......นายจรัญจะขัดหรือไม่ขัด รธน. ไม่ใช่ประเด็นที่ยิ่งใหญ่ ทางการบวนการกฎหมาย แต่ มติ ตุลาการ ศาล รธน. 9 ต่อ 0 ทำให้ วิเคราะห์ได้ว่า ตุลาการ ศาล รธน. ได้ตัดอำนาจศาล ออกไป ถึง 4 ศาล คือศาลแขวง ศาลอาญา ศาลแพ่ง และศาลแรงงาน ซึ่งผิดหลักการกระบวนการยุติธรรม ในบ้านเราเป็นอย่างยิ่ง ขอเรียนอธิบายดังนี้
..1. กฎหมายกำหนดว่า แม้มีลูกจ้างเพียง 1 คน ที่ได้รับเงินประจำเดือนเกิน 1,650 บาท นายจ้างต้องนำลูกจ้างนั้นเข้าระบบประกันสังคม หากไม่นำเข้า จะต้องรับผิดทางอาญา และ โทษปรับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลอาญา /ศาลแขวง ที่จะพิเคราะห์ว่า การจ้างงานนั้น เข้าสู่ความหมายของลูกจ้าง หรือ รับจ้างทำของ การตีความของตุลาการ รธน.เท่ากับว่า ตัดรับจ้างทำของออกไป ซึ่งจะเกิดควมยุ่งยากในการเข้าสู่ระบบประกันสังคม มั่วกันไปหมด ไม่มีหลักเกณฑ์
....2. กรณีลูกจ้างทำงาน แล้วไปสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ผู้เสียหายฟ้องนายจ้างได้ นายจ้างไปไล่เบี้ยลูกจ้างต่อไป แต่ถ้ารับจ้างทำของ จะไม่เข้าเงื่อนไขนี้ คำวินิจฉัยตัดการพิเคราะห์ของศาลแพ่งคือเข้าหมด
....3. สัญญาการรับจ้างทำของ/บริการ จะไม่เข้าสู่ศาลแรงงาน จะเข้าสู่ศาลแพ่งตัดสิน แต่กรณีลูกจ้าง จะเข้าสู่ศาลแรงงานตัดสินกรณีนายจ้างไม่เป็นธรรม กฎหมายแรงงานให้ความคุ้มครองลูกจ้างเปนส่วนใหญ่ แต่จะมีข้อยกเว้นบางอย่าง เช่นหยุดงานไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ เมื่อตุลาการ ตัดสินแบบนี้ ก็เท่ากับว่า การรับจ้างทุกอย่างเข้าสู่กระบวนการศาลแรงงานทั้ง นี่ก็ไปตัดการพิเคราะห์ของศาลแรงงานเช่นกัน
.....ทั้งหมดนี้ เพราะตุลาการ ศาล รธน. ไปอิงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งไม่ถูกต้อง คำแปลนี้ เป็นเพียงส่วนย่อยให้คนเข้าใจคำว่าลูกจ้าง มีการกระทำอย่างไร แต่ไม่ใช่หลักยึดทางกฎหมาย ดังนั้นความหมายที่แท้จริงต้องไปยึดกฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวโยงสู่อำนาจศาลต่างๆ ที่มีครบถ้วนแล้ว
....ดังนั้น การตัดสินของศาล รธน. จะต้องยึดตัวบท ในกฎหมมายต่างๆประกอบ เพราะทุกคนจะไปอ่านกฎหมายที่กำหนด ไม่มีใครไปอ่านพจนานุกรม พจนานุกรมมีไว้ให้คนเรียนภาษาไทยให้ถูกต้อง เขียน สะกดให้ถูกต้อง ไม่ใช่ เป็นหลักปฎิบัติในการทำให้ถูกกฎหมาย
.....ศาล รธน. มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทำกฎหมายให้เป็นกฎหมายเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสินนอกเหนือกฏหมายทั้งสิ้น
...hnpmaau
.....เจ้าของกระทู้คุณ : เสเพล
จากคุณ :
คนชุดขาว
- [
17 ก.ย. 51 09:12:43
A:172.17.11.64 X:61.19.199.142
]