ความคิดเห็นที่ 3
ฝาจี หรือฝาชี เป็นคู่กับฝาเจิบ หรือ ฝาจี ใช้กลึงจากไม้สักบ้าง ใช้สานทำจากไม้ไผ่บ้าง คลุมขันโตกไว้เพื่อกันแมลงวัน และฝุ่นละออง โบราณนิยมทำกันทุกครอบครัว ส่วนฝาจิบ ได้แก่ ฝาชีขนาดเล็กกลึงจากไม้สักหรือสานจากไม้ไผ่ เอาปกคลุมไหข้าว หรือภาชนะขนาดเล็กที่ใช้นึ่งข้าวเหนียวของชาวล้านนาไทยภาชนะที่ใช้ครอบใช้เรียกว่า ฝาเจิบ
กัวะข้าว เป็นภาชนะคล้ายขันโตก ทำด้วยไม้สักอย่างเดียวกัน แต่ไม่มีเชิงหรือตีนอย่างขันโตก โดยมากเวลากลึง หรือเคี่ยน แล้วจะใช้ได้เลย คือใช้เป็นที่รองข้าวเหนียว เวลายกลงจากไห-นึ่ง ทางล้านนาเรียกว่า"ปลงไหข้าว" หรือ "ปลดไหข้าว" จะต้องเทลงไปในกัวะนั้น ดังปรากฎในค่าว "พระยาพรหมดโวหาร* ตอนหนึ่งว่า จักบอกนายแพง เจ้าแป้งกลิ่นกู๊ เจ้าแต่งต้อนหลายอัน มีพร่ำพร้อม โต๊ะโตกกัวะขัน ของจื๋นจ่าวมัน หอมหวนใส่ด้วย คันจักจาก็กลัวคำยาวค่าวนัก ฯลฯ
( จักบอกน้องผู้เป็นที่รัก ผู้มีกลิ่นหอมประดุจกระแจะจันทน์ว่า เขาได้ตบแต่งต้อนรับหลายสิ่งอันพรักพร้อมด้วย โต๊ะ , โตก , กัวะ และ ขัน ทั้งของทอด ( จื๋น ) , ผัด( จ่าว ) , มันหอมหวน อร่อยด้วย ถ้าจะพูดจาว่ากล่าว ว่ามีอะไรบ้าง ก็กลัวจะยืดยาวไป)
จากคุณ :
อีกาสีขาว
- [
5 ส.ค. 46 11:43:47
]
|
|
|