คุณ thyrocyte
"ถ้าเช่นนั้น ก็แสดงว่าการที่ศาลปกครองให้ระงับการใช้แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ก็ได้บรรเทาความเสียหาย
ที่อาจเกิดกับรัฐไทยได้จริงในระดับหนึ่ง เพราะหากแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่ถูกระงับใช้โดยคำสั่งศาลปกครอง
เขตพื้นที่ N3 ก็คงถูกเสนอร่วมให้เป็นเขตร่วมบริหารจัดการ และกัมพูชาสามารถเข้ามามีอำนาจบริหารร่วมกับไทยในเขต
ที่เป็นพื้นที่ของไทยแท้ๆ ตามความใน แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับเดิมใช่หรือไม่ครับ"
- ทำไมคุณไม่แยกแยะ ระหว่างการปักปันเขตแดน กับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
ในแถลงการณ์ เขาพูดถึงกรณีการร่วมมือกันบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อร่วมกันขึ้นทะเบียนมรดกโลกปี 2010
และเขาใช้ประโยคที่ว่า...
...ระหว่างที่รอผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมเพื่อการปักปันเขตแดนทางบก (Joint Commission for Land Boundary หรือ JBC) เกี่ยวกับพื้นที่ด้านเหนือและด้านตะวันตกรอบๆ ปราสาทพระวิหาร...
นั่นหมายความว่า ช่วงที่ยังปักปันเขตแดนยังไม่เสร็จ
และต่างฝ่ายต่างก็อ้างพื้นที่ทับซ้อนเป็นของตนเอง
เมื่อยังไม่มีข้อยุติ ก็จะร่วมกับบริหารจัดการเพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนในอีก 2 ปี
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เป็นการยกดินแดนให้เขมร แต่เป็นการร่วมมือกัน
ในระหว่างที่ยังไม่มีมติเรื่องเขตแดนที่แน่ชัด
เหมือนกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของประเทศอื่น ที่มีพื้นที่ทับซ้อน และร่วมกันขึ้นทะเบียน
นอกจากนี้ ในธรรมนูญของศาลโลกก็ระบุชัดเจนว่า
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกไม่เกี่ยวกับข้อพิพาททางเขตแดน
และไม่มีใครเสียพื้นที่อะไรในการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
Article 11
3. The inclusion of a property in the World Heritage List requires the consent of the State concerned. The inclusion of a property situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State shall in no way prejudice the rights of the parties to the dispute.
การรวมเอาทรัพย์สินเข้าไปในรายการมรดกโลก จะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศที่เกี่ยวข้อง การรวมเอาทรัพย์สินที่อยู่ในพื้นที่ อำนาจอธิปไตย ขอบเขตอำนาจศาล ที่มี่การอ้างสิทธิโดยมากกว่าหนึ่งรัฐ (ประเทศ) จะไม่ทำให้สิทธิของทุกฝ่ายในข้อขัดแย้งนั้นเสียไป
http://whc.unesco.org/archive/convention-en.pdf
ก็แปลกดี "ความร่วมมือ" คุณกลับหมายถึงการยกดินแดน
"การขึ้นทะเบียนมรดกโลก" คุณกลับหมายถึงการเสียดินแดน
ก็ในเมื่อมันยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่มีข้อพิพาทกันอยู่
แต่เพื่อความสมบูรณ์ของปราสาทพระวิหารที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ก็ต้องนำส่วนของพื้นที่ทับซ้อนหรือภูมิทัศน์โดยรอบไปขึ้นด้วย
เพียงแต่พื้นที่ทับซ้อน ไทยไม่ยอมให้เขมรนำไปขึ้นเพียงลำพังฝ่ายเดียว
จึงต้องมีการเจรจากันในเบื้องต้นว่าจะขึ้นร่วมกัน และจัดการร่วมกันไปก่อนจนจะมีข้อยุติในเรื่องเขตแดน
แต่การขึ้นทะเบียนร่วมกัน ก็ไม่ได้ทำให้เสียดินแดน
แต่การที่ให้เขมรเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว
นั่นคือการยอมรับของไทยในการเสียดินแดนตามแผนที่ของฝรั่งเศส
ไทยจึงไม่ยอมให้เขมรนำพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนแต่แรกไง
ส่วนการระงับมติครม. มันความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย 50-50
เพราะมันสร้างความกังวลให้กับฝ่ายไทยไม่น้อยว่า
เขมรจะหยิบแผนผังเดิมที่มีพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนแทนหรือไม่
ในเมื่อแถลงการณ์ใช้ไม่ได้แล้ว แต่ก็ต้องยกความดีความชอบให้กับ team thailand
ที่เขาคัดค้านจนเขมรยอมขึ้นเฉพาะตัวปราสาทให้ตามแผนผังที่ไทยเสนอไป
แม้จะไม่ได้ใช้แถลงการณ์แล้วก็ตาม
ตรงกันข้าม เกิดวันนั้นเขมรจะใช้แผนผังเดิมของเขา
และได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่เป็นคณะกรรมการ
นั่นก็เท่ากับว่า ไทยรอวันเสียพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.จากการถูกระงับแถลงการณ์ได้เลย
ถึงได้บอกว่า โชคดีที่เขมรยอมไม่เอาพื้นที่ทับซ้อน
และต้องชื่นชมฝ่ายไทยที่ช่วยกันคัดค้านในที่ประชุมจนสำเร็จ
"อยากจะสอบถามอีกประเด็นหนึ่งคือ พื้นที่ N2 นี้เราเลิกสงวนสิทธิอธิปไตยของเราที่ตรงนี้ไปด้วย
แล้วอย่างนั้นหรือเปล่าครับ เพราะจำได้ว่าครม.2505 เคยประกาศสงวนสิทธิที่บริเวณนี้ไว้นะครับ"
- เอ...ตกลงไทยไปสงวนสิทธิ์พื้นที่ของเขมรเขาตั้งแต่เมื่อไหร่ N2 มันพื้นที่ของเขมรเขานะคุณ
ไอ้ที่โมเมเรื่องสิทธิ์ลมๆ แล้งๆ น่ะ เฉพาะพื้นที่ที่ตั้งตัวปราสาท
กับพื้นที่รอบตัวปราสาทในเขตบริเวณ N1 เท่านั้นไม่ใช่เหรอ
แล้ว N2 โลผ่มาจากไหนอีกล่ะเนี่ย ... งง
ไม่ทราบว่าคุณเอาข้อมูลที่ว่ามาจากไหน
ที่บอกว่าไทยสงวนสิทธิ์ไปถึงดินแดนดั้งเดิมของเขมรที่ไม่ได้เกี่ยวกับคำตัดสินของศาลโลก
แม้แต่วันที่อภิปราย อภิสิทธิ์ก็ชี้แค่พื้นที่ที่อยู่ใน N1 ที่อ้างว่าสงวนสิทธิ์ไว้
หรือเราตกข่าว มีคนบอกว่า N2 ไทยก็สงวนสิทธิ์ไว้เช่นกัน
ความรู้ใหม่เลยนะเนี่ย ^_^
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ค. 51 00:22:39
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ค. 51 00:15:07
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ค. 51 00:14:05
แก้ไขเมื่อ 15 ก.ค. 51 00:08:01