Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    คุณ thyrocyte งานเข้าแล้ว ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ สารภาพแล้วว่า ยอมรับแผนที่ของกัมพูชาจริงๆ{แตกประเด็นจาก P6873384}

    แถลงการณ์เรื่อง บันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชาฉบับวันที่ 14 มิถุนายน 2543

    โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร  พรรคประชาธิปัตย์  วันที่  8   สิงหาคม  2551


    เนื่องจากในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ได้เกิดความสับสนเกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding :  MoU) ระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทย  และ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา  ว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนทางบก  ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่  14  มิถุนายน 2543  จึงต้องชี้แจงข้อเท็จจริง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  โดยมีสาระดังนี้



    ที่มาของ MoU เป็นอย่างไร?

    -   เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและกัมพูชา  รัฐบาลทั้งสองประเทศมีเจตนารมณ์ที่ตรงกันในเรื่องความจำเป็นที่ต้องจัดทำหลักเขตแดนทางบกขึ้นมาอีกครั้ง  ทั้งนี้เนื่องจากว่า หลักเขต ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยคณะปักปันเขตแดนร่วมกรุงสยาม และประเทศฝรั่งเศสได้สูญหาย ชำรุด หรือ ถูกเคลื่อนย้าย ในช่วงเวลา เกือบ 100 ปี ที่ผ่านมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เกิดสงครามในกัมพูชา เป็นเวลากว่า 20  ปี

    -   ดังนั้นจึงได้ร่วมกันจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding :  MoU) ระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทย  และ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนทางบก  ซึ่งไทยได้ทำกับประเทศเพื่อนบ้าน  2  ประเทศ  ก่อนหน้านี้มานานแล้ว  คือ  มาเลเซียและลาว  



    MoU  2543  มีสาระสำคัญอย่างไร?

    -       ไทยและกัมพูชา ตกลงกันว่า วิธีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน  จะดำเนินการในแนวทางตามเอกสารสำคัญคือ

    1.    อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13  กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904

    2.   สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่  23  มีนาคม ค.ศ. 1907 (มาตรา  1<a>และ1<b> )

    3.    แผนที่ทั้งหลาย (Maps) ซึ่งเป็นผลของการปักปันเขตแดน โดยคณะกรรมาธิการ(Commissions) ร่วมอินโดจีน – สยาม (ก่อตั้งขึ้นตามหนังสือสัญญาทั้งสอง) ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวโยงกับหนังสือสัญญาทั้งสอง (มาตรา 1[c] )

    -   ไทยและกัมพูชาดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission:  JBC) เพื่อรับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน (มาตรา 2)  

    -   ทั้งสองฝ่ายตกลงว่า ในขณะที่กำลังสำรวจเขตแดน จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ในสภาพแวดล้อมของบริเวณพื้นที่เขตแดน (มาตรา 5)



    ใครได้ใครเสียจาก MoU ?

    -   การยอมรับอนุสัญญาปี คศ.1904  และสนธิสัญญา  ปี คศ.1907  เป็นเอกสารพื้นฐานสำหรับการดำเนินงาน  เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับความเป็นจริง  มิได้ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ  



    -    ตอบข้อกล่าวหาในสื่อต่างๆที่คิดว่า MoU ฉบับนี้ยึดถือแผนที่ฉบับที่ประเทศไทยเสียเปรียบ........การยอมรับแผนที่ทั้งหลาย  ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการปักปันเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนร่วมอินโดจีน-สยาม เป็นเพียงองค์ประกอบของการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตเท่านั้น    หรือหากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็สามารถชะลอการพิจารณาไปก่อนได้ เพราะไม่มีอำนาจใดสามารถบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องยอมรับในสิ่งที่ต้นไม่ต้องการยอมรับ

    -   มาตรา 5 ของ  MoU  เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย เพราะในช่วงที่มีการจัดทำ MoU  ฝ่ายกัมพูชาเริ่มทำถนนเข้าไปในพื้นที่  ซึ่งมีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อน และชาวกัมพูชาได้เข้ามาสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดังกล่าว แต่ด้วย MoU  ฉบับนี้ทำให้ฝ่ายไทยมีเครื่องประกันเป็นลายลักษณ์อักษรว่ากัมพูชาจะไม่ทำถนนเข้าไปในพื้นที่ และจะดูแลไม่ให้มีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น



    จาก 2543-2551 มีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง?

