CafeTech-ExchangePantip MarketChatTrendyMobilePantown


    ~~ ..." กุหลาบปากซัน" เพลงนี้...มีที่มา...~~

    smile หวัดดีครับ เพื่อนๆทุกคน coffee ครัวซอง

    แวะมาเยี่ยมเยียนก่อนหายหน้าไปปฏิบัติภารกิจซักพัก

    idea วันนี้มีเรื่องประวัติและผู้แต่งเพลง กุหลาบปากซัน มาฝากครับ


    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    redrose แม้เพลง "กุหลาบปากซัน" จะโด่งดังไปทั่วถิ่นแคว้นแดนไทย และได้ถ่ายทอดผ่านนักร้องมากหน้าหลายตา ทั้งเพื่อชีวิตและลูกทุ่ง

    แต่กว่าจะมีการระบุชื่อของ "สุลิวัต" หรือ "ส.สุลิวัต" ลงไปในฐานะผู้ประพันธ์เพลงที่ถูกต้องนั้น เพิ่งปรากฏชัดแจ้งเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
    โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีเหมารวมว่า "ศิลปินลาว" sad

    blueผู้ประพันธ์เพลง "กุหลาบปากซัน" จึงไม่ต่างจากคีตกวีนิรนามมาตลอด เฉกเช่นเพลงลาวดังอีกหลายเพลง

    กระพริบตา เพลง "กุหลาบปากซัน" ถูกนำมาถ่ายทอดมากที่สุด นับแต่ครั้งแรกที่ สีเผือก คนด่านเกวียน นำมาบันทึกเสียงใน ชุด "ไอ้หิน" (2529)

    จากนั้นก็มีอีกหลายอัลบั้มหลายค่ายที่บนแผงเทปมีให้ติดตามตลอด ไม่ว่าจะเป็น ชุดสะแด่วแห้ว, รวมเพลง 12 ปีคนด่านเกวียน, รวมสุดยอดเพลงฮิต และเสียงเพรียกแห่งชีวิต 3 ที่รถไฟดนตรีวางขายเมื่อกันยายน 2540 หลังจากสุลิวัตสิ้นชีพไปแล้ว 3 ปี

    exclaim โดยระบุว่า "คำร้อง-ทำนองเป็นของศิลปินประเทศลาว" เช่นเคย sad

    yuck และบางอัลบั้มไม่รู้ว่าผิดพลาดประการใดที่ใส่ชื่อผู้แต่งคำร้อง-ทำนองว่า "อิศรา อนันตทัศน์" ลงไปด้วย

    หรืออย่างสองพี่น้องตระกูล "หน่อสะหวัน" จากชุด "เพชรแท้" ของภูสมิง ยังใส่กุหลาบปากซันลงไปโดยระบุคำร้อง-ทำนองว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว"
    หรือภูสมสนุก ออกอัลบั้ม "ถนนสายเวียงจันทน์" ในนามค่ายกระบือแอนด์โค เมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ระบุคล้ายๆ กัน

    ""ดูแล้วมันแป้วหัวใจ แต่ใจหนึ่งก็ภูมิใจนะ ที่เพลงของเราดีขนาดที่คนเอาไปร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า""

    น้ำเสียงที่ไม่รู้ว่าน่าดีใจหรือสลดใจกันแน่ ของ สุลิวัต ที่เคยให้สัมภาษณ์กับผู้จัดการรายสัปดาห์เมื่อ 9 ปีก่อน ถ้าหากมีชีวิตถึงวันนี้ ไม่รู้จะกล่าวเช่นเดิมหรือไม่?

    sad น่าเสียดายที่ท่านสุลิวัต มิทันได้อยู่ดูความฟูเฟื่องเรืองรุ่งของกุหลาบปากซัน ที่ท่านบรรจงปลูกด้วยถ้อยอักษราและดนตรี จนเบ่งบานมากว่าสี่สิบกว่าปี

    ""ผมเดินทางไปเยี่ยมพี่ชายที่เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ เย็นวันหนึ่งผมไปนั่งริมแม่น้ำซัน เห็นสาวๆ ลงอาบน้ำกัน ผมนึกสนุกก็เลยแต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่ง ให้ชื่อว่ากุหลาบปากซัน

    ""ต่อมามีงานประกวดผลงานเพลงที่กรุงเวียงจันทน์ ก็ส่งเข้าประกวด ปรากฏว่าได้อันดับ 3 แรกทีเดียวเพลงนี้ไม่ได้อัดเสียง ก็ได้แต่เอาไปร้องตามงานต่างๆ สันติ พิมสุวัน เป็นนักร้องคนแรกที่ร้องเพลงกุหลาบปากซัน ร้องมากๆ เข้าคนก็จำได้""

    นั่นเป็นที่มาของกุหลาบปากซันอันลือลั่น ที่หนุ่มชาวคันทะบุลีแต่งไว้เมื่อปี 2502 ด้วยวัยเพียง 24 ปี ในยามที่แวะไปพักกับพี่ชายที่เป็นตำรวจอยู่ที่ปากซัน

    ในปีนั้น ท่านจำปา ลัดตะนะสะหวัน เจ้าของนามปากกา "สุลิวัต" คือข้าราชการหนุ่มที่เพิ่งเข้าทำงาน หลังจากเรียนจบด้านช่างสำรวจจากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพไปหมาดๆ

    เรื่องเรียนหนังสือนั้น ท้าวจำปาเคยข้ามโขงมาเรียนหนังสือยังฝั่งเมืองมุกดาหาร ตั้งแต่อายุ 10 ขวบก็ว่าได้ กระทั่งอายุ 18 ปี จึงได้ทุนรัฐบาลลาวไปเรียนช่างสำรวจก่อสร้างสะพาน-ถนน ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ทุ่งมหาเมฆ ในปี 2496

    ตลอดชีวิตห้าปีที่เรียนอยู่ในกรุงเทพฯนั้น ตรอกจันทร์คือนิวาสถานอันคุ้นเคยที่เขาได้พักอยู่กับเพื่อนนักเรียนทุนด้วยกันเอง ด้วยความรักเสียงเพลงเป็นนิจ ช่วงเรียนปีสุดท้าย "วงดนตรีลาวร่วมมิตร" จึงเกิดขึ้น

    กลับมารับราชการอยู่บ้านเกิดได้ปีสองปีสถานการณ์การเมืองเริ่มตึงเครียดขึ้น เมื่อร้อยเอกกองแลก่อการรัฐประหารยึดนครเวียงจันทน์ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2503 จัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี ณ เวลานั้น ชะตาชีวิตข้าราชการหนุ่มนักประพันธ์พลิกผันเข้าสู่กองทัพในอีกหนึ่งเดือนต่อมา

    ทันทีที่นายพลพูมี หน่อสะหวัน และเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก ประกาศจัดตั้งคณะปฏิวัติต่อต้านรัฐบาลเวียงจันทน์อยู่ที่สะหวันนะเขต หนุ่มวัยเบญจเพสจึงถูกเรียกเข้าประจำการในหน่วยจิตวิทยา กองทัพราชอาณาจักรกลุ่มนายพลพูมี โดยรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีกองทัพ

    ตามวิสัยนักแต่งเพลง มีหรือที่จะปล่อยวิกฤติทางการเมืองเช่นนั้นผ่านเลยไปได้

    "สองฝั่งของ" บทเพลงอันว่าด้วยความปรองดองของพี่น้องลาวไทยทั้งสองฝั่งจึงเกิดขึ้น หลายบทเพลงของจำปาจึงถูกนำไปถ่ายทอดผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติอยู่หลายปี

    ในการบันทึกแผ่นเสียงเพลง "สองฝั่งของ" ครั้งแรกเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว เพลงนี้ขับร้องโดย "ทานตะวัน ขันทะวาน"

    ต่อมาได้มีนักร้องไทยนำมาร้องบันทึกเสียงอีกหลายคน อาทิ พุ่มพวง ดวงจันทร์, ศันสนีย์ นาคพงศ์, อังคนางค์ คุณไชย เป็นต้น

    กระทั่งปลายปี 2518 เมื่อรัฐบาลเจ้ามหาชีวิตสุวันนะภูมสิ้นสุดลง แผ่นดินลาวเข้าสู่ยุคสร้างสรรค์สังคมนิยม ท่านจำปาต้องไปสัมมนาอยู่นานถึงสามเดือนก่อนทางการจะปล่อยให้กลับมาใช้ชีวิตปกติ

    ในขณะที่ยุคนั้น ปัญญาชนของลาว "โตน" ไปสู่ประเทศที่สาม หากแต่จำปายังคงปักหลักอยู่บ้านเกิด มีเพียงแต่บทเพลงของเขาเท่านั้นที่โบยบินไปสู่ดินแดนแสนไกล
    flowerflower

    ++++++++++++++++++++++++

    exclaim เชิญพบกับผู้อุปถัมภ์รายการซักครู่ ก่อนติดตามตอนต่อไป wink

     
     

    จากคุณ : 447 - [ 18 ธ.ค. 47 14:36:13 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป