ความคิดเห็นที่ 81

ที่แรกก็ว่าจะไม่แสดงความเห็นใด ๆ เพราะประเด็นของกระทู้ก็แค่ "มหาวิทยาลัยเอกชน เป็นองค์กรที่แสวงหากำไรจริงหรือ?" เพราะตามข้อกฏหมาย..เมื่ออ่านแล้ว ผมก็คิดอย่างเดียวกับ จขกท.
แต่เมื่อมายุ่งเกี่ยวกับกรณีของนายจรัญ ก็เลยอยากแสดงความเห็นบ้าง
ในฐานะที่ผมไม่ใช่นักกฏหมาย ... ผมคิดว่า
ประเด็นของนายจรัญ ... ต้องใช้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ..... เช่นเดียวกับกรณีของนายสมัคร
มาตรา 265, 267 นั้นระบุคุณสมบัติของ สส, สว และรัฐมนตรีไว้ เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์
มาตรา 207 เองก็เช่นเดียวกัน
ในกรณีของนายสมัคร การที่ศาลรัฐธรรมนูญ .. มิใช้คำหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" ตามกฏหมายอื่นๆ ระบุ แต่มาใช้ความหมายที่กว้างกว่าของพจนานุกรม ... ก็เพื่อให้ตรงตามเจตนารมรณ์ของรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา ๒๐๗ ข้อ(๑),(๒) เป็นการห้ามมีผลประโยชน์กับภาครัฐ ข้อ(๓) เป็นการห้ามมีผลประโยชน์กับภาคเอกชน ข้อ(๔) เป็นการห้ามใช้วิชาชีพเพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ขึ้นมา
ดังนั้น การที่นายจรัญ ที่ถูกกล่าวหาว่า ไปแสวงหาผลประโยชน์โดยการไปรับจ้างสอนหนังสือ, จัดรายการวิทยุ ฯลฯ ก็น่าจะเป็นการกระทำที่ผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่ามหาวิทยาลัยนั้น...จะเป็นองค์กรที่จะแสวงหากำไรหรือไม่ก็ตาม
การตีความว่า...มหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ใช่องค์กรที่แสวงหากำไร จึงมิเข้าข่ายมาตรา 207 นั้น ผมคิดว่า น่าจะเป็นการใช้ช่องโหว่ทางภาษาและข้อกฏหมายมาเป็นข้ออ้าง ....ในการที่จะหลีกเลี่ยงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
นายจรัญ..ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้... ก็น่าจะกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้สมกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ... การกระทำหลายอย่างของมหาวิทยาลัยเอกชน ก็ยังส่อให้เห็นถึงความสงสัยว่า "ไม่แสวงหากำไรจริงหรือ?" เช่น การแข่งขันกันโฆษณา เพื่อชักชวนนักเรียนให้เลือกที่จะสมัครเข้ามาเรียนที่สถานศึกษาของตน ฯลฯ
จากคุณ :
King Hades
- [
19 ก.ย. 51 13:39:56
A:125.26.250.41 X:
]
|
|
|