    -   การสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชายังไม่คืบหน้าเท่าไรนัก และนับแต่ปี 2544 ฝ่ายกัมพูชา มิได้ทำตามคำมั่นสัญญา ปล่อยให้ชาวกัมพูชาเข้ามาสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ซึ่งมีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อน โดยที่รัฐบาลไทยในช่วงนั้นมิได้มีการทักท้วงแต่อย่างใดแต่ในขณะเดียวกัน ยังไม่ควรสรุปว่า MoU ไม่เป็นประโยชน์ในทางใดทั้งสิ้น

    -    MoU ฉบับนี้ได้เป็นกรอบสำคัญในการบริหารจัดการปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา เห็นได้จากที่ รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้จัดการประชุม JBC ขึ้น ถึง 3 ครั้ง โดย           ดร.ประชา คุณเกษมเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ทั้ง 3 ครั้ง  และในช่วงที่เกิดข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ใช้ MoU ฉบับนี้เป็นเอกสารอ้างอิงในการทักท้วงทุกครั้งไป   มากไปกว่านั้นในการเจรจาระหว่างไทยกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะใช้ MoU นี้เป็นกรอบ     ในการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาระหว่างกันโดยได้นัดหมายว่าจะมีการประชุม JBC  ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวันที่  18  สิงหาคม  2551



    ข้อสังเกตเพิ่มเติม

    -       รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตั้งแต่ปี 2544) และรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ได้นำ MoU นี้ไปใช้โดยไม่มีการแก้ไขใดๆ  

    -   ผลของการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตาม MoU ฉบับนี้ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน  ของความเห็นพ้องต้องกันในทุกประเด็น ดังนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถยอมรับในประเด็นใดๆก็ตาม  สามารถชะลอการพิจารณาไปก่อนได้  เพราะไม่มีอำนาจใดบังคับให้เกิดการยอมรับในสิ่งที่ไม่ต้องการได้  

    -   ในวันหน้าฝ่ายไทยต้องการยื่นขอจดทะเบียนประสาทพระวิหารและพื้นที่ประสาทโดยรอบเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชาแล้ว MoU และ JBC จะเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการอีกด้วย เพราะมติขององค์กร UNESCO เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2551 ข้อ 15 [a] ได้เปิดช่องไว้แล้ว

    -   ปัญหาของ MoU ฉบับนี้มิได้อยู่ที่เนื้อหา หากอยู่ที่การไม่นำข้อตกลงไปปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีปัญหาสิ่งปลูกสร้างของชาวกัมพูชาในพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อน  ซึ่งฝ่ายกัมพูชาไม่ได้รักษาคำมั่น และรัฐบาลไทยหลังปี 2544 ไม่ได้ทำการทักท้วงแต่อย่างใด

    http://www.democrat.or.th/viewnews.asp?id_head=9425%20%20&id_main=60&p=0&ca=62&mt=175.92.185.153.216.238.33.205&st=172.102.168.190.167.250.47.206

    ---
    ^
    ^
    ^
    แถกยังไงก็แถกไม่ขึ้นล่ะท่าน ถลอกไปหมดแล้ว

    แก้ไขเมื่อ 10 ส.ค. 51 21:03:09

    แก้ไขเมื่อ 10 ส.ค. 51 21:01:37

    จากคุณ : สิงห์สนามหลวง - [ 10 ส.ค. 51 20:59:18 A:58.8.181.128 X: ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom