก ไปจนถึงการกำหนดให้ร่างกายแสดงอารมณ์ หรือควบคุมความประพฤติ แต่เมื่อระบบสัญญาณในสมองเกิดลัดวงจร หรือไม่ทำตามหน้าที่เดิมแล้ว สภาพจิตใจ และความรู้สึกนึกคิดก็จะผิดปกติไปด้วยเช่นกัน

       2. ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ – ต่อมไร้ท่อในร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเข้ามาในกระแสเลือด เช่น ต่อมไทรอยด์ในคอ คนที่เป็นโรคต่อไร้ท่อผิดปกติมักจะมีความผิดปกติของอารมณ์ด้วย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปก็ทำให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้า ซึ่งอารมณ์ผิดปกติที่เกิดจากโรคต่อไทรอยด์นี้จะหายไปได้ถ้าแก้ไขระดับฮอร์โมนให้ปกติ

       3. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม – จากการศึกษาครอบครัวหลายครอบครัวที่มีอัตราการเกิดโรคอารมณ์ซึมเศร้าสูง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสรุปได้ว่า เกิดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในโรคซึมเศร้าบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่มีอาการกำเริบหลาย ๆ ครั้ง นอกจากนั้นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงจะพบในผู้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใกล้ชิด (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย หรือพี่น้องบิดามารดาเดียวกัน) มากกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 1 – 3 เท่า… แต่อย่างไรก็ตามพันธุกรรมเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

       4. ขาดการช่วยเหลือจากคนแวดล้อม – แรงสนับสนุนหรือการใส่ใจจากสังคมรอบตัวผู้ป่วย นับเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อต้านอาการที่นำไปสู่สาเหตุของโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่อยู่คนเดียว อ้างว้าง มีเพื่อนน้อย รวมทั้งครอบครัวมีปัญหาภายใน มักจะมีแนวโน้มพัฒนาอารมณ์ไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนปกติ … และเมื่อผู้ป่วยเผชิญกับโรคซึมเศร้าแล้วนั้น ผู้ป่วยจะปลีกตัวเองออกจากสังคม แยกตัวเองออกมาอยู่อย่างเดียวดาย ตัดความสัมพันธ์กับผู้คนที่เคยรู้จักด้วย การโดยเดี่ยวตัวเองจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับหนีปัญหา และจบปัญหา… กลุ่มผู้ป่วยที่พบมากในกรณีที่ขาดความช่วยเหลือจากคนแวดล้อมคือ คนชราที่เกษียณอายุ หรืออยู่ในสถานสงเคราะห์

       5. เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย – ตามสถิติของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้หญิงมักป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าชายถึง 2 เท่า แต่สถิติของการฆ่าตัวตาย ผู้ชายฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า … การที่ผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าชาย ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะผู้ชายมีปัญหาน้อย แต่ผู้ชายมันมีแนวทางในการแก้ปัญหาแตกต่างจากผู้หญิง เช่น หันหน้าไปพึ่งอบายมุข, หันไปบ้างาน หรือหาสิ่งอื่นมาทดแทนความรู้สึกเศร้าซึม เป็นต้น แต่ผู้หญิงจะมีทางออกน้อยกว่าชาย จึงมักเก็บปัญหาไว้ในใจ เมื่อไม่ค่อยมีโอกาสได้ผ่อนคลายและเก็บปัญหาไว้มากเข้า จึงระเบิดออกมากลายเป็นโรคซึมเศร้า

       6. การเปลี่ยนแปลระดับของฮอร์โมน – จากผลการวิจัย ผู้หญิงเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฮอร์โมนเพศสูงขึ้น ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับโรคซึมเศร้า ในผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะกระตุ้นสารเคมีในสมองที่ควบคุมอารมณ์ ดังนั้นฮอร์โมนเพศหญิงจึงมีส่วนเพิ่มอัตราการเกิดโรคซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้หญิงมักจะตอบสนองต่อฮอร์โมนความเครียดคอร์ติโซลได้ง่ายกว่าเพศชายอีกด้วย

       7. อายุ – เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลโดยตรง คือคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึ่มเศร้ามากกว่าคนปกติ และต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย

       8. การดื่มสุรา – เป็นที่แน่นอนว่าสุรามีส่วนเกี่ยวพันกับโรคซึมเศร้า ถ้าบุคคลนั้น ๆ มีอาการซึมเศร้าลึก ๆ อยู่ภายในแล้ว การดื่มสุราเข้าไปจะยิ่งไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการเศร้ากะทันหัน รุนแรง และน่ากลัว

       9. การสูบบุหรี่ – คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะสูบบุหรี่ สองสิ่งนี้จะเสริมกัน และยิ่งส่งผลเสียเป็นเท่าทวี

       10. การติดยาเสพติด – โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงมีความสัมพันธ์กับการติดยาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพวกฝิ่น สารกระตุ้นสมอง คนที่ติดยายิ่งใช้ยามากเท่าใด บ่อยเท่าใดก็จะยิ่งทำให้เกิดโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

       11. โรคทางจิตเวชอื่น – เช่นโรคย้ำคิดย้ำทำ, โรคกินผิดปกติ, โรคกลัวอ้วน ฯลฯ โรคเหล่านี้ส่งผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

       12. โรคทางร่างกายอื่น – ในผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจ สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสุขที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป รวมทั้งความกังวลในการตกเป็นภาระของบุคคลใกล้ชิด มีแนวโน้มที่จะคิดสั้นปลิดชีวิตตัวเองให้พ้นจากความรู้สึกทุกข์ทนเช่นนี้ได้อย่างง่าย ๆ

       13. สาเหตุทางด้านสังคม - ปัญหาทางด้านสังคม เป็นปัญหาที่หลายคนในสังคมต้องเผชิญร่วมกัน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ, การแก่งแย่งแข่งขันกันของในสังคม, ความสับสนวุ่นวาย เป็นต้น ความรู้สึกแปลกแยก หรือถูกกดดันจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่งผลให้เกิดความเครียดจนกระทั่งเกิดภาวะซึมเศร้าในบุคคลได้

       14. ความรู้สึกสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก – ย่อมสร้างความรู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ กลุ้มใจให้กับผู้ที่ต้องสูญเสียเป็นธรรมดา แต่บางคนที่ไม่สามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่สามารถหันหน้าเผชิญกับความเป็นจริงได้ ความรู้สึกเช่นนี้จะชักนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้

       15. ความเครียด – ความเครียดเป็นอาการความผิดปกติเพียงเล็กน้อยทางการทำงานของสารเคมีในสมอง หรืออาจเรียกว่าเป็นความผิดปกติทางจิตขั้นอ่อน ๆ เท่านั้น หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด

       16. ความวิตกกังวล – ความวิตกกังวล หรือการคิดใจจดใจจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระวนกระวายกับสิ่งที่คิด เหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจสะสมเร็ว และส่งผลร้ายได้ในระยะเวลาไม่นาน

       17. บุคลิกเฉพาะอย่าง – กลุ่มบุคลิกภาพผิดปกติเรียกกว่า “บุคลิกภาพผิดปกติแบบซึมเศร้า” (depressive personality disorder) มักเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย และเซื่องซึม มักชอบตำหนิตัวเอง และผู้อื่น คนกลุ่มนี้จะมองโลกว่ามีแต่ความโหดร้าย ไม่มีใครสนับสนุนตนเอง มองตนเองเป็นคนไร้ค่า มองอนาคตอย่างไร้ความหวัง

       18. ญาติผู้ป่วยผันตัวเองมาสู่โรคซึมเศร้า – นอกจากผู้ป่วยแล้ว ญาติผู้ป่วยก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจ และให้ความช่วยเหลือ เพราะหากความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของโรคที่ผู้ป่วยต้องเผชิญแล้ว เขาจะเกิดความสับสน ทำให้ท้อแท้ และทุกข์ทรมานใจ ตลอดจนเกิดความเครียดในที่สุด


อาการของโรคซึมเศร้า


       การวินิจฉัยว่าบุคคลหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้านั้น อาการของโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนมาก เนื่องจากอาการทางกาย หรือพฤติกรรมที่แสดงออกว่าผิดปกติไปจากเดิม เช่น เฉื่อยชา เซื่องซึม หรือขาดสมาธิ มักไม่เชื่อมโยงกับอาการป่วยทางจิตใจ จนยากในการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้แพทย์ได้พยายามหาวิธีหรือเกณฑ์บ่งชี้เบื้องต้นว่าผู้ป่วยเข้าข่ายว่ากำลังมีความซึมเศร้าหรือไม่ ดังนี้  

       - มีอาการโศกเศร้าเสียใจ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต

       - ความกระตือรือร้น และความสนุกสนานในกิจกรรมที่เคยทำทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดลดลงอย่างมาก มีอาการเฉื่อยชา


       - มีอารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย และเปลี่ยนแปลงแบบขึ้น ๆ ลง ๆ  

       - น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยมีน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ควบคุมอาหาร หรือลดน้ำหนัก หรือความอยากอาหารเพิ่มขึ้น หรือลดลงเกือบทุกวัน

       - มีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับบ่อยมากนานผิดปกติเกือบทุกวัน

       - ความสามารถในการคิดถดถอย หรือสมาธิไม่ดี หรือไม่สามารถตัดสินใจได้ และอาการนี้เป็นอยู่เกือบทุกวัน

       - อ่อนเพลียไม่มีแรง

       - การเคลื่อนไหวของร่างกายเปลี่ยนไป โดยมีอาการกระวนกระวายอยู่ไม่นิ่งมากกว่าปกติหรือเคลื่อนไหวช้าลง รวมทั้งความคิดช้าลงหรือฟุ้งซ่านมากขึ้นเกือบทุกวัน ทั้งนี้จะตัดสินโดยการสังเกตจากผู้อื่น  

       - รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หรือมีความรู้สึกว่าตนเองผิดไม่ดีอย่างมากเกินเหตุเกือบทุกวัน ที่ไม่ได้เกิดจากการตำหนิตัวเองหรือความรู้สึกผิดเพราะป่วย

       - เกิดอาการประสาทหลอน หูแว่ว

       - รู้สึกมองโลกในแง่ร้ายอย่างมาก

       - ความจำเสีย จำอะไรไม่ค่อยได้  

       - คิดเรื่องฆ่าตัวตายซ้ำ ๆ หรือคิดเรื่องฆ่าตัวตายโดยอาจจะไม่มีการวางแผนการที่แน่นอน หรือพยายามฆ่าตัวตาย หรือวางแผนการฆ่าตัวตาย  

       เราเองก็ช่วยกันดูแลคนที่เราห่วงใย และใกล้ชิดได้ง่าย ๆ ก่อนที่การสูญเสียจะเกิด ขึ้น

แม่ยังสาว แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ถือเป็นภาวะโรคซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาในการดูแลรักษาในอันดับที่ 5-6 ของโลก ซึ่งในอนาคตอาจขยับขึ้นเป็นปัญหาอันดับ 2 เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ต่างจากเบาหวาน หรือ หัวใจ อย่าคิดว่าเป็นแล้วจะสามารถหายได้เอง โรคนี้เป็นมหันตภัยเงียบ นอกจากส่งเสียกับตัวเอง ยังส่งผลกระทบกับบุคคลรอบข้างอีกด้วย” (นายแพทย์อภิชัย มงคล, Quality of Life – Manager Online)  


       หนทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น มีค่อนข้างหลากหลายวิธี และแนวทาง เนื่องจาก เป็นโรคที่ต้องบำบัดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะในเรื่องของจิตใจ หากเกิดการเสียศูนย์แล้ว การเยียวยารักษาต้องค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งยังต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด อย่างที่ได้เคย มีคนกล่าวไว้ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”...  


       ในบทความนี้จะสรุปวิธี หรือแนวทางการรักษา และบำบัดอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งมี มากมายทั้งการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ, การบำบัดด้วยพฤติกรรม, ธรรมชาติบำบัด, สารอาหาร ฯลฯ ดังนี้(ปุณยภพ สิทธิพรอนันต์ : “ฆ่าตัวตาย เพราะโรคซึมเศร้า”)


       + จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (Psychodynamic Psychotherapy) – มีพื้นฐานของทฤษฎีที่ ว่าปัญหา ความผิดหวัง ความเศร้า เป็นสิ่งที่ถูกเก็บซ่อนไว้ในใจเราตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยเก็บไว้ใน รูปแบบของจิตใต้สำนึก จนนำไปสู่สาเหตุของโรคซึ่มเศร้า (Psychodynamic Psychotherapy) – มีพื้นฐานของทฤษฎีที่ว่าปัญหา ความผิดหวัง ความเศร้า เป็นสิ่งที่ถูกเก็บซ่อนไว้ในใจเราตั้งแต่ยัง เป็นเด็ก โดยเก็บไว้ในรูปแบบของจิตใต้สำนึก จนนำไปสู่สาเหตุของโรคซึ่มเศร้า  


       วิธีการรักษาคือใช้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้รักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเล่าข้อขัดแย้งในจิตใจ ออกมา เรียกกระบวนการนี้ว่าการโอนถ่ายข้อมูล (Transference) ซึ่งผู้รักษาจะสะท้อนพฤติกรรม ของผู้ป่วยออกมาให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาในตัวเอง และเข้าใจพฤติกรรมของตนเองอย่างลึกซึ่ง เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริง ๆ  


       + จิตบำบัดแบบเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล – มีพื้นฐานจากความเชื่อที่ว่า โรคซึม เศร้าเกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือจากความสัมพันธ์ในสังคมไม่ดี  


       การบำบัดแบบนี้จะเน้นสาเหตุที่เป็นปัจจุบันและแก้ไขง่ายกว่าการสืบสาวหาต้นตอปัญหา ผู้ รักษาจะช่วยปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น


       + จิตบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความสึกคิด และพฤติกรรมบำบัด – การรักษาแบบนี้จะเน้น การที่ทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความคิดเพื่อที่จะเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้าได้


       + การบำบัดอารมณ์ด้วยเหตุผล – วิธีการบำบัดด้วยความคิดที่มีเหตุผลนี้เชื่อว่า จิตใต้ สำนึกของเรานั้นสามารถสร้างปัญหาทางอารมณ์ได้โดยผ่านความคิดที่ไม่มีเหตุผล หรือความเชื่อ ที่ไร้เหตุผล ไม่ว่าจะเกิดจากพันธุกรรม หรือการเลี้ยงดู แต่ความคิดแบบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การบำบัดวิธีนี้จะใช้วิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์มาก ๆ นั้นคือใช้การตั้งสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐานนั้น  


       อย่างไรก็ดีจุดประสงค์หลักของการรักษาแบบนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น ต้อง พยายามเปลี่ยนความเชื่อของตนอย่างต่อเนื่อง และอย่างสม่ำเสมอ


       + จิตบำบัดแบบสตรีนิยม – เน้นมุมมองที่ผู้หญิงถูกแยกแยะบทบาทางเพศ ให้รู้สึกด้อยค่า การรักษาแบบนี้จะทำให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าตัวเอง และแสดงออกในการรักษาด้วยตนเอง ความ คิดเห็นของผู้ป่วยจะไดรับการยอมรับอย่างเต็มที่ ประหนึ่งว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ที่สำคัญคือ ผู้ ป่วยจะถูกกระตุ้นให้มองเห็นบทบาทของความแตกต่างทางเพศที่สังคมกำหนด ให้และเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาของผู้ป่วยขึ้น  


       + การบำบัดแบบคู่สมรส และการบำบัดครอบครัว – การบำบัดนี้จะใช้ความร่วมมือของ สมาชิกในครอบครัวให้มาบำบัดร่วมกัน  


       + การใช้ยาแก้เศร้า – ยาแก้เศร้าคือยาที่ป้องกันอารมณ์ซึมเศร้า หรือลดอารมณ์ซึมเศร้า ยานี้จะช่วยให้การทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับมาเป็นอย่างเดิม โดยการช่วยให้สารสื่อ สมองที่ขาดหายไปกลับมาทำงานตามปกติ ยาแก้เศร้ามีหลายตัวซึ่งจะต้องจัดแตกต่างกันตาม ลักษณะอาการ อายุ และเพศของผู้ป่วยด้วย


       + เครื่องช็อตฟฟ้า – เป็นวิธีที่นำมารักษาโรคซึมเศร้าอย่างได้ผล โดยการปล่อยกระแส ไฟฟ้าอ่อน ๆ ส่งผ่านขั้วไฟฟ้าซึ่งติดไว้ที่ศรีษะบริเวณขมับทั้งสองข้าง และปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่าน ขั้วไฟฟ้าเข้าไปในสมอง และหลังจากหายแล้วผู้ป่วยยังต้องกินยารักษาอย่างต่อเนื่องอีกหลายเดือน หรืออาจเป็นปี


       + การบำบัดด้วยแสงสว่าง – วิธีการรักษาโดยทั่วไปจะให้แสงสว่างผ่านกล้องที่มีไฟฟ้า และวางไว้บนโต๊ะในแนวราบ หรือตั้งฉากกับพื้น การรักษาด้วยแสงสว่างนี้เหมาะกับโรคซึมเศร้า ประเภทซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งจะเกิดขึ้นในบางช่วงเวลาที่แสงแดดอ่อน ๆ เช่น ในช่วงฤดูหนาว เวลาเย็น ๆ หรือช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน


       + สารอาหารแก้เครียด – สำหรับอาหารที่ช่วยคลายเครียดได้อย่างดี ต้องมีคุณค่าทาง อาหารครบประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การ ทำงานของร่างกาย และจิตมีประสิทธิภาพ


       + วิตามินบี คอมเพล็กซ์ หรือวิตามินบีรวม – เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นวิตามินที่ต่อต้าน ความเครียดได้


       + การออกกำลังกาย – คนที่มีอาการซึมเศร้าเมื่อไปพบแพทย์ นอกเหนือจากการได้รับ ยาต้านอารมณ์เศร้าแล้ว ยังมักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย


       + ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ – โดยน้ำที่เหมาะแก่การดื่มคือ น้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป ถ้าเป็นน้ำอุ่นควรดื่มตอนเช้า เพื่อช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด และช่วยในการขับถ่ายของเสีย


       + การนอนหลับ – การควบคุมการนอนให้ได้เหมาะสม ทำให้ร่างกายพักผ่อนได้เต็มที่จน เป็นเรื่องปกติ


       + ดนตรีบำบัด – ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมอง ในหลาย ๆ ด้าน


       + ประโยชน์ของการสัมผัส – การสัมผัสไม่ใช่มีเฉพาะการกอดเท่านั้น แต่เพียงแค่สัมผัสมือ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ส่วนในคนที่อาศัยอยู่ตามลำพัง หรือ ขาดการสัมผัสจากผู้อื่นหรือคนในครอบครัวที่คุ้นเคย อาจหาวิธีอื่นที่ง่ายและได้ผลดี เช่น การนวด วิธีต่าง ๆ  


       + การกระตุ้นทางสายตา – การได้มองสิ่งที่สวยงามสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณได้ เช่น มองธรรมชาติที่สวยงาม สีสบายตา เป็นต้น


       + การกระตุ้นโดยการใช้กลิ่น – ตัวอย่างกลิ่นที่มีผลต่อการผ่อนคลายอารมณ์ซึมเศร้า ได้แก่ กระเพรา, มะกรูด, อบเชย, มะลิ, ตะไคร้, ส้ม, กระดังงา, ใบสะระแหน่, ลาเวนเดอร์, มะนาว เป็นต้น


       + ประโยชน์จากการฟัง – การที่ได้ยินเสียงที่รื่นรมย์ทุกวันทำให้ชีวิตของเรามีคุณภาพ เสียงจากธรรมชาติ เช่น นกร้อง น้ำไหล จะช่วยทำให้จิตใจสงบได้


       + ประโยชน์จากการเขียน – การเขียนนอกจากจะเป็นวิธีที่แพทย์ใช้ตรวจสอบกระแส ความคิดผู้ป่วยเหล่าแล้วนั้น ยังช่วยหันเหความสนใจของผู้ป่วยต่ออาการซึมเศร้า ทำให้ผู้ป่วยไม่ยึด ติดกับความเชื่อที่ว่าตัวเขาไม่สามารถทำอะไรได้ ผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นฟูระบบความคิด ความจำและเรียนรู้ จนนำไปสู่การเปิดตัวเองสู่โลกภายนอกในที่สุด


       + ศิลปะบำบัด – ประโยชน์ของการวาดภาพนั้นช่วยให้คุณได้ระบายออกทางอารมณ์ ในยาม ที่คุณรู้สึกเศร้า โดยไม่ต้องกังวลว่าเราต้องเป็นศิลปินหรือมีฝีมือแค่ไหน


       + การบำบัดด้วยการหัวเราะ – การหัวเราะนับว่าเป็นวิธีการบำบัดที่สามารถช่วยกระตุ้น ภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงขึ้นได้


       + พลังบำบัดจากผองเพื่อน – เพื่อน ๆ อาจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา แต่ในแง่ของการให้กำลังใจก็สำคัญเช่นกัน เพื่อน ๆ สามารถสร้างกำลังใจ และสร้างความ ภาคภูมิใจให้ได้ ซึ่งสามารถส่งผลดีในเชิงจิตวิทยาได้


       + การเข้าสังคม – การเข้าสังคมเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ในทันทีทันใด แต่ต้องอาศัยการยอมรับ และความรู้สึกสนุกจากกิจกรรมนั้นจริง ๆ  


       + การกำหนดเป้าหมายของชีวิต – การมีชีวิตอยู่โดยปราศจากเป้าหมาย ก็เปรียบเสมือน การเดินทางโดยปราศจากจุดหมายปลายทาง


       ไม่ว่าจะทำการบำบัดรักษาด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือกำลังใจของ คนรอบข้างต่อผู้ป่วย เพราะแม้เข้าจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตัวเองมากแค่ไหน แต่หากครอบครัว เพื่อนฝูงไม่สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับไปเป็น โรคซึมเศร้าก็ย่อม เกิดขึ้น อย่างที่ทราบว่าโรคซึมเศร้านั้นรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลา และความเข้าใจ อย่างมาก

http://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=65&id=120
http://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=65&id=119

 
 

จากคุณ : jureeporn
เขียนเมื่อ : 11 ก.ค. 55 14:19:48




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com