 |
ปัญหายาข้าราชการ....ประเด็นที่ยังไม่มีใครพูดถึง
|
|
ปัญหายาข้าราชการ....ประเด็นที่ยังไม่มีใครพูดถึง นาวาอากาศโท นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ กรรมการแพทยสภา ปัญหายาข้าราชการที่เป็นภาพยนต์เรื่องยาว...ฉายมาหลายปี....ได้ขมวดเกลียวถึ งจุดไคลแม็ก...เป็นฟางเส้นสุดท้ายเมื่อมีคำสั่งกระทรวงการคลัง ลงนามโดยรองปลัดกระทรวงฯ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมานั้น....โดยเนื้อความให้ “สถานพยาบาลรัฐ-แพทย์-ผู้ป่วย”..... “ต้องกระทำการ...และห้ามกระทำการต่างๆ”....หลายหน้า....จำนวนหลายสิบข้อ...ห ลังจากนั้นจึงเกิดกระบวนการ....ทักท้วง...คัดค้าน...ทั้งจากภาครัฐต่างกระทร วง....แพทย์....และประชาชนที่ได้รับการถูก... “รอนสิทธิ์” จากคำสั่งทางปกครองดังกล่าว.... ผู้เขียนขอชี้ให้เห็น...รากปัญหา ๒ ประการที่ยังไม่มีใครพูดถึงดังนี้..... ๑ ...”บัญชียาหลักแห่งชาติ”....(Essential Drug Lists) ....ปัญหาเกิดจากการนำ “บัญชียาดังกล่าว”...ถูกนำมาใช้แบบ...”ผิดที่ผิดทาง”.... “ผิดฝาผิดตัว”... .....Essential Drug List....แปลเป็น “ภาษาไทย”....ที่ถูกต้องคือ...“บัญชียาที่จำเป็น”... แนวความคิดดังกล่าวก่อการโดย WHO เมื่อหลายสิบปีก่อน เพื่อกระตุ้นให้บรรดารัฐบาลประเทศต่างๆได้....จัดทำ...บัญชียาของประเทศ-สถา นพยาบาล “ขั้นจำเป็น”...”พื้นฐาน”...ต้องจัดให้มีไว้เพื่อ “คุ้มครองประชาชน”...ให้ได้รับการรักษาและมี “ยา” ที่จำเป็นขั้นต่ำครบถ้วน....คือ “เป็นมาตราฐานขั้นต่ำ-พื้นฐาน”... บัญชียานี้ WHO ไม่ได้ระบุไว้ตายตัว ให้แต่ละประเทศจัดทำเอง...ตามความชุกของโรค...เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยต้องมี..ยาต้านเชื้อวัณโรค...ต้านเชื้อมาลาเรีย...ซึ่งยาดังกล่า วไม่จำเป็นต้องระบุในบัญชียานี้ของประเทศยุโรปตอนเหนือ เป็นต้น... ในประเทศไทยก็ได้จัดทำ Essential Drug Lists ดังกล่าวนี้ไว้ตามคำแนะนำ....เพื่อประโยชน์อ้างอิง “ทางการแพทย์”...เท่านั้นทำไว้นานแล้ว....แต่ในกาลต่อมา...คณะบุคคลบางกลุ่ม ...พยายามนำ Essential Drug List ดังกล่าว...มาผูกกับเงื่อนไขการจ่ายเงิน....จาก “มาตราฐานขั้นต่ำ”...แปลงร่างมาเป็น “มาตรฐานขั้นสูง”...(คือห้ามใช้เกิน..บุคคลใดใช้เกินต้องถูกตรวจสอบ) โดยเพิ่มรายการยาให้มากขึ้น....ซึ่งประเทศที่ฉลาดกว่าเราส่วนใหญ่ในโลกนี้.. .ไม่กระทำกัน....คล้ายๆมีความพยายามจะ “แต่ง” (Modify) รถยนต์ปิกอัพที่...ชาวบ้านร้านตลาดคนไทยชื่นชอบให้กลายเป็น....”เครื่องบินเ จ็ต”.....ฉันใดฉันนั้น.... ดังนั้นการนำ...Essential Drug List....มาผูกกับเรื่อง....”ความชอบธรรม”...ในการเบิกจ่าย....ประเทศที่ชาญฉ ลาด....และศิวิไลซ์กว่าเรา...”เขาไม่ทำกัน”.... ๒....จบจาก “มาตรฐานขั้นต่ำ”...ในข้อหนึ่ง..ลองมาดูมาตรฐานขั้นสูงบ้าง....ใครใช้เกินนี ้ต้องถูกตรวจสอบนั้น...ประเทศที่เจริญแล้วเขาทำกันอย่างไร.. เงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ...หลักการเหมือนประกันสุขภาพเอกชน กล่าวคือ ผู้ป่วยสามารถ “เลือก” แพทย์ –สถานพยาบาลได้ด้วยตนเอง เป็นรูปแบบที่ premium เหมือน private healthcare ตามปรกติวิสัย----ซึ่งแน่นอน---ให้ความพึงใจสูง---แต่ต้องเพิ่มระบบ ตรวจสอบ audit (ไม่เหมือน สปสช-สปส ซึ่งเป็นระบบ capitation ใช้การตรวสอบน้อยกว่า--แต่ความพึงใจก็ต่ำกว่าเช่นกัน) ในการกำกับดูแล “ตรวจสอบความสมเหตุผล”...การเบิกจ่ายการใช้ยา...และค่ารักษาพยาบาลนั้น บริษัทประกันสุขภาพต่างๆจะมี....Medical Audit Unit.....เป็นกระบวนการตรวสอบทาง “มาตรฐาน” และ “จริยธรรม”....เราเรียกว่า Peer Review ทำกันเป็นเรื่องเป็นราว โดยปรกติบริษัทประกันจะ “ตั้งงบ”...ไว้ส่วนหนึ่งในการนี้เช่น...ร้อยละ ๐.๕-๑% ของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ เช่นบริษัทประกันมียอดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ปีละ ๑,๐๐๐ล้านบาท ก็ต้องใช้เงินประมาณ ๕ ล้านบาทในการตรวจสอบ...มีคณะแพทย์-พยาบาล เข้าเดินตรวจแฟ้มตาม รพ.ต่างๆทุกๆปี...รพ.ไหนประวัติดี....ก็อาจจะเป็นเว้นไปเป็นทุก ๓ ปีตรวจหนึ่งที....เป็นต้น...นอกเหนือจากกระบวนการตรวจสอบทาง “ระบบสารสนเทศ” ซึ่งกระทำการเป็นปรกติในทุกๆการบิกจ่ายแล้ว....กระบวนการนี้เหมือนการตรวจสอ บทางบัญชี...Auditor หรือผู้ตรวจสอบบัญชี..ได้รับอำนาจจาก “สภาการบัญชี”....ตามกฎหมาย “ให้มีอำนาจตามกฎหมายวิชาชีพ”...ตรวจสอบมาตรฐานความถูกต้องทางบัญชี..... ความพยายามนำ...”คำสั่งทางปกครองแบบเหวี่ยงแห”...มาตรวจสอบ “มาตรฐานการแพทย์-individual healthcare”....ประเทศที่เจริญแล้ว...เขาไม่กระทำกัน....นอกจาก...ไม่ลดค่าใ ช้จ่ายแล้ว...กลับทำให้เกิด... ความโกลาหล ..“ลดคุณภาพ-ลดมาตรฐาน” ด้วย---- “ไม่ปลอดภัยกับประชาชน-ข้าราชการ” การตรวจสอบ-Audit Peer Review นี้กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางต้องจัดตั้งให้เป็นเรื่องเป็นราว...ตามมาต รฐานการแพทย์...ตามสภาวิชาชีพและราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ๑๔ แห่ง...ตามกฎหมายเฉกเช่นมาตรฐานการบัญชี..... ตั้งงบไว้ ๐.๕% ...ลดค่าใช้จ่าย (แบบถูกที่ถูกทาง) ๕% เบ็ดเสร็จได้คืนปีละ ๔.๕% ก็คุ้มค่าแล้ว....ข้าราชการประชาชนไม่ต้องเดือดร้อน...ไม่ถูกรอนสิทธิ์...แล ะ สามารถ “จับขโมย”...ได้ถูกตัว...ไม่ใช่ต้องการขโมย ๑ คนแต่ประชาชนอีก ๙๙ คนต้องเดือนร้อน “ไม่มียาใช้”... “วิธีการแบบ...ล้อมปราบม็อบ”....ไม่น่าจะเป็นการกระทำที่เหมาะสมในทางการแพท ย์... โดยสรุป...ประเทศที่ชาญฉลาดกว่าเรา...เขาใช้ Essential Drug List ไว้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ....เพื่อคุ้มครองประชาชน....และใช้ทีม-หน่วยงาน “ผู้ตรวจสอบทางมาตรฐานวิชาชีพ”...เป็นเพดานขั้นสูง...โดยตั้ง “งบไว้”...แบบสากล...จึงจะเกิด “ความเป็นธรรม” แก่ประชาชนข้าราชการ...ที่ยั่งยืน.....ผมอยากเห็นกระทรวงการคลัง....ใช้วิธี การแบบ “ประเทศศิวิไลซ์” เขาถือปฎิบัติกันครับ.... นาวาอากาศโท นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ กรรมการแพทยสภา
จากคุณ |
:
หมอหมู
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ต.ค. 55 22:15:34
|
|
|
|  |