CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    ท่านสงสัยเหมือนผมไหมทำไมศาลปกครองจึงสามารถยกเลิกพระราชกฤษฎีกาได้

    เท่าที่เรียนมาหรือทราบมาว่ากฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกโดยกฎมาย หลักง่ายๆก็คือกฎหมายที่เหนือกว่าสามารถยกเลิกกฎหมายต่ำกว่า หรือกฎหมายที่เสมอกันก็สามารถยกเลิกกฎหมายได้ แต่ที่น่าแปลกสำหรับผมก็คือการที่ศาลปกครองยกเลิกกฎหมายการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิก ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติอีกทอดหนึ่ง  ทีนี้มาดูที่มาของพระราชกฤษฎีกาแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิดนั้นมีที่มาอย่างไร พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร ที่อาศัยอำนาจในการออกโดยพระราชบัญญัติ การที่รัฐบาลจะออกได้พูดง่ายๆก็คือมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ประกอบกับเป็นนโยบายรัฐบาล กว่าจะออกพระราชกฤษฎีกาได้รัฐบาลจะตั้งตั้งผู้ที่มีความรู้เรื่องกฎหมายเพื่อศึกษาและร่างแนวทางในการออกกฎหมาย เมื่อเสร็จสิ้นหรือกำหนดวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนถูกต้องแล้วก็จะเสนอร่างกฎหมายนั้นให้คณะกรรมการกฤษฎีกา(ศาลปกครองเดิม)ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยถ้าเห็นว่าเรียบร้อยกฤษฎีกาก็จะส่งร่างที่ตรวจสอบแก้ใขแล้วส่งคืนรัฐบาลเพื่อที่คณะรัฐมนตรีจะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้วรัฐบาลก็จะนำร่างกฎหมายนั้นกราบบังคมทูลเพื่อลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระองค์ท่านจะมีคณะตรวจสอบความถูกต้องความเหมาะสมอีกชั้นหนึ่ง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมภิไธย เสร็จแล้วจึงส่งกฎหมายนั้นให้รัฐบาลเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป จะเห็นได้ว่าพระราชกฤษฎีกานี้พระมหากษตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง ทีนี้ก็มาดูศาลปกครองซึ่งมีอำนาจตัดสินคดีระหว่างประชาชนกับรัฐหรือรัฐกับรัฐในเรื่องบริหาร และการตัดสินคดีก็ทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์คือทำแทนพระมหากษัตริย์   ทีนี้ลองมาดูว่า พระราชกฤษฎีกา กับคำตัดสินของศาลปกครองใครน่าจะศักดิ์สิทธิกว่ากัน รับรองว่าทุกคนจะต้องว่าพระราชกฤษฎีกาศักดิ์ศิทธิ์กว่าเพราะพระมหากษัตริย์ทรงทำเอง  ที่สำคัญเราเคยแต่เห็นศาลลพิจารณาเรื่องอะไรก็ตามเป็นการพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น ไม่เคยพิจารณายกเลิกกฎหมาย เห็นแต่สภาเป็นผู้ออกกฎหมายยกเลิก หรือรัฐบาลออกกฎหมายยกเลิก คือยกเลิกกฎหมายด้วยกฎหมายเท่านั้น ผมจึงเห็นว่ามันแปลกมากที่ศาลปกครองสามารถยกเลิกกฎหมายได้ที่กล่าวเช่นนี้กลัวว่าวันหนึ่งบ้านเมืองมันจะวุ่นวายเพราะคนหนึ่ง(ฝ่ายหนึ่ง)ออกกฎหมาย อีกฝ่ายหนึ่งยกเลิกกฎหมายและฝ่ายที่ยกเลิกกฎหมายก็เป็นฝ่ายที่ต้องใช้กฎหมาย อย่างนี้บ้านเมืองมิวุ่นวายหรอกหรือ

    จากคุณ : คนพิจิตร - [ 21 ก.ค. 49 12:12:20 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | PanTown.com | BlogGang.com