การสอบสวนคดีมรรยาทแพทย์
จากข้อเท็จจริงจากการให้การ พยานเอกสาร ของผุ้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา ในการสอบสวนคดีนี้ที่ผ่านมาทั้งสิ้นรวม 7 ปี
นายแพทย์ ที่ให้ข่าวไม่ให้การรักษาตำรวจได้รับบาทเจ็บการเหตุการณ์สลายม๊อบ
ผลจากการสอบสวนได้ความว่า นายแพทย์ที่ถูกร้องเรียนจะให้การรักษา แต่ตำรวจที่จะได้รับการรักษาไม่ควรใส่ชุดตำรวจ และห้ามจ้างชั้นยศ
ความเห็นคณะกรรมการสอบสวนแพทย์สภา มีความเห็นว่านายแพทย์ดังกล่าวกระทำความผิดจรรยาแพทย์ อย่างร้ายแรง เพราะถือได้ว่าตำรวจเป็นผู้ป่วยคนหนึ่ง ที่ได้รับการคุ้มครองตามประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วย
1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และ ลักษณะของความเจ็บป่วย
3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือ จำเป็น
4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้อง ขอความช่วยเหลือหรือไม่
5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริ การแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และสถานบริการได้
7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน
8. ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏใน เวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
10.บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน สิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
ถือได้ว่านายแพทย์ดังกล่าวมีความผิดอย่างร้ายแรง ที่จะไม่รักษาผู้ป่วยที่แต่งกายในเครื่องแบบตำรวจ และหรือแจ้งชั้นยศ แต่ถ้าตำรวจผู้ได้รับความบาทเจ็บไม่แต่งเครื่องแบบ และไม่แจ้งชั้นยศ จะได้รับการรักษา ถือว่าเป็นเหตุบรรเทาโทษ
คณะกรรมการสอบสวนคดีมรรยาทแพทย์ มีความเห็นการกระทำของนายแพทย์ดังกล่าวมีความผิดร้ายแรง สมควรลงโทษสถานหนัก เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป ให้ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเย็น จึงขอเสนอต่อคณะกรรมการมรรยาทแพทย์สภา พิจารณาต่อไป
10 ปี ต่อมา ไวเหมือนโกหก
คณะกรรมการมรรยาทสภาแพทย์สภา ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าผิดจริง แต่โทษที่คณะกรรมการสอบสวนมรรยาทแพทย์ เสนอมาน้อยเกินไป สมควรแก้ให้ลงโทษเป็น ว่ากล่าวตักเตือนวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
แก้ไขเมื่อ 08 ต.ค. 51 16:15:01
จากคุณ :
โจรา
- [
8 ต.ค. 51 16:09:58
A:58.8.114.247 X:
]