ตอนนี้ กทช. ยังไม่อนุมัติคลื่นความถี่ใหม่ ก็คือ 2100 MHz ที่ส่วนใหญ่ operator ของชาวโลกใช้เพื่อเปิด 3G (70-80% ของ 3G Operator ทั้งโลก)
ก็มีแนวคิดและทางออกต่าง ๆ กันไปว่าจะใช้ความถี่เดิมเพื่อเปิด 3G ก็มีทั้ง ใช้คลื่น 850/ 900/ 1800/ 1900 MHz เพื่อจะทดสอบแล้วหวังผลทางการตลาดโดยรวม จนตอนนี้คนเริ่มสับสนว่า ไอ้ความถี่ที่ต่างกัน แล้วมันต่างกันยังไง แล้วมือถือ 3G ในตลาดเมืองไทยที่ขายกันโครม ๆ จะใช้ได้ไหมอันนี้ต้องติดตามกับ BlizWiz นะครับ
แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า ไอ้ความถี่ที่ต่างกันจะส่งผลต่อการรับสัญญาณของเครื่องโทรศัพท์ของคุณแน่นอน รวมไปถึงส่งผลต่อความถี่เดิมที่ใช้กันอยู่แล้วในปัจจุบัน
เรื่องส่งผลถึงความถี่เดิมนั้นจริง ๆ ก็คือเรื่อง ความถี่ที่ซ้อนทับกันของเทคโนโลยีที่ต่างกัน แต่ใช้ความถี่เดียวกันนั่นแหละครับ เช่น AIS เปิด 3G บนความถี่ 900 MHz ก็จะเป็น GSM900 กับ WCDMA (UMTS) 900 ซึ่งต้องอาศัยช่องความถี่เดียวกันซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาในการจัดการช่องสัญญาณ รวมไปถึง Capacity แล้วก็ปัญหาการจัดสรรความถี่เพื่อใช้บนแต่ละ technology
ดูตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ NMT900 และ GSM900 ที่ใช้ความถี่เดียวจึงต้องเลือกยุติการให้บริการอย่างหนึ่งอย่างใดไป โดยเลือกให้บริการ GSM ต่อเพราะว่าเป็นมาตรฐานที่ใหม่กว่าโดยโอนถ่ายความถี่เดิม มาใช้กับ tech ใหม่
สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือความถี่เดิม บน Tech ต่างกัน ต้องใช้ความถี่ที่มีร่วมกัน
ตอนนี้มาดูความถี่บนระบบ GSM ที่คุ้นหน้าคุ้นตากับบ้านเรากันดีกว่า บางอันจะแปลก ๆซะหน่อย ก็ไม่ต้องสนใจนะครับ เพราะว่าบางความถี่ในต่างประเทศจะใช้กับราชการทหารบ้างอะไรแบบนี้ครับ
Source: wikipedia.org
แก้ไขเมื่อ 23 ม.ค. 51 21:55:59
แก้ไขเมื่อ 23 ม.ค. 51 21:30:30