ความคิดเห็นที่ 20

มีเยอะ อ่านให้หมดละกัน
ผลงานอัปยศ...3 ปี รัฐบาลชวน หลีกภัย
9 พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัยได้นำพลพรรคเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลภาพพจน์ ความซื่อสัตย์บวกกับทีมงานด้านเศรษฐกิจสังคมที่ประกอบไปด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีชวน 2 เป็นความหวังในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น จากวันนั้นเป็นเวลาเกือบ 3 ปี รัฐบาลชวน 2 สร้างความหายนะทางเศรษฐกิจให้เลวร้ายยิ่งขึ้น ปล่อยให้มีการทุจริตคอรัปชันอย่างมโหฬารในหลายๆ ระดับของรัฐ
1. มีการรับสินบนตัดไม้สักจากป่าสาละวินเข้าไปให้นายกรัฐมนตรีเพื่อบริจาคให้กองทุนไทยช่วยไทย เมื่อ กุมภาพันธ์ 2541 แต่รัฐบาลไม่สามารถสืบค้นและจับกุมผู้บงการตัดไม้ป่าสาละวินที่แท้จริงได้ 2. เตรียมการฮั้วการประมูลของเอกชน 8 รายโครงการสื่อสัญญาณความเร็วสูงหรือ SDH มูลค่าหมื่นล้านบาทของ องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการฯ แต่ถูกเปิดโปง จึงระงับไว้ก่อน แต่ต่อมาใน 9 พฤศจิกายน 2543 ก่อนที่จะนายกฯชวนจะประกาศยุบสภาเพียง 5 ชั่วโมง องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในยุคที่ สุเทพ เทือกสุบรรณเป็น รมต.คมนาคม ได้เปิดไฟเขียวให้ สมบัติ อุทัยสาง ประธานคณะกรรมการ ทศท. และสุธรรม มลิลา ผอ.ทศท. ทายาท สุเทพ เทือกสุบรรณ เซ็นสัญญาพร้อมจัดหา และติดตั้งอุปกรณ์โครงการขยายโครงการข่ายสัญญาณความเร็วสูงทั่วประเทศ (เอสดีเอช.หรือที่แปลงโฉมเป็น TNEP. นั่นเอง) มูลค่าถึง 7,500 ล้านบาท 3. กันยายน 2541 มีการขุดคุ้ยให้สาธารณชนรับรู้ถึงความผิดปกติของโครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของ วิรัช รัตนเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากพรรคชาติไทย ที่นำเงินงบประมาณ 500 ล้านบาทมาจัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว เช่น มะเขือเปราะ พริกขี้หนู บวบ เป็นต้น เพื่อนำไปให้ชาวบ้านปลูกไว้กินเอง โครงการนี้ถูกตรวจสอบพบว่าใช้วิธีพิเศษ เมื่อถูกเปิดโปงก็ทำให้ วิรัช รัตนเศรษฐ์ ลาออกจากเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยทั้งน้ำตา และถึงวันนี้ยังไม่สามารถหาผู้ทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และไม่ได้รับการเอาใจใส่ติดตามจากผู้นำรัฐบาลแม้แต่น้อย 4. พฤศจิการยน 2541 โครงการของงบประมาณจัดซื้อยาให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศวงเงิน 1,400 ล้านบาท โดยการอนุมัติ รักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พรรคกิจสังคม ถูกเปิดโปงออกมา โดยที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ผู้ซื่อสัตย์ออกมาปกป้องอย่างออกหน้าออกตา ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฎทั้งราคาในการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ที่แพงกว่าปกติ และผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานกดดันให้ รักเกียรติ สุขธนะ ต้องยอมลาออกจากเก้าอี้รัฐมนตรีไปอีกคนอย่างไม่ค่อยเต็มอกเต็มใจนัก 5. กลางปี 2542 มีการโกงการเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลนคร จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งมโหฬารถึงขั้นต้องให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ โดยหัวหน้าผู้สมัครทีมหนึ่งซึ่งปํนลูกชายของ นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้มีบุญคุณต่อพรรคประชา ธิปัตย์ ในฐานะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลชวน 2 เป็นผลสำเร็จ 6. ตุลาคม 2542 มีการเปิดโปรงขบวนการค้าซีดีเถื่อน ซึ่งคนของรัฐบาลได้ใช้ บ้านพิษณุโลกอันเป็นบ้านพักของนายกรัฐมนตรี เป็นสถานที่เก็บซีดีเถื่อนก่อนกระจายสู่ท้องตลาด จนขยายผลสู่การทลายแหล่งผลิตซีดีเถื่อนแหล่งใหญ่ในบริเวณท่านน้ำเมืองนนท์ ร้านที่ตรวจพบซีดีเถื่อนเป็นของส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล สังกัดกลุ่มงูเห่า 7. พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถูกคณะกรรกมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบกรณีจงใจแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่เป็นเท็จ ไม่สามารถชี้แจงที่มาของเงิน 45 ล้านบาท เพราะไม่มีที่มาที่ไปของเงินชัดเจน ก็สะท้อนถึงการทุจริตคอรัปชันที่กลาดเกลื่อนในรัฐบาลชวน 2 ได้อย่างแจ่มชัด 8. กรณีของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ยังมีเรื่องคฤหาสน์ 3 หลังในพื้นที่ป่าเมืองกาญจนบุรี เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ที่กรมป่าไม่ตรวจสอบพบว่าบุรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นการจับจองที่ดินสาธารณะโดยมิชอบที่เกี่ยวโยงกับ ประหยัด เวสสบุตร ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี และ ดิเรก อุทัยผล อดีตผู้ว่าราชการกาญจนบุรี ซึ่งล้วนเป็นคนไกล้ชิดของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ กระทั่งถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปนำผู้กระทำผิดกฎหมายมาลงโทษได้ 9. กรณีซื้อขายตำแหน่งสำนักงานรพช. ที่ถูกเปิดโปงในเดือนกันยายน 2541 เริ่มต้นจากการจับกุม น.อ.ธาตรา ธารบุญ จากนั้นขยายผลสู่การจับกุม จ.ส.ต.สุวิทย์ มลธุรัช คนขับรถของเสธ.หนั่น และ สันติ เกรียงไกรสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เพราะผลตรวจสอบพบว่ามีการอ้างชื่อ ฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ ภรรยา พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เข้าไปเกี่ยวข้อง 10. กรณีผืนป่าท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี พบว่าป่าได้ถูกทำลายไป422 ไร่ ต้นไม้ถูกตัดโค่น 1,293 ต้น เมื่อเดือนมีนาคม 2543 จนข้าราชการกรมป่าไม้ด้วยกันทนไม่ไหว พยายามนำข้อเท็จจริงของการทำลายป่าครั้งนี้ออกมาเปิดเผย เรื่องจริงร้อนถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เพิ่งรอดจากการไม่ถูกสั่งฟ้องในความผิดฐานไม่สั่งเพิกถอนสัมปทานพื้นที่ป่าสงวนป่าท่าชนะ และเปลี่ยนพื้นที่สัมปทานโดยไม่ได้นำเสนอรับอนุมัติจาก ครม. ซึ่งพื้นที่เปลี่ยนแปลงเกิน 2,000 ไร่ กลุ่มผู้ที่ลักลอบตัดไม้ครั้งนี้เป็นกลุ่มนายทุนท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์ทางผลประโยชน์กับแกนนำ ปชป. มีการวิ่งเต้นจนอัยการสั่งไม่ฟ้อง
หลังจาก นายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 ขบวนการผลาญงบก็ยังไม่ลดละ 1. ครม.ชุดของนายชวน ที่เป็นครม.รักษาการ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน เป็นจำนวนเงินสูงถึง 64,653.1 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิการยน 2543 ที่ผ่านมานี้ มีรายการใหญ่ๆที่ครม. อนุมัติคือ 1.1 รายการค่าก่อสร้างและปรับปรุงระบบคมนาคม ของกระทรวงคมนาคมด้วยวงเงินสูงถึง 33,051.3 ล้านบาท หรือ 51.1 เปอร์เซ็น ของวงเงินของผูกพันทั้งหมด 1.2 รายการขออนุมัติงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2544 ที่เป็นรายการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้นสูงเกิน 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 10 รายการประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม 3 รายการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 รายการ และกระทรวงมหาดไทย 5 รายการ รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 16,844.9 ล้านบาท และเป็นงบประมาณที่จะต้องจ่ายในปี 2544 จำนวน 2,129.4 ล้านบาท 1.3 รายการส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการต่างๆ ที่มีวงเงินการก่อหนี้ผูกพันทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 743 รายการ เป็นเงินงบประมาณรายการใหม่ในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,380.3 ล้านบาท และเป็นจะนวนภาระผูกพันทั้งสิ้น 47,808.2 ล้านบาท
2. มูมมามงาบโครงการทิ้งทวนจนนาทีสุดท้าย ดังนี้ 2.1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร.ม.ต. คมนาคม อนุมัติโครงการ เอสดีเอช,ไอพีเน็ตเวอร์ก,ซิมกลาส และโครงการโทรศัพท์มือถือ 1900 รวมมูลค่าโครงการทั้งหมด 24,216 ล้านบาทโดยใช้เวลาอนุมัติเพียงเดือนเดียวเท่านั้น และดำเนินการประมูลไม่มีความโปร่งใส 2.2 วันที่ 17 ตุลาคม 2543 ก่อนจะมีการยุบสภา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็นำโครงการจัดซื้อเครื่องบิน 5 ลำ มูลค่า 3 หมื่นล้านบาทของการบินไทยเข้าที่ประชุม ความไม่ปกติเกิดขึ้นเมื่อยังไม่มีการเลือกแบบเครื่องบิน แต่สุเทพ เทือกสุบรรณ ก็อนุมัติเงินมัดจำกับบริษัทโบอิ้งไปแล้ว 2 ลำๆละ 2 แสนเหรียญสหรัฐ 2.3 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 กระทรวงคมนาคมอนุมัติให้กับคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ ปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นวงเงิน 124,566 ล้านบาท ในขณะที่ทรัพย์สินของการรถไฟขณะนี้มีอยู่ 58,755.3 ล้านบาท หนี้สินอีก 36,803 ล้านบาท 2.4 บัญญัติ บรรทัดฐาน ร.ม.ต. มหาดไทย ผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติจัดซื้อรถจักรยานยนต์และรถกระบะของสายตรวจตำรวจ 1,823,000,000 ล้านบาท 2.5 พิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลัง ได้อนุมัติเรื่องการจ่ายเงินโบนัสคืนให้กับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ งบประมาณถึง 20 ล้านบาท 2.6 สาวิตต์ โพธิวิหค รมต. ประจำสำนักนายกฯ เสนอเรื่องขอกู้เงินเพื่อรีไฟแนนซ์เงินกู้เดิม 3.5 หมื่นล้านบาทให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ครม. ก็อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้อีก 9 พันล้านบาท 2.7 วัฒนา อัศวเหม รมช.มหาดไทย ผู้ดูแลการเคหะแห่งชาติ อนุมัติโครงการในการศึกษาโยกย้ายประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนดินแดง งบประมาณ 200 ล้านบาท โครงการรื้อถอนอาคารเดิม และโครงการก่อสร้างอาคารใหม่ งบประมาณอีก 7,798 ล้านบาท 2.8 ประภัตร โภสุธน ร.ม.ต.เกษตรและสหกรณ์ ผู้สร้างสถิติฮือฮาทำงาน 7 เดือน เสนอกฎหมายแค่ 3 ฉบับ แต่อนุมัติไป 133 เรื่องกับอีก 11 โครงการ โดยอนุมัติถี่ยิบในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และอีก 2 โครงการยักษ์ ก่อนยุบสภาเพียงอึดใจ ก็หนีบโครงการชลประทานระบบท่อ มูลค่า 699 ล้านบาท และโครงการจัดหาและการบำรุงรักษาอากาศยานเพื่อเกษตร พ.ศ. 2544-2549 อีก 3,031 ล้านบาท แต่ถูกโยนตระกร้าไปเสียก่อน
ระยะเกือบ3ปี ภายใต้การบริการของรัฐบาลชวน2จึงนับเป็นยุดของ ขบวนการโกงกินบ้านเมืองที่มีฐานเงิน อำนาจ และความชอบธรรมอยู่ในมือ ในการกระทำทุจริตฉ้อฉลหลากหลายรูปแบบ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียหายต่อส่วนรวม
จากคุณ :
หนุ่มฝั่งธนฯV2
- [
20 ต.ค. 51 14:19:15
A:58.9.43.28 X:
]
|
|
|