ชาติถูกทำลาย
เป้าหมายต่อไปคงเป็น
สันติอโศก
สันติอโศก เป็นสำนักนักบวช ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 65/1 ซอยนวมินทร์ 46 ถนนนวมินทร์ แขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม.
ประวัติ
สันติอโศก ก่อตั้งโดย พระโพธิรักษ์ (นายรัก รักพงษ์) อดีตเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวและกำกับเวทีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม (ช่อง 9 ในปัจจุบัน) ซึ่งเคยบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา บวชครั้งแรกในคณะธรรมยุติ โดยมีพระราชวรคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 แต่ได้ลาสิกขาออกไป ภายหลังได้บวชใหม่เป็นพระสังกัดคณะมหานิกาย มีพระครูสถิตวุฒิคุณเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2516 สังกัดวัดหนองกระทุ่ม จังหวัดนครปฐม ได้นามว่า โพธิรักษ์
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2518 พระโพธิรักษ์ได้ประกาศตั้ง พุทธสถานสันติอโศก ในบริเวณหมู่บ้านใกล้วัดหนองกระทุ่ม ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มีกลุ่มคนที่ศรัทธาเข้าร่วมประมาณ 60 คน และได้ประกาศแยกตัวออกจากคณะสงฆ์ไทย ประกาศไม่อยู่ภายใต้กฏระเบียบและการปกครองของมหาเถรสมาคมและคณะสงฆ์ โดยอ้างว่ายึดเอาพระธรรมวินัย เป็นหลักปกครองพวกกลุ่มตนเอง
สันติอโศกมี 9 เครือข่ายอโศก ได้แก่ ปฐมอโศก, ศีรษะอโศก ,ราชธานีอโศก, อโศกแห่งภูผ่าฟ้าน้ำ และ ทักษิณอโศก มีศูนย์รวมที่สันติอโศกพุทธสถาน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ (ก่อตั้งเมื่อ 7 ส.ค. 2519)
คำสอน
สันติอโศกมีคำสอนที่นอกเหนือไปจากพระไตรปิฎกมากมาย โดยโพธิรักษ์อ้างว่า คำสอนเหล่านี้ ตนเองไม่เคยเรียน แต่รู้ได้ด้วยญาณวิเศษ เช่น สอนว่า พระอรหันต์ แม้นิพพานแล้ว ก็ยังมาเกิดอีกได้ เพื่อช่วยเหลือคนอื่น นอกจากนั้นมีการแปลภาษาบาลีผิดความหมาย เช่น แปลคำว่า ตัณหา ว่า ตัณ คือ ทางตัน และ หา คือ ยังไม่เจอ จึงรวมแปลว่า ตัณหา แปลว่า ทางตัน จึงหาไม่เจอ
พิธีกรรม
พระโพธิรักษ์ มีพิธีกรรมนอกกฏระเบียบของมหาเถรสมาคม เช่น การตั้งตนเองเป็นพระอุปัชฌาย์ ทั้งๆที่พรรษาไม่ถึง 10 บวชให้กับคนที่ศรัทธาในลัทธิของตน โดยใช้วิธีการเรียกคนที่ต้องการจะบวชเข้ามา แล้วก็บอกว่า "เธอเป็นสมณะ" ซึ่งปฏิบัติเหมือนกับการที่พระพุทธเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา หลังจากที่มีจำนวนนักบวชมากขึ้น จึงมีการออกกฏใหม่ว่า จะตัดสินว่าให้คนๆนี้บวชหรือไม่ โดยการลงคะแนนเสียงของคณะสมณะ ซึ่งไม่ใช่วิธีการบวชที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
กลุ่มนักบวชสันติอโศก ใช้ชื่อเรียกตัวเองว่า สมณะ เช่น สมณะเพาะพุทธ (นายจันทร์) สมณะกระบี่บุญ สมณะฟ้าดิน นักบวชจะห่มจีวรลักษณะเดียวกับพระสงฆ์นิกายเถรวาททั่วไป แต่จีวรจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม นักบวชทุกคนเป็นมังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และตำหนิผู้ที่ทานเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ที่ฉันเนื้อสัตว์ ว่าเป็นผู้โหดร้าย ซึ่งผิดไปจากแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปเข้าข่ายลัทธิเทวทัต ที่อวดอ้างว่าไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นสิ่งดีกว่าพวกกินเนื้อสัตว์ ประพฤติเคร่งครัดกว่าพวกกินเนื้อสัตว์
