Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ดีแทคครับ ครงสร้างราคาของ data package แบบคิดตามปริมาณข้อมูล มันตั้งอยู่บนลอจิกแบบไหนครับ  

เรียนคุณ feedback DTAC

รบกวนส่งคำถามนี้ไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ ผมสงสัยมานานแล้วว่าโครงสร้างราคาของ data package แบบคิดตามปริมาณข้อมูล มันตั้งอยู่บนลอจิกแบบไหนครับ?

อ้างอิงจาก DTAC Internet Package ปัจจุบันของดีแทค: http://vas.dtac.co.th/th/communication_p4.htm

ในกรณีคิดเงินแบบนับเป็นนาที:

สมมติว่าถ้าผมต้องการดาวน์โหลดข้อมูลขนาด 500 MB (หรือ 512000 KB) โดยใช้ DTAC Internet และตั้งสมมติฐาน "แบบมองโลกในแง่ดี" ว่าความเร็วในการดาวน์โหลดคงที่ที่ 15 KB ต่อวินาที (หรือ 128 kbps) ผมจะต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดทั้งหมด ((500*1024)/15)/60^2 ประมาณ 9.48 ชั่วโมง ในกรณีนี้ถ้าผมใช้ package แบบ 20 ชั่วโมง ราคา 99 บาท และคิดตามสมมติฐานดังกล่าว เท่ากับว่าผมสามารถดาวน์โหลดข้อมูลขนาด 1 GB โดยใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง และจ่ายเพียง 99 บาท

แต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่เป็นอย่างนั้น ด้วยความเร็วที่ไม่คงที่ และเสียงบ่นในกระทู้พันทิปอยู่เนืองๆ ว่าช่วงนี้ DTAC internet ช้ามากๆ เท่ากับว่าอาจต้องใช้เวลามากกว่านั้น (อาจเป็นเท่าตัว) ในการดาวน์โหลดข้อมูลปริมาณเท่าๆ กัน ถ้าคุณไม่สามารถทำให้ความเร็วอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก็อย่าชาร์จลูกค้าแบบคิดเป็นนาทีเลยครับ เอาเปรียบลูกค้าเปล่าๆ แทนที่เขาจะดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จภายในเวลา x นาที แต่ด้วยเน็ตที่ช้าทำให้ต้องใช้เวลาดาวน์โหลดมากขึ้น และต้องจ่ายค่าบริการสูงขึ้นตามไปด้วย

หรือนี่คือความตั้งใจของดีแทคครับ?

ในกรณีคิดเงินแบบนับเป็นจำนวนข้อมูล:

กลับเข้าประเด็นของกระทู้นี้ดีกว่าครับ ย้อนกลับไปยังสมมติฐานการดาวน์โหลดข้อมูลขนาด 500 MB ที่กล่าวไปแล้ว ถ้าผมใช้แพ็คเกจแบบคิดตามปริมาณข้อมูล เท่ากับว่าต้องจ่าย 400 หรือ 500 บาท ตามแพ็คเกจที่เลือก และถ้ามีการดาวน์โหลดข้อมูลต่อเนื่อง ก็สามารถใช้ package จนหมดได้ภายในเวลา 9 ชั่วโมงครึ่ง

ผมไม่ได้ตั้งใจจะเอาแอ๊ปเปิ้ลมาเปรียบเทียบกับส้มนะครับ ผมเข้าใจดีว่า package ทั้งสองประเภทนั้นออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ลูกค้าที่ต้องการเชื่อมต่อตลอดเวลาเพื่อเช็คเมล หรือ chat ก็ควรจะใช้ package แบบคิดตามปริมาณข้อมูล

แต่ที่ผมไม่เข้าใจคือ ทำไมมันถึงต้องแพงขนาดนั้น?? ตอนนี้มันปี พ.ศ. 2552 แล้วนะครับ

เป็นเพราะ Package แบบคิดตามปริมาณข้อมูลต้องใช้ช่องสัญญาณตลอดเวลาหรือไม่? หรือเพราะการเชื่อมต่อตลอดเวลาเป็นภาระอย่างสูงต่อเครือข่าย แม้การเชื่อมต่อนั้นจะไม่มี data transmission activity ก็ตาม?? (เพื่อนๆ ที่มีความรู้ด้านเทคนิคช่วยให้ความกระจ่างด้วยนะครับ)

ลองเปรียบเทียบ Data plan ของ AT&T สำหรับ iPad ตาม link ข้างล่างนี้ดูนะครับ ถ้าเลือกใช้แบบ 2GB คิดเป็นเงินไทย ตกประมาณเดือนละ 800 กว่าบาท ในขณะที่คุณคิดราคา 650 บาทต่อ 1 GB บนเทคโนโลยี 2G (!!!!)

http://www.att.com/shop/wireless/devices/ipad.jsp?wtSlotClick=1-003V3L-0-1&WT.svl=calltoaction

นี่ยังไม่เทียบกับ 3G Data package ของ TOT3G และเหล่า MVNO นะครับ ผมเข้าใจว่าสัญญาณคุณดีกว่า และครอบคลุมกว่า จึงเป็น excuse ให้คุณสามารถ "คิดแพงกว่า" ได้

แล้ว package 1 GB 650 บาท ออกมาเพื่ออะไร? ในเมื่อ Unlimited package ก็ราคาเท่ากัน?

แล้วปริมาณข้อมูลที่ให้ในแต่ละ package คุณคิดว่าเหมาะสมแล้วหรือ? ปัจจุบัน content ต่างๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ website เดี๋ยวนี้โหลด 1 หน้าก็ใช้มากกว่า 1 MB เข้าไปแล้ว ลองง่ายๆ โหลดเว็บ www.dtac.co.th ดูสิครับ แล้วลองนับดูว่าต้องมีการรับ/ส่งข้อมูลเท่าไหร่กว่าจะโหลดได้สำเร็จ แล้วลองคิดดูนะครับว่า package แบบ 30 MB 99 บาท มันสามารถทำอะไรได้นอกจากใช้ chat เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น???

อยากรบกวนคุณ feedback ประสานงานให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้ความกระจ่างในกระทู้ด้วยด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ

จากคุณ : mrzane911
เขียนเมื่อ : 25 ส.ค. 53 09:46:08




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com