 |
@ เรื่องเล่าจากล้านนา ตอนที่๑๔(มูเซอ) @
หากขับรถจากกรุงเทพขึ้นเหนือไปทางถนนพหลโยธิน หลายคนคงต้องเคยดื่มกาแฟสดดอยมูเซอกันแน่ๆ เดี๋ยวนี้ตามทางก็มีแต่กาแฟสดขายกันอยู่เยอะไปหมด กว่าจะถึงเชียงรายเชียงใหม่อิ่มกาแฟพุงกางกันเลยทีเดียว ได้ยินแต่ดอยมูเซอ เผ่ามูเซอ มูเซอเป็นกลุ่มคนแบบไหนเป็นมายังไงถึงมาอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองกลายเป็นคนเมืองก็เยอะ วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับชนเผ่ามูเซอกัน
ลาหู่ ู (มูเซอ) Lahu ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) สาขาพม่า-โลโล (Burmese-Lolo) Synonyms : Lohei, Muhso, Musso, Mussuh มูเซอ อาศัยอยู่ใน 7 จังหวัด 30 อำเภอ 446 หมู่บ้านจำนวนหลังคาเรือน 15,388 หลังคาเรือน ประชากรรวม 85,845 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.44) มูเซอมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศทิเบต เมื่อถูกชาวจีนรุกรานก็ค่อยๆถอยร่นลงมาทางใต้ ในศตวรรษที่ 17 และ 18 พวก มูเซอได้ตั้งอาณาจักรอิสระของตนเองบริเวณเขตแดนพม่า-จีน มีหัวหน้าปกครองกันเอง เมื่อ พ.ศ. 2423-2433 มูเซอถูกจีน รุกรานอีก จึงอพยพลงมาทางใต้ บางพวกเข้าไปอาศัยในลาว รัฐฉาน และประเทศไทย ปัจจุบันมูเซอในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา
1. มูเซอแดง (Lahu Nyi) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพวกมูเซอด้วยกัน เรียกตัวเองว่า ลาฮูยะ (Lahu-ya) ผู้หญิงมูเซอแดง มีแถบผ้าสีแดงเย็บบนผ้าสีดำ ผ้านุ่งมีลายสีขาว สีเหลือง น้ำเงิน เสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวเสื้อสั้นเปิดเห็นพุง ผ่าอก กลาง ติดแถบผ้าสีแดง ขอบคอใช้กระดุมเงิน ผู้ชายตัดผมสั้น เสื้อสีดำผ่าอกกลางมีกระดุมโลหะเงินประดับที่แขนเสื้อ ข้างหน้าและ ข้างหลัง เวลาเดินทางมีหน้าไม้กับดาบติดตัวไปด้วยเสมอ (บุญช่วย 2506, น.301-302)
จากคุณ :
อีกาสีขาว
- [
6 ส.ค. 46 11:45:26
]
|
|
|
|
|