CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แนะให้กำหนดเวลาเลือกตั้ง 90 วัน เห็นด้วยหรือไม่ ???

      ไม่เห็นด้วย เพราะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ (35 คน)
      เห็นด้วย (12 คน)
      ยังไงก็ได้ (3 คน)
      กระทู้ไม่สมควรแจ้งลบ (1 คน)

    จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 51 คน

     68.63%
     23.53%
     5.88%
     1.96%


    เลือกตั้งเพื่อความสมานฉันท์ นักวิชาการชี้ควรเปิดกว้าง 90 วัน

    ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดการเลือกตั้งของ กกต. ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 ถึงปัจจุบัน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้เลือกตั้งใหม่ว่า การจัดการเลือกตั้งใหม่ไม่เกี่ยวกับการครบวาระหรือยุบสภา เป็นเรื่องการจัดเลือกตั้งทั่วไปใหม่ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รายละเอียดต้องรอวันพรุ่งนี้ (9 พ.ค.) ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะเขียนคำวินิจฉัยให้จัดการเลือกตั้งได้เมื่อไหร่

    “ระยะเวลา 45 วัน หรือ 60 วัน ไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ เพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อความสมานฉันท์ อาจกำหนดเป็น 90 วันเพื่อพรรคการเมืองใหม่ หรือพวกที่ต้องการย้ายพรรค ถ้าคิดว่าใจกว้างพอก็น่าจะเปิดโอกาสให้เขา แต่หากศาลรัฐธรรมนูญมองเห็นว่า ไม่จำเป็น ตั้งพรรคใหม่ก็ใช้เวลาต่อไป เรื่องเงื่อนไขย้ายพรรคต้องภายใน 90 วัน ฉะนั้นศาลรัฐธรรมนูญพรุ่งนี้อาจบอกให้จัดการเลือกตั้ง ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันมีคำพิพากษา หรือนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ทราบ เดาความเอา แต่หลักในขณะนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องระยะเวลาครบวาระ หรือยุบสภา” ร.ต.วิจิตร กล่าว และว่า ระยะเวลา 60 วัน ทุกพรรคต้องยอมรับอยู่แล้ว พรรคไหนที่บอกตัวเองไม่พร้อม ตอนนี้แก้ตัวไม่ได้แล้ว ไม่มีเหตุอ้าง

    อดีตเลขาธิการ กกต. กล่าวต่อว่า เรื่องล็อก 90 วัน ตอนนี้เป็นเรื่องรอง เป็นกติกาเรื่องการย้ายพรรคตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรายังไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ประสงค์จะย้ายพรรคตอนนี้กติกาเดิมก็ยังต้อง 90 วันอยู่ ซึ่งหากเวลาเลยไปถึง 90 วันหรือ 120 วัน ไม่ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ

    ขณะที่ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ผูกพันพระราชกฤษฎีกายุบสภา และไม่มีเงื่อนเวลากำหนด ผลต่อไป คือ กกต.ต้องประกาศและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนตัวจึงเห็นว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจกำหนดให้การเลือกตั้งภายหลัง 90 วันนับจากนี้ก็ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ส.ส.ย้ายพรรค แล้วแข่งขันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะมีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองและ กกต.จะไปพิจารณาร่วมกัน

    “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องเขียนให้ชัดถึงมติให้การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 485 คนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา” รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว

    ไทยรัฐ ปีที่ 57 ฉบับที่ 17639 วันจันทร์ ที่ 8 พฤษภาคม 2549  
    ----------------------------------------------------------
    รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
    มาตรา 115 เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์ จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้อง กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
    มาตรา 116 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภา ผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
    การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้อง กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้ง ทั่วไปภายในหกสิบวัน และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกัน ทั่วราชอาณาจักร    
    -----------------------------------------------
    ท่านเห็นด้วยกับ ดร.วรเจตน์ หรือไม่ ???

    จากคุณ : NOOKLOOK - [ 9 พ.ค. 49 00:18:15 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป