ความคิดเห็นที่ 8
เป็นเรื่องที่พูดยากนะคะเพราะเอื้องไม่มีข้อมูลในเชิงลึกตรงนี้ว่า ผลประโยชน์ของใครเอาไปผูกกับสื่อเจ้าไหน? แต่เอื้องก็คิดว่าข้อเท็จจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อย่างหนึ่งก็คือว่าหนังสือพิมพ์กับธุรกิจคือสิ่งที่ต้องเกื้อกูลกันและกันดังนั้นสื่อหรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ จะอยู่ได้ก็ด้วยมีคนดู ผู้อ่านอุดหนุนจึงจะมีรายได้และมีผู้ลงโฆษณาสินค้า การวิจารณ์และติชมก็ต้องดูรสนิยมของประชาชนว่าชอบเผ็ดร้อนอย่างใดเนื่องจากว่าสตางค์เป็นของนายทุนเจ้าของหนังสือพิมพ์ เจ้าของสื่อ
.. ดังนั้น"การพาดหัวข่าว" นอกเหนือจากต้องการให้สารแ่ก่ผู้บริโภคแล้ว สื่อ ก็ต้องใช้ภาษาที่ชวนให้ ตื่นเต้น ติดตามคนอ่านๆแล้ววางไม่ลงซึ่งก็เห็นได้ตามหนังสือพิมพ์ทั่วไปเพราะบางทีก็เห็นหลายครั้งค่ะที่การพาดหัวข่าวกับเนื้อในของข่าวไม่สัมพันธ์กัน หรือในบางครั้งก็เหมือนกับเป็น "การประโคมข่าว" ไปก็มีค่ะ .... แต่้ถ้าหากวันหนึ่งเราไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์คอยรายงานข่าวร้ายๆ อย่าง พ่อข่มขืนลูก ข้าราชการ นักการเมืองบางคนคอรัปชั่น ตำรวจใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ ก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้เสพข่าวสารอย่างเอื้องเองจึงอยากเห็นการรายงานข่าวที่เป็นข่าวจริงๆข่าวที่ยึดหลักความจริงหรือ ความถูกต้องการรายงานข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน มิใช่ใช้สื่อปลุกระดมมวลชน เหมือนที่เคยมีคนเปรียบเปรยไว้ว่า:
"หนังสือพิมพ์ที่มุ่งร้ายหมายขวัญ เพียง ๔ ฉบับ เป็นที่น่าเกรงขามยิ่งกว่าหอกปลายปืน ๑,๐๐๐ เล่ม"
ในฐานะที่เอื้องเป็นผู้บริโภคสื่อ คืออยากให้บรรดาหนังสือพิมพ์มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เป็นหนังสือพิมพ์ของประชาชน เพื่อประชาชนจริงๆอาจจะฟังดูเหมือนเป็นการเรียกร้องมากเกินไปนะคะแต่เอื้องคิดว่าประชาชนคนอ่านข่าวก็คงคิดแบบนี้เช่นกัน ...
จากคุณ :
เอื้องอัยราวัณ
- [
18 ม.ค. 49 07:53:38
]
|
|
|