 |
}} เรื่องเล่าจากล้านนา#๙๘(เจ้าหลวง) {{
ที่มา : วารสารสกุลไทย ฉบับที่ 2420 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2001 บทความคอลัมภ์เวียงวัง โดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์
ทำไมเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่บางองค์ จึงเรียกว่า พระเจ้า บางองค์เรียกว่า เจ้าหลวง
บรรดาเจ้าผู้ครองนครอันเป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น คำนำพระนามว่า พระเจ้า มีเกียรติยศสูงกว่า เจ้าหลวง และ เจ้านคร หากเจ้าครองนครองค์ใดประกอบคุณความดีมีความชอบ พระเจ้าแผ่นดินสยามก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น พระเจ้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ ในรัชกาลที่ ๕ จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติศักดินาเจ้านาย พระยา ท้าว แสน เมืองประเทศราชให้ พระเจ้าประเทศราช ถือศักดินา ๑๕,๐๐๐ ไร่ (เท่ากับศักดินาของพระองค์เจ้าต่างกรม ชั้นพระเจ้าลูกยาเธอ) เจ้าประเทศราช ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ พระยาประเทศราช คือมิได้เป็นเจ้า ถือศักดินา ๘,๐๐๐ ไร่
นครเชียงใหม่ มีพระเจ้านครเชียงใหม่ และเจ้านครเชียงใหม่ ๙ องค์ ที่ ๑. พระเจ้ากาวิละ พระโอรสองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าชายแก้ว เจ้าฟ้าชายแก้ว เป็นโอรสองค์ใหญ่ของพระยาสุลวฤาชัย สงคราม (พ่อเจ้าทิพย์ช้าง) ที่ ๒. เจ้าหลวงธรรมลังกา ที่ ๓. เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น ที่ ๔. เจ้าหลวงพุทธวงศ์ องค์นี้ ชาวเชียงใหม่สมัยนั้นเรียกกันว่า เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น ครองเมืองนานถึง ๒๐ ปี โดยปราศจากศึกสงคราม เพราะเป็นช่วงที่พม่าติดพันสงครามกับอังกฤษ ที่ ๕. พระเจ้ามโหตรประเทศฯ ที่ ๖. พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ องค์นี้ชาวเมืองเรียกกันว่า เจ้าชีวิตอ้าว เนื่องจากมีพระนิสัยเฉียบขาด ในการตัดสินคดี หากดำรัสว่า อ้าว เมื่อใด แสดงว่า คนนั้น คอขาด ที่ ๗. พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (อินทรวิไชยานนท์) องค์นี้ ครองเชียงใหม่นานถึง ๒๔ ปี ถึงแก่พิราลัยเมื่อชนมายุ ๘๐ ระยะหลัง ชาวเมืองจึงเรียกท่านว่า พ่อเจ้าชีวิตเฒ่า ที่ ๘. เจ้าอินทวโอรสสุริยวงศ์ ที่ ๙. เจ้าแกว้นวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์สุดท้ายครองนคร พ.ศ.๒๔๕๒ ถึงแก่พิราลัย พ.ศ.๒๔๘๒
ภาพประกอบ : แม่เจ้าอุษา มหาเทวีพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
จากคุณ :
อีกาสีขาว
- [
24 ต.ค. 46 12:09:03
]
|
|
|
|
|