CafeTech-ExchangePantip MarketChatTrendyMobilePantown


    • • คะ ค่ะ • •{แตกประเด็นจาก L2989105}

    ตัว "ค" เป็นอักษรต่ำ
    ถ้าเป็นคำเป็นจะผันได้ 3 เสียง คือเสียงสามัญ โท และ ตรี เช่น คา ค่า ค้า,  มา ม่า ม้า,  วาง  ว่าง (อ้าง)ว้าง เป็นต้น
    ถ้าเป็นคำตาย
    •เสียงสั้น จะผันได้ 2 เสียง คือ เสียงโท (รูปวรรณยุกต์ คือไม้เอก เสียงโท) และ ตรี(เป็นพื้นเสียง ไม่ต้องมีวรรณยุกต์ก็เสียงตรี) เช่น ค่ะ คะ, น่ะ นะ  ไม่มีวรรณยุกต์ จะเสียงสูงกว่ามีวรรณยุกต์กำกับ
    •เสียงยาว จะผันได้ 2 เสียงคือ เสียงโท และ ตรี เช่นกัน
    -พื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น มาก นาก ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ถ้าเสียงเป็นเสียงโท
    -ถ้าต้องการผันให้เป็นเสียงตรี จะใส่ไม้โท เช่น เชิ้ต โน้ต เป็นต้น

    ใครอยากรู้ละเอียดกว่านี้ คงต้องไปอ่าน จินดามณีเอาเอง  จินดามณี เป็นกลบท แต่งในสมัยอยุธยา รำเพยจำคนแต่งไม่ได้แล้ว แต่ว่าคิดว่า พระโหราธิบดี เป็นคนแต่ง เป็นกลบทสอนการผันอักษร และมีเรืองของการใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ฯลฯ

    ทีนี้ ค่ะ กับ คะ

    คำว่า ค่ะ และ คะ .......เป็นอักษรต่ำคำตายเสียงสั้น.....ดังนั้น.... พื้นเสียงคือเสียงตรี
    •คำว่า "คะ" เสียงตรี (เสียงสูงกว่า ค่ะ)
    -ใช้ในประโยคคำถาม เช่น ไปไหนมาคะ, ซื้อของที่ร้านเจ้เล้ง ได้อะไรมาบ้างคะ, SK-II ใช้ดีไหมคะ, กันแดดกันได้ครบไหมคะ
    -ใช้ในประโยคที่แสดงอาการตกใจ, ประโยคปฏิเสธ* เช่น ไม่จริงมั้งคะ หนูซื้อมาแพงนะคะ ทำไมไม่ดี หนูไม่ได้แพ้นะคะ (ไม่ย้อมมม ไม่ยอม) , ไม่นี่คะ ไม่ได้ไป
    -ใช้ในการตอบรับเวลาคะเรียก* เช่น รำเพยยยยยยยยยย (กรุณาลากเสียง) ........ คะ คะ มาแล้วค่ะ
    -ใช้ในประโยคขอร้อง เช่น สะกดให้ถูกๆหน่อยนะคะ

    •คำว่า "ค่ะ"...........เป็นอักษรต่ำคำตายเสียงสั้น รูปเอก เสียงโท
    -ใช้ในประโยคบอกเล่า เช่น วันนี้ไปซื้อ Sisley มาค่ะ กะว่าจะเอามาลอง, ไปร้านเจ้เล้งมาค่ะ ได้ของมาเยอะเลยค่ะ
    -ใช้ในประโยคปฏิเสธ* เช่น ไม่ใช่ค่ะ ทากันแดดตัวนี้ไม่ได้แน่ๆค่ะ แพ้แน่ๆ, ไม่ซื้อละค่ะ
    -ใช้ในการตอบรับ* เช่น ค่ะ ทราบแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ
    -ใช้ในประโยคคำสั่ง เช่น ห้ามเข้าค่ะ

    * ต้องดูบริบทด้วยว่าจะต้องการให้ออกเสียงอย่างไร

    จากคุณ : รำเพย - [ 2 ก.ย. 47 05:00:02 ]