ความคิดเห็นที่ 9
========================================= ความคิดเห็นที่ 7
อยากให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยออกมาชี้แจงหน่อยเถอะครับ ว่าทำไมมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีอย่างไรจึงทำไมไม่สามารถคิดค่าบริการแบบ realtime ได้
ถ้าเป็นแบบนี้ทั่วโลก ผมก็ยอมรับได้ละครับ
จากคุณ : Garfield-Th - [ 13 ส.ค. 51 12:38:08 ]
=========================================
ขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญครับ เพียงแต่เคยรู้ระบบ GSM คร่าวๆ มาบ้าง ไม่รู้ละเอียดนักแต่พอจะอธิบายตามที่ผมเข้าใจให้ฟังได้ ถ้าหากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ใครสามารถชี้จุดผิด และแก้ไขให้ถูกต้อง จักขอบพระคุณมากครับ
ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีแบบรายเดือนผมขอเรียกว่า GSM แล้วกันนะครับ จะใช้หลักการที่พัฒนา มาจาก PSTN หรือโทรศัพท์บ้านนั่นเอง ดังนั้นในสมัยก่อนจึงมีการคิดค่าใช้จ่ายแบบข้ามเขต มีซิมภาคเหนือ ภาคกลาง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลในการจดทะเบียน ข้อมูลซิม และอื่นๆ จะถูกเก็บไว้ที่ HLR (ถ้าจำไม่ผิดเต็มๆ คือ Home Local Register) ซึ่งแต่ละภาคก็จะมี HLR เก็บไว้ อาจจะ 1-2 ตัว แล้วแต่ปริมาณผู้ใช้ (รองรับได้แค่ไหน ถ้าลูกค้าเต็มก็เปิด HLR ตัวใหม่) ส่วนแต่ละภาคก็จะมี VLR (Visited Local Register) แยกต่างหากด้วย ซึ่ง VLR จะทำหน้าที่ ในการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ เช่น ลูกค้าจดทะเบียนกรุงเทพฯ มีข้อมูลอยู่ HLR กทม. เดินทางไปเชียงใหม่ มีข้อมูลชั่วคราว อยู่ที่ VLR ของเชียงใหม่
เวลาเราโทรออก มันก็จะส่งไปที่ base station แล้วก็จะส่งไปหา VLR ซึ่ง VLR จะทำการร้องขอ ข้อมูลไปที่ HLR ที่กรุงเทพฯ เพื่อที่จะรู้ว่าเบอร์นี้มี service อะไรบ้าง แล้วก็ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น จากนั้นก็จะทำการวิเคราะห์เบอร์ที่คุณโทรออก ว่าเป็นเบอร์ที่ไหน จะส่งข้อมูลไปหาใคร HLR ของภาคอื่น หรือว่าเป็น HLR ของเครือข่ายอื่น (ในกรณีที่ DTAC โทรหา AIS ก็จะส่งไปที่ Gateway ของรัฐ)
ในทางกลับกัน เมื่อมีใครก็ตามโทรหาคุณ
ตัว Gateway ก็จะส่ง request มาที่ HLR กรุงเทพฯ เพราะมันรู้ว่าเบอร์นี้จดทะเบียน มีข้อมูลอยู่ที่ HLR กรุงเทพฯ (เช่น HLR ตัวนี้ชื่อ HSHIN3 ) ตัว HLR ก็จะรู้ว่า ขณะนี้คุณอยู่เชียงใหม่ แถวๆ ไหน เพราะมันรู้ว่า VLR ตอนที่คุณไปอยู่ที่นั่น จะส่งข้อมูลออกมาว่า ตอนนี้คุณอยู่ที่ VLR เชียงใหม่ (เช่นชื่อว่า VCHM1)
นี่คือสาเหตุที่ทำไมต้องมีค่าโทรฯต่างพื้นที่ ในกรณีโทรต่างค่าย ในสมัยก่อน (ก็ไม่นานหรอก ผมยังไม่แก่)
สมชายมีทะเบียนบ้านอยู่หนองคาย ไปทำงานกรุงเทพฯ มีที่อยู่ที่กรุงเทพฯให้คนที่บ้านไว้ติดต่อ เพื่อนเก่าต้องการติดต่อสมชาย ก็ส่งจดหมายไปที่หนองคาย (รู้แค่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน) จากนั้นเดี๋ยวที่บ้าน สมชาย ก็ติดต่อสมชายให้เอง โดยอาจจะโทรไปบอกสมชายที่กรุงเทพฯ ว่ามีจดหมายมา หรืออะไรก็ว่าไป
คร่าวๆ ก็เป็นดังนี้แหละครับ ทีนี้มาเข้าเรื่องการคิดค่าใช้จ่ายดีกว่า
การเก็บเงินและบันทึกการใช้โทรศัพท์ จะมีข้อมูลเก็บไว้ที่ VLR แต่ละแห่ง อาจจะประมาณ 10 - 20 ตัว ทั่วประเทศ (จำนวนผมไม่แน่ใจ มั่วเอาแล้วกัน) ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบไฟล์ ใน format ที่แตกต่างกันไป ในแต่ละ brand หรือเก็บเป็นฐานข้อมูล (อันนี้ไม่ confirm) โดย period ในการดึงไฟล์ต่างๆ เหล่านี้ มาประมวณผล คิดคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละโปรโมชั่น แต่ละคน มักจะทำช่วงเวลากลางคืน
อาจจะเนื่องจากกลัวว่าถ้ามีปัญหาในการดึงไฟล์ ตัวชุมสายจะได้ไม่ล่ม หรือถ้าล่มก็เป็นช่วงกลางคืน คนใช้น้อย ผลกระทบน้อยกว่า (โดนด่าน้อยกว่า)
ดังนั้นเมื่อเป็นเวลากลางคืน ถ้าหากมีปัญหาไฟล์ หรือข้อมูลไม่อัพเดท มักจะล่าช้าเป็นเวลา 1-2 วัน (คำว่า 8-12 ชั่วโมงเป็นคำพูดทางอุดมคติ ในเชิงคำนวณเท่านั้น - อันนี้ผมมั่วเอาเช่นกัน ^^ )
มีคำถามหลายต่อหลายครั้งว่า
ทำไม DTAC ถึงอัพเดทได้เร็วกว่า AIS ในเรื่องค่าโทรฯ ??? - ตอบจากความเห็นส่วนตัว ไม่ขอยืนยัน : เพราะ DTAC ใช้ network ของ brand เดียวคือ Nokia (ถ้าจำไม่ผิด) ในขณะที่ AIS ใช้หลายยี่ห้อ Ericsson, Nokia, Siemens (แค่นี้มั้งถ้าจำไม่ผิด) ในการนำไฟล์หรือข้อมูลหลายๆ format มาประมวณผลให้ถูกต้อง ทำได้ยากกว่า และอาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้มากกว่าเช่นกัน
แล้วทำไม AIS ถึงไม่ใช้ brand เดียวเหมือนกันล่ะ ??? - ตอบจากความเห็นส่วนตัว ไม่ขอยืนยัน : เพราะน่าจะเป็นเรื่องธุรกิจ และการถ่วงอำนาจ การต่อรองราคา และ อื่นๆ
มาที่คำถามยอดฮิต
แล้วทำไม one-2-call หรือ prepaid ถึงรู้ค่าใช้จ่ายทันที ??? - ตอบจากความรู้ที่มี ไม่ขอยืนยัน อาจจะจำผิดจำถูก:
เพราะระบบสองระบบนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Postpaid เป็นระบบ GSM ที่มาจาก PSTN ซึ่งเป็นระบบแบบเก่า ใช้กันมานานแล้ว แต่ Prepaid เป็นระบบใหม่ ที่เรียกว่า Intelligent Network (ไม่ยืนยันชื่อ) หรือที่รู้กันชื่อ IN (ไอ-เอ็น) ถูกพัฒนาเมื่อประมาณ 10 ปีนิดๆ มั้ง
โดยที่เมื่อคุณโทรออก ระบบจะส่งจาก base ไปหา VLR แล้วก็ส่งต่อไปยัง SCP เพื่อเช็คยอดเงิน ที่เหลือก่อน รวมถึง service ต่างๆ ด้วย (นั่นคือสาเหตุว่าทำไม ซิมการ์ดถึงต้องแยกกัน) โดยที่ SCP จะรู้ยอดเงินที่มีอยู่ และในขณะเดียวกัน หากคุณต้องการเติมเงิน ก็จะมีระบบ USSD มาช่วย เพื่อเพิ่มยอดเงินใน SCP
ดังนั้น SCP คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ postpaid แตกต่างจาก prepaid นั่นเอง
ส่วนเรื่อง GPRS/EDGE เป็นอีกเรื่องนึง ที่การคิดค่าใช้จ่ายก็จะมีอุปกรณ์อื่นอีก SGSN, GGSN อะไรพวกนี้ เดี๋ยวจะยาว
ดังนั้นตอนนี้ผมก็ใช้ AIS อยู่ รายเดือนด้วยเหมือนกัน ก็จะพยายามรักษาค่าใช้จ่ายช่วงตัดยอดเสมอ แต่เกินนิดเกินหน่อยผมไม่ซีเรียสครับ เพราะทำใจยอมรับอยู่แล้ว ซึ่งผมก็เข้าใจความรู้สึกของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า CallCenter หรือแม้แต่พนักงานที่ดูแลระบบ
ซึ่งก็ได้แต่เอาใจช่วยให้ 3G เข้ามาในประเทศไทยให้เร็วขึ้น เพราะไม่น่าจะมีปัญหาลักษณะนี้แล้ว
ขอบคุณที่รับฟังครับ
จากคุณ :
สิบปีผ่านไป (ไวเหมือนโกหก)
- [
13 ส.ค. 51 14:55:47
]
|
|
|