โพธิรักษ์มีการอวดอุตริมนุสสธรรม คือการอวดอ้างคุณวิเศษ การบรรลุธรรม ของตนเอง ในหลายๆครั้ง ต่างกรรม ต่างวาระ เช่น อวดอ้างว่าตนเป็นพระสารีบุตร สาวกของพระพุทธเจ้า กลับชาติมาเกิด แล้วยังเป็นผู้ที่เง๊กเซียนฮ่องเต้ส่งมาเกิดเพื่อช่วยมวลมนุษย์ อวดอ้างว่าตนเป็นทั้งพระอรหันต์ และพระโพธิสัตว์ ในเวลาเดียวกัน และอวดอ้างว่าตนได้บรรลุธรรมในขณะปัสสาวะ ซึ่งผู้ที่บรรลุธรรมจริงๆนั้น ย่อมไม่ป่าวประกาศบอกต่อใครๆเช่นนี้ โพธิรักษ์จึงไม่อยู่ในฐานะของเพศสมณะ และได้ถือว่าปาราชิกไปแล้ว
คดีความ
ในวันที่ 10 มิถุนายน 2532 ที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเอกฉันท์ ขอให้สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงลงพระนามในพระบัญชาให้สึกพระโพธิรักษ์ จากสมณเพศภายใน 7 วัน แต่ พระโพธิรักษ์ ไม่ยอมเปล่งวาจาสึก ตำรวจนำกำลังไปควบคุมตัวไปที่ สน.ดุสิต ก็ไม่เปล่งวาจาสึก จึงทำได้แค่ให้เปลี่ยนชุด เป็นสีขาว และโดนฟ้องอีก 78 คดี สมณะและสิกขามาตุถูกฟ้องแต่งกายเลียนแบบพระการต่อสู้คดีดำเนินไป โดยมีคณะทนายอาสามาช่วย 53 คน แต่ได้รับแต่งตั้งให้ว่าความเพียง 10 คน มี ทองใบ ทองเปาด์ รางวัลแมกไซไซ เป็นหัวหน้าคณะ และ ประดับ มนูรัษฎา, สงบ สุริยินทร์, สัมผัส พึ่งประดิษฐ์, ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ และ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ (ส.ส. พรรคพลังธรรม) ศาลแขวงพระนครเหนือ มีคำพิพากษาเมื่อ 29 ธ.ค. 2538 หลังสืบพยานนานถึง 6 ปีเต็ม ให้จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามโจทก์ฟ้อง จำคุกโพธิรักษ์ รวม 66 เดือนโทษจำรอลงอาญา 2 ปี คนอื่นๆ ก็เช่นกัน 3 เดือนรอลงอาญา ทั้งหมดยืนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษา เมื่อ 19 มี.ค. 2540 ยืนตามชั้นต้น โพธิรักษ์ ไม่ยื่นฎีกา ส่วนคนอื่นๆ ยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษา 15 มิ.ย. 2541 ให้ยืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินให้พระโพธิรักษ์แพ้คดี มีคำสั่งรอลงอาญา 2 ปีพร้อมคุมประพฤติ
การเมือง
สันติอโศก มีบทบาททางการเมืองแบบเต็มรูป เช่น การก่อตั้งพรรคพลังธรรม โดยมีพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรค กระทั่งชนะเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. และเป็น ส.ส.
นักบวชสันติอโศกสามารถไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้โดยใช้บัตรประชาชน ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ แต่การที่นักบวชสันติอโศกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ จึงเป็นการประกาศสถานะของตนเองอย่างชัดเจนว่า ไม่ใช่นักบวช และไม่ใช่พระสงฆ์แต่ประการใด
ในปี 2535 สันติอโศกได้เข้าร่วมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เพื่อล้มล้างรัฐบาลของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สันติอโศก ได้เข้าร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อล้มล้างรัฐบาลของ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%81
จากคุณ :
โจรา
- [
4 ก.ย. 51 12:02:41
A:58.8.111.233 X:
]