ความคิดเห็นที่ 185
บทที่ 4 "ไทยฮั้ว" และ "ทองไทย" เรื่องราวยังยอกย้อนยิ่งกว่านั้น ไม่เพียงว่า คาเน่เทรดดิ้งเป็นบริษัทกระดาษ ที่มอบหมายให้ บริษัททองไทยรับเบอร์ ดำเนินการทุกเรื่องรวมถึงโอนเงิน เมื่อมีการตรวจพบว่า สัญญาซื้อขายยางโครงการแทรกแซงภายใต้การดูแลของนายจุรินทร์ เกี่ยวข้องกับเอกชนไทยในรูปแบบเดียวกับคาเน่ เทรดดิ้ง ยังมีอยู่อีกต่างกันเพียงรายละเอียดสัญญา เอกสารขององค์การสวนยางลงนามโดยนายสมพล อิสสระธนาชัย ผ.อ.องค์การสวนยาง ลงวันที่ 21 ก.พ. 2539 ถึงคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบสัญญาซื้อขายยางธรรมชาติ (ปัญญา ไกรทัศน์) ยืนยันว่า เอกสารสัญญาซื้อขายยางที่นายชัชวาลย์ ติดต่อ และนายจุรินทร์ ลงนามขายจำนวน 34 สัญญา มีเพียงสัญญาที่ 8 เพียงฉบับเดียวที่เปิด L/C ผ่านบัญชีธนาคาร พิศดารยิ่งกว่าคือ สัญญาที่ 9,11,14,15,16,31,33และ34 บริษัทไทยฮั้วยางพารา เป็นตัวแทนในประเทศไทย(ดำเนินการเรื่องขนส่ง) รวมแล้ว75,000 ตัน สัญญาที่ 17,18,19,20,24,25,26และ27 ให้ทองไทยรับเบอร์ เป็นตัวแทนในประเทศไทย รวม 35,000 ตัน ยางทีี่ขายผ่านสองบริษัทไทยในยอดรวมคือ 110,000 ตัน จากยอดรวม 35 สัญญา 188,732 ตัน คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ของการขายทั้งหมด และสัญญาที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น โอนเงินผ่านตัวแทนคือ บริษัททองไทยรับเบอร์ และ ไทยฮั้วยางพารา เพียงสองรายเท่านั้น สำหรับคนนอกวงการค้ายางพาราอาจจะแปลกใจว่า ทำไมบริษัทผู้ซื้อในต่างประเทศจึงพิศมัยสองบริษัทไทยดังกล่าวถึงขนาดให้ดำเนินการแทนทุกอย่าง ก็จะมีการอธิบายว่า ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งจากโกดังลงเรือทำพิธีชิปปิ้งและโอนเงินให้องค์การสวนยาง แต่สำหรับคนในวงการ เขารู้รายละเอียดมากกว่านั้นแต่พูดไม่ได้ เรื่องแบบนี้ทีใครทีมัน ถ้าหากอธิบายโดยมิติทางการค้าล้วน ๆ ต้องบอกว่า ยางในสต๊อกของราชการพ่อค้าไทยคนไหนก็อยากได้ เพราะไม่ต้องซื้อเอง ไม่ต้องเสียค่าโกดังเอง เมื่อราคาเกิดได้(กำไร)ขึ้นมา ก็ซื้อลงเรือทำกำไรได้ทันที นี่จึงมีมติครม.ออกมาว่าห้ามขายยางในสต๊อกให้กับพ่อค้าไทย เพราะเกรงว่าราคาในประเทศจะไม่ขยับนั่นเอง บทสุดท้าย สัมพันธ์สามเส้า ผู้ตรวจ-รมช.-อดีตขรก. เรื่องราวของคดีทุจริตยางพาราตามโครงการแทรกแซงเมื่อปี 2536-37 เกิดขึ้นมาเกือบ 10 ปี ถูกจุดเป็นประเด็นเมื่อปี 2538 คือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว อยู่ในการพิจารณาของป.ป.ป. ระยะใหญ่ และยังมีการนำเป็นประเด็นการเมืองในแทบทุกครั้งของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นี่คือเรื่องของคดีความในมิติของการบริหารราชการและการเมือง ในมิติความสัมพันธ์ส่วนตัว ยิ่งซับซ้อนกว่า นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏฺ์ จะปฏิเสธบ่อยครั้งว่าสัมพันธ์ส่วนตัวกับ นายชัชวาลย์ สุกิจจวนิช ก็คือ นักการเมืองกับข้าราชการไม่มีอะไรมากกว่านั้น ในบางกรณีอาจจะเป็นการกระทำของข้าราชการเอง ในส่วนของตัวรับผิดชอบเฉพาะด้านนโยบายและเชื่อว่านโยบายแก้ปัญหาของตนถูกต้องเพราะทำให้ราคาขายในประเทศสูงขึ้น แต่ในสายตาของข้าราชการที่ร่วมงานด้วยไม่เป็นเช่นนั้น นายสุชน เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา อดีตผ.อ.องค์การสวนยาง(อ.ส.ย.) มีบันทึกข้อความเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงลงวันที่ 5 มีนาคม 2539 กรณีที่ตัวเองเกี่ยวข้องกับการขายยางพาราโดยไม่ทักท้วง กล่าวโดยสรุปว่าตนได้ท้กท้วงด้วยวาจาเรื่องการกำหนดราคาขายยางที่ต่ำและปริมาณมากกว่ากำลังที่อ.ส.ย.แทรกแซงซื้อมา และทักท้วงเรื่องการขายยางคัตติ้งให้กับบริษัทในประเทศไทยว่าผิดระเบียบ "ได้รับการชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่มีปัญหาสัญญาทุกฉบับผ่านการตรวจสอบจากรัฐมนตรีช่วยฯ จุรินทร์แล้วและขอให้ถือปฏิบัติเป็นนโยบายไม่เช่นนั้นอาจมีความผิดได้ ข้าพเจ้าอยู่ในภาวะจำต้องปฏิบัติตามเพราะเห็นว่า ผู้ตรวจฯชัชวาลย์ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และเป็นผู้ใกล้ชิดกับ รัฐมนตรีช่วยฯ จุรินทร์" ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้แฉตัวจริง ก็คือ นายปัญญา ไกรทัศน์ คณะอนุกรรมาธิการติดตามโครงการแทรกแซงยางฯ กับ นายชัชวาลย์ มีมากยิ่งกว่านั้น ขบวนการตามล้างตามเช็ดได้เริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2538 จนบัดนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ในระหว่างที่นายชัชวาลย์ สุกิจจวนิช ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ มักจะนำ "ใบเสร็จ" ว่าด้วยตัวเองถูกกลั่นแกล้งก็คือ สำเนาการสอบสวนและสำเนาการร้องเรียนกรณีนายปัญญา ไกรทัศน์ ที่ว่าด้วยมีความผิดด้านชู้สาวเหตุเกิดที่ฮ่องกงมาเสนอผ่านบุคคลเกี่ยวข้องกับคดีนี้บ่อยครั้ง รวมถึงได้ยกเหตุเกี่ยวข้องอีกมากมาย อาทิ กรณีการจัดมวยไทยที่ฮ่องกงแล้วมีปัญหาบางประการ ฯลฯ นำมาสู่การเริ่มต้นสืิบค้นเรื่องนี้ด้วยตนเองอย่างจริงจัง ก่อนจะนำเข้าสู่การตรวจสอบทางการเมืองในเวลาต่อมา นี่คืออิทธิฤทธิ์ของฝ่ายแค้น อดีตข้าราชการซี 7 ที่ไม่ธรรมดาคนหนึ่งซึ่งทำให้อดีตรัฐมนตรีและอดีตรองปลัดกระทรวงตกที่นั่งเป็นจำเลยยาวนานกว่า 8 ปี
จากคุณ :
chiangraiplus
- [
5 ส.ค. 49 09:11:15
]
|
|
|