Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
เรื่องเล่าระบบสุขภาพในประเทศไทย ติดต่อทีมงาน

เรื่องเล่านี้มีที่มาจากการที่ผมได้อ่านหลายๆกระทู้ที่บ่นเกี่ยวกับสิทธิ์รักษาพยาบาล เลยขอนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังครับ

การที่คนๆหนึ่งมารพ. (ของรัฐบาล) มักจะมีสิทธิ์การรักษาทั่วไปคร่าวๆดังนี้ครับ (จะเล่าละเอียดแต่ละอย่างภายหลังครับ)
1.พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
2.บัตรทอง, บัตร 30 บาท, รักษาฟรี ชื่อพวกนี้เป็นอันเดียวกันครับ
3.ประกันสังคม
4.เบิกจ่ายตรง (ข้าราชการ)
5.จ่ายเงินเอง (บางคนสามารถนำใบเสร็จไปเบิก รัฐวิสาหกิจ, บริษัทประกัน ฯลฯ)
6.สิทธิ์ฟรีแบบไม่มีเหตุผล (อันนี้ส่วนใหญ่ต้องขอ ผอ. ส่วนใหญ่จะเฉพาะผู้ที่บริจาคให้ รพ.)

เล่าถึงอันแรกก่อนครับ
พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากรถ (ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือเป็นคนเดินถนนที่รถมาชนก็ตาม) จะต้องใช้สิทธิ์นี้ก่อนเสมอ (ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีสิทธิ์อื่นๆหรือไม่ก็ตาม) จะยกเว้นก็แต่รถที่ไม่ต้องทำพรบ. เช่น จักรยาน รถตีนตะขาบ รถถัง ฯลฯ
สิทธิ์นี้จะรักษาได้สำหรับทุกรพ. ไม่ว่ารัฐบาลหรือเอกชน โดยจะจำกัดวงเงินอยู่ที่ 3 หมื่นบาท (ถ้าจำไม่ผิด) คือ ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเองไปก่อนแล้วนำไปเบิกเองในภายหลัง แต่หากค่ารักษาพยาบาลเกิน 3 หมื่นบาท (สำหรับอุบัติเหตุครั้งนั้น) แล้วสิทธิ์รักษาพยาบาลจะถูกเปลี่ยนเป็นสิทธิ์เดิมของผู้ป่วยในทันที
กรณีนี้มักมีปัญหาในบางครั้ง เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วเข้ารักษาที่รพ.เอกชน ซึ่งค่ารักษาพยาบาลช่วงแรกที่ไม่เกิน 3 หมื่นบาท จะสามารถเบิกได้ แต่หลังจากนั้นก็จ่ายเงินเองครับ เพราะฉะนั้นควรแจ้งแพทย์ที่ทำการรักษาหากต้องการย้ายไปยังรพ.ที่มีสิทธิ์ครับ

จากคุณ : zenario
เขียนเมื่อ : 16 ส.ค. 55 10:47:04




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com