}} เรื่องเล่าจากล้านนา#๖๑(เรือนกาแล ตอนจบ) {{

    หากติดตามเรื่องเรือนกาแลกันมาจริงๆจะเห็นว่ามีเรือนทางล้านนาอีกแบบนึงที่ผมยังไม่ได้เล่าก็เรือนกาแลแบบประยุกต์นี่แหละ คือเรือนไม้จริงที่วิวัฒนาการรูปทรงไปจากเรือนกาแล

    เรือนประเภทที่ 3 นี้ เป็นเรือนไม้จริงที่หลงเหลืออยู่มากกว่าเรือนกาแลแต่ก็เริ่มรื้นถอนกันไปมากแล้ว เรือนแบบนี้เป็นเรือนที่แสดงถึงวิวัฒนาการของรูปแบบบ้านพักอาศัยที่ต่อเนื่องจากเรือนกาแล และถือว่าเป็นเรือนพื้นเมืองของล้านนาอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นเรือนยุคหลังกว่าเรือนกาแล รูปแบบหรือลักษณะทางกายภาพของเรือน เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมการปลูกสร้างแบบดั้งเดิม และวัฒนธรรมที่ชาวล้านนาได้รับมาจากภายนอก รูปทรงภายนอกของเรือนจะผันแปรไปหลายลักษณะตามสมัยนิยม โดยเฉพาะลักษณะฝา ระเบียง การเจาะช่องประตูหน้าต่าง การขึ้นทรงหลังคาที่มีระนาบซับซ้อนน่าพิศวง เป็นการแสดงถึงอัจฉริยภาพของช่างพื้นเมืองที่รู้จักประสานประโยชน์จากความรู้กับเทคนิควิทยาการช่าง ที่ได้รับมาจากต่างถิ่นได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม และกลมกลืนกับวิถีชีวิตซึ่งเปลี่ยนไปบ้างอาคารพักอาศัยชนิดนี้ส่วนใหญ่ยังคงยึดแบบแผนการจัดเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคารในลักษณะของเรือนกาแลเดิมเอาไว้  จะมีข้อปลีกย่อยบางส่วนเท่านั้นที่คลี่คลายไปจากเดิม ส่วนรูปทรงภายนอกได้คลี่คลายไปอย่างกว้างขวางซึ่งมีคุณค่าทัดเทียมกับเรือนกาแลเลยทีเดียว และถือว่าเป็นเรือนไม้ที่วิวัฒนาการเข้าสู่รูปพื้นถิ่นที่สมบูรณ์ เมื่อช่างล้านนารับระบบวิธีการปลูกสร้างและค่านิยมจากภาคกลางในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา  

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 46 13:36:27

     
     

    จากคุณ : อีกาสีขาว - [ 20 ก.ย. 46 11:32:38 ]