ความคิดเห็นที่ 2
...
๏ ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนกลอน
ข้อควรหลีกเลี่ยงนี้ เป็นเพียง ข้อแนะนำ (ส่วนตัว) มิใช่กฏเกณฑ์ ตายตัว ที่ต้องปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด เพียงแต่ ถ้าสามารถ ปฏิบัติตาม ข้อควรระวัง เหล่านี้แล้ว จะทำให้กลอน ดูสละสลวย และถูกต้อง ตามความนิยม ของกวีสมัยก่อนๆ
และมิใช่วิธีการ ในการประเมินค่า ของบทประพันธ์ แต่อย่างใด ถ้าใครสามารถ ยึดถือไว้ เป็นหลัก ในการแต่งกลอน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี
...
- ไม่สัมผัสซ้ำ มี ๒ ประเภทคือ
ก. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องรูปและเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำเดียวกัน ซ้ำภายในบทกลอนบทเดียวกัน หรือบทติดๆกัน เช่น
ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่างเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายสาวไม่คำนับเข้าจับตัว
ข. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำพ้องเสียง ซ้ำภายในบทกลอนบทเดียวกัน หรือบทติดๆกัน เช่น
ชีวิตเลือกเกิดมิได้ใครก็รู้ ต้องดิ้นรนต่อสู้อุปสรรค ทำให้ดีที่สุดอย่าหยุดพัก ทางสู่ศักดิ์ศรีแม้ไกลเหมือนใกล้กัน
...
- ไม่นำคำเสียงสั้นกับเสียงยาว มาสัมผัสนอกกัน อย่างที่เคย กล่าวมาแล้ว ในเรื่องสัมผัส การกระทำ เช่นนี้ ถือว่าเป็นความผิดพลาด ทางฉันท์ลักษณ์โดยตรง โดยให้ดูที่รูปสระนั้นๆ เป็นหลักเช่น รัก สัมผัสกับ มาก, ใจ สัมผัสกับ วาย, คน สัมผัสกับ โดน, เก้า สัมผัสกับ ท้าว, เก็น สัมผัสกับ เขน ฯลฯ เป็นต้น ดังตัวอย่าง
ศึกสิงห์เหนือเสือใต้ในวันนี้ ขอสตรีร่วมบทบาทชาติสุขศานต์ ตาร้อยคู่ตาคู่เดียวเกี่ยวร้อยกัน สงครามนั้นจักสงบเลิกรบรา
จากคุณ :
คนสี่สุภาพ
- [
วันต่อต้านยาเสพติดโลก 09:34:46
A:124.120.161.51 X:
]
|
|
|