ข้อตกลงระหว่าง กสทฯและฮัทชิสัน มีดังนี้ "บีเอฟเคที" ซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่ายซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดภาคกลาง จะโอนกิจการทั้งหมดรวมถึงโครงข่ายให้ กสทฯ โดยก่อนโอนต้องชำระหนี้และปลดเปลื้องภาระผูกพันใดๆ ที่มีอยู่ให้เสร็จก่อน
ส่งผลให้ กสทฯ เป็นเจ้าของโครงข่าย และสามารถบริหารจัดการโครงข่ายสำหรับการให้บริการได้ทั้ง 76 จังหวัด
จากนั้น กสทฯจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HCWML) ตัวแทนทางการตลาด 25 จังหวัดภาคกลางภายใต้แบรนด์ฮัทช์ แต่เนื่องจากมีภาระขาดทุนสะสมจำนวนมาก ซึ่ง กสทฯและฮัทชิสันต่างต้องการให้ HCWML พ้นสภาพขาดทุนสะสม และมีผลประกอบการที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้
"ฮัทชิสัน" จึงตกลงรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขผลขาดทุนสะสมของ HCWML ทั้งหมด โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนให้จ่ายชำระหนี้และแก้ไขผลขาดทุนสะสมได้ และจะให้ กสทฯเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทด้วย
หลังการเพิ่มทุน การถือหุ้นอาจมีสัดส่วนดังนี้ เป็น "กสทฯ : ฮัทช์ : สถาบันการเงินของรัฐ สัดส่วน 49 : 49 : 2" หรือ "กสทฯ : ฮัทช์ 49 : 51" ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาขั้นสุดท้าย สำหรับ HCWML กสทฯได้วางรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยให้เป็นผู้ให้บริการซีดีเอ็มเอในลักษณะของ mobile virtual operator (MVNO) ทั้ง 76 จังหวัดโดยเช่าใช้โครงข่ายจาก กสทฯ เพื่อให้บริการทั่วประเทศ
ที่น่าสนใจก็คือจะให้ใช้ชื่อ "ฮัทช์" เป็นชื่อ การค้าเพียงชื่อเดียว
อย่างไรก็ตาม (HCWML) ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 1 จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ด้วย
ข้าง กสทฯ จะทำหน้าที่เป็น mobile network operator (MNO) เนื่องจากเป็นผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุในการให้บริการซีดีเอ็มเอ และเป็นเจ้าของโครงข่ายซีดีเอ็มเอทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งกรรมสิทธิ์ของ กสทฯ หลัง "บีเอฟเคที" โอนกิจการทั้งหมดให้แล้ว กสทฯจะให้ HCWML เช่าใช้โครงข่ายดังกล่าวเพื่อให้บริการ โดย กสทฯมีหน้าที่ดูแลรักษา และปรับปรุงโครงข่ายเท่านั้น จะไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ใช้บริการซีดีเอ็มเอ
งานนี้เรียกว่า "วิน-วิน" ด้วยกันทั้งคู่ เพราะแม้ฮัทชิสันจะต้องรับผิดชอบหนี้ ที่ว่ากันว่ามากถึง 4 หมื่นล้านบาท !!! ใน HCWML ก็จริง แต่อย่าลืมหนี้ที่ว่าส่วนใหญ่เป็นหนี้ค่าเช่าโครงข่ายของ บีเอฟเคที ซึ่งบริษัทนี้ก็อย่างที่รู้ๆ กันว่า ใครเป็น ผู้ถือหุ้น ถ้าไม่ใช่ "ฮัทชิสัน"
การยอมรับหนี้และโอนโครงข่าย "บีเอฟเคที" มาให้ กสทฯ เพื่อแลกกับสิทธิในการทำตลาด ซีดีเอ็มเอทั่วประเทศ เท่ากับว่าได้ยกสถานะขึ้นเป็น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ แม้จะอยู่ในรูปแบบ MVNO ทั้งยังทำตลาดภายใต้แบรนด์ "ฮัทช์" ซึ่งทำตลาดอยู่ก่อนแล้วตามสิทธิที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ด้วย
ปัจจุบัน "ฮัทช์" มีฐานลูกค้าประมาณ 7 แสนรายขณะที่กสทฯก็กลายสภาพเป็นผู้ให้บริการ โครงข่ายสมความตั้งใจ และน่าจะถนัดมากกว่า
ทีนี้ก็ต้องมาลุ้นกันว่าอีกไม่กี่อึดใจที่ว่าจะใช้เวลาอีกสักแค่ไหน
ขอขอบคุณ
http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=71239
จากคุณ :
[t]_steps
- [
15 ก.ย. 50 15:15:37
]