ความคิดเห็นที่ 2
อาการกรดไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหาร (gastro-esophageal reflux/GERD) เกิดจากการที่น้ำย่อยในกระเพาะผซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด) ไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหาร ซึ่งไม่มีผนังป้องกันเหมือนในกระเพาะ ทำให้เกิดการระคายเคือง ผู้ป่วยอาจมีอาการแสบร้อนไปถึงหัวใจ (heart burn) บางคนอาจรู้สึกถึงน้ำย่อยในปาก/ลำคอ กลืนอาหารลำบาก หายใจลำบากตอนกลางคืน ท้องไส้ปั่นป่วน/อาหารไม่ย่อย
ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ จะทำให้เกิดการอักเสบ เป็นแผล เสียเลือดจนอาจเกิดโลหิตจาง หลอดอาหารตีบ และที่ร้ายที่สุดคือ อาจกลายเป็นมะเร็งได้
สาเหตุการเกิด เชื่อว่าเกิดจากการเสื่อม/ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (lower esophageal sphincter/LES) ทำงานผิดปกติ เกิดช่องว่าง/ปิดไม่สนิท ทำให้เมื่อกระเพาะบึบตัว น้ำย่อยส่วนหนึ่งจึงไหลย้อนกลับไปได้ ยิ่งปิดไม่มิด ก็ยิ่งมีกรดไหลย้อนกลับไปมากขึ้น ผุ้ป่วยก็จะมีอาการแย่ลงมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้ อาการนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีลักษณะกระเพาะอยุ่ในระดับสูงกว่าช่องท้องปกติได้ด้วย (กระเพาะยื่นเข้าไปเหนือกระบังลม)
อาการนี้รักษาได้ด้วย 1.หากอาการไม่รุนแรง ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดสูบบุหรี่ งดกินอาหารรสจัด งดการกินอาหารก่อนนอน งดอาหารที่มีไขมันสูง งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยกหัวให้สูงกว่าขาขณะนอน 2.หากอาการรุนแรง/รักษาด้วยข้อ 1 ไม่ได้ผล สามารถเริ่มใช้ยาลดกรด โดยเริ่มใช้ยายาในกลุ่ม H2 Blocker เช่น cimetidine ,famotidine หากไม่ได้ผล อาจใช้ยากลุ่ม Protron pump inhibitor เช่น omeprazole ,lansoprazole 3.หากอาการรุนแรงและใช้ยาไม่ได้ผล ผู้ป่วยอาจเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ LES ได้
http://www.gicare.com/pated/ecdgs39.htm http://thaigastro.org/jw/jw4.htm
จากคุณ :
Marquez
- [
6 ต.ค. 46 19:57:43
]
|
|
|