| เห็นด้วย (5 คน) |
| ไม่เห็นด้วย (26 คน) |
| จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 31 คน |
เรื่องราวการผ่าโครงสร้างตำรวจ ทยอยเป็นข่าวออกมาเป็นระยะๆ
ล่าสุด พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ เรียกประชุมคณะทำงานสรุปแนวทางพอให้เห็นเป็นรางๆ ให้ ?คนสีกากี? ได้ฮือฮา
ถึงเวลาต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป?!?
พล.ต.อ.วสิษฐเผยถึงโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะแยกเป็นสองส่วน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กองบัญชาการตำรวจภูธรทั้ง 9 ภาค ส่วนคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ยังมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานบอร์ด แต่กรรมการคัดเลือกจะมาจากบุคคลภายนอก ทั้งศาล อัยการสูงสุด สภาทนายความ นักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายค้าน เอกชน จำนวน 5-8 คน
เช่นเดียวกับระดับกองบัญชาการที่มีคณะกรรมการตำรวจกำกับเช่นกัน
ป้องกันไม่ให้มีการแทรกแซงจากการเมือง
เข้ามาคานอำนาจของ ผบ.ตร.
นอกจากนี้ยังเสนอปรับ ยศตำรวจชั้นประทวน ให้เหลือเพียงยศ ?ดาบตำรวจ? ระดับเดียวกันหมด ด้วยเหตุผลอ้างภารกิจไม่แตกต่างกัน และปรับตำแหน่งตำรวจชั้นประทวนที่ จบการศึกษาปริญญา ด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ ให้ปรับตำแหน่งเป็น ชั้นสัญญาบัตร อีกด้วย
ส่วนหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ไม่มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยตรง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้ขึ้นกับกระทรวงยุติธรรม ตำรวจป่าไม้ ขึ้นอยู่กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตำรวจท่องเที่ยว ให้ขึ้นตรงกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะพิจารณายกเป็น สถาบันวิชาการตำรวจแห่งชาติ
คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ที่กำลังผ่าตัดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตำรวจขณะนี้
มีการพิจารณาจะปรับเปลี่ยน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้เป็น สถาบันการศึกษาตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้เทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
ถือเป็นข้อเสนอที่น่าจะต้องทบทวนให้ลึกซึ้ง เพราะเกี่ยวโยงกับ ประวัติศาสตร์
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ นั้น ก่อตั้งขึ้นมาก็ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้มี สถาบันการศึกษาวิชาการตำรวจอาชีพขึ้นอย่างมั่นคง จึงได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานที่ดิน และทรงมี พระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2445 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว
เช่นเดียวกับการก่อตั้ง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หรือ โรงเรียนเหล่าอื่นๆ
โดยหลักสูตรการเรียนการสอน ก็เป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรี เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่อาจกล่าวได้ว่า ?เป็นมากกว่ามหาวิทยาลัย? เพราะนอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะต้องศึกษาความรู้ภาควิชาการในระดับปริญญาตรีแล้ว ยังจะต้องรับการฝึกอบรมทั้งในเรื่อง ?ยุทธวิธีและวิชาชีพตำรวจ? ปลูกฝังในเรื่อง ?คุณธรรมและจิตวิญญาณตำรวจ? อย่างเข้มข้นตลอดทั้ง 4 ปีการศึกษาด้วย
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จึงเป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศและสังคมไทย
ที่สำคัญ เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพเฉพาะทางเพียงแห่งเดียวของประเทศ ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการ ผลิตตำรวจอาชีพ เพื่อออกไปรับใช้สังคมและประชาชน
ปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับภายใต้วิสัยทัศน์และการบริหารงานของ ครูใหญ่ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผบช.รร.นรต. คนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆของโรงเรียนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะ การนำความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนมาเป็นตัวตั้ง พร้อมกับการสร้างเสริมและเปลี่ยนแปลง ทั้งระบบการเรียนการสอนและการฝึกอบรม เพื่อตอบสนองความต้องการ ซึ่งเป็นการสร้างนายตำรวจมืออาชีพ ให้เป็นที่หวังพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาการศึกษา โดยจะมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทแล้ว
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จึงมิได้เป็นเพียงโรงเรียนอย่างที่หลายคนเข้าใจ
แต่เป็น สถาบันการศึกษา ที่ก่อกำเนิดภายใต้ร่ม พระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไทย ร.5 มายาวนานจนถึงวันนี้
ถือเป็นสถาบันที่เต็มไปด้วยเลือดเนื้อและจิตวิญญาณ
ตำรวจ
แต่ที่แปลกแหวกแนวแล้วทำให้อดีตตำรวจใหญ่น้อยทั้งหลายวิพากษ์กันเสียงขรมคือ
ตำแหน่ง ผบ.ตร.
อดีต รอง อ.ตร.คนดังในการผ่าหน่วยงานตำรวจระบุว่า
จะเปิดโอกาสให้ตำรวจ หรือบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติ มาสมัครเพื่อเสนอวิสัยทัศน์ ให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมดำรงตำแหน่งผู้นำสีกากี
คือใครก็ได้ มานั่งเก้าอี้ ผบ.ตร.
ประเด็นนี้ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจยืนยันตรงกันว่า
เปิดกว้างให้ผู้ที่จะเป็นแคนดิเดตในตำแหน่ง ผบ.ตร.ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตำรวจเท่านั้น
นาย ก. นาย ข. เป็น ผบ.ตร. ทะ:-)พิลึกยังไงไม่รู้
จากคุณ :
kittichon61
- [
20 ม.ค. 50 00:14:10
A:10.1.1.30 X:61.19.85.66, 61.19.85.66
]