ความคิดเห็นที่ 38

เสนาะ เทียนทอง เขียนไว้ ในหนังสือ "จะเอาทักษิณหรือจะเอาประเทศไทย" ความตอนหนึ่ง
-เมื่อก่อนเกิดวิกฤติค่าเงินบาท นายอำนวย วีรวรรณ รมว.คลังในขณะนั้นลาออก มีการคิดกันว่าจะให้ตำแหน่งนี้กับ พ.ต.ท.ทักษิณด้วยซ้ำ ตนได้ไปทาบทามคนที่น่าเชื่อถือในสังคม โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รับปากว่าจะเข้ามาช่วยเป็น รมว.คลัง
-ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณไปนำนายทนง พิทยะ ผู้บริหารธนาคารทหารไทยมารับตำแหน่งนี้แทน โดยที่ตนไม่รู้เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณไปซุบซิบกับ พล.อ.ชวลิต และนายโภคิน พลกุล อดีต รมต.สำนักนายกฯ แล้วจึงมีคำสั่งแต่งตั้งนายทนง
-ก่อนเงินบาทลอยตัว ผมไม่รู้เรื่องด้วย เพราะอยู่นอกวงของพวกเขา คนที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าเงินบาทในขณะนั้นมี 4 คนคือ พล.อ.ชวลิต พ.ต.ท.ทักษิณ นายทนง และนายโภคิน
-ส่วนจะรู้เห็นกันขนาดไหน ผมไม่รู้ เขาบอกว่าเขาไม่รู้ อันนี้ไม่มีใบเสร็จ แต่ถ้าถามผมว่า ผลที่เกิดหลังค่าเงินบาทลอยตัวออกมาอย่างไร
"มันส่อชัดว่าทักษิณและบริษัทรอดวิกฤติคนเดียว คือผลลัพธ์มันสะท้อนชัดอยู่แล้ว การที่มีคนไปซื้อประกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาทเอาไว้มากๆ หรือไปซื้อดอลลาร์เอาไว้มากๆ ก่อนประกาศลอยค่าเงินบาท ก็เหมือนจุดไฟเผาบ้านตัวเองเพื่อเอาเงินประกัน
บทความของปานเทพ วงศืพัวพันธุ์
ย้อนรอยคดีค่าเงินบาท หลังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีค่าเงินบาทที่ โภคิน แพ้ สุเทพ พบทักษิณเคยยอมรับกลางสภาได้รับโทรศัพท์ตอน 4 ทุ่มมาคาบข่าวก่อนลอยค่าเงิน ตะลึงเงินไหลออกสุทธิ 3 วันเกือบ 5 หมื่นล้านบาท หลัง ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ฟันธงลดค่าเงินบาทตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2540
**เปิดคำพิพากษาศาลฎีกาคดีลดค่าเงินบาท(ฉบับเต็ม) ไขความลับดำมืด "ทักษิณ"อินไซด์ข้อมูล สะสมทุนตั้งพรรคกินเมือง??**
จากกรณีที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาที่ 5730/2550 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ที่ได้ยกฟ้องคดีความที่นายโภคิน พลกุล ในฐานะอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็น โจทย์ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้อภิปรายญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 เรื่องการลดค่าเงินบาท โดยนายสุเทพตั้งข้อสงสัยว่านายโภคินได้นำมติจากที่ประชุมลับเรื่องการลดค่าเงินบาท ไปบอก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้บริษัทของ พ.ต.ท.ทักษิณได้ประโยชน์ ตามที่ได้ปรากกฏเป็นข่าวแล้วนั้น
หากได้ย้อนเวลากลับไปตามวันและเวลาก่อนลอยค่าเงินบาท ได้พบที่น่าสังเกตุและมีพิรุธดังต่อไปนี้
วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2540 เป็นวันหยุดราชการ ผู้บริหารแบงก์ชาติ 6 คน (นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์, นางธัญญา ศิริเวคิน, นายศิริ การเจริญดี , นายบัณฑิต นิจถาวร, นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน และ นางเกลียวทอง เหตระกูล) พิจารณาทั้งวันแล้วมีมติ ให้ลอยค่าเงินบาทและเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดตามที่เคยหารือกับไอเอ็มเอฟมาก่อนหน้านี้ และมีการโทรศัพท์ให้นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าแบงก์ชาติได้รับทราบ โดยไม่มีการแจ้งให้ฝ่ายการเมืองทราบอย่างทันท่วงที
วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2540 เปิดทำการวันแรก ทุนสำรองสุทธิอยู่ที่ประมาณ 4,883 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2540 เปิดทำการวันที่สองแบงก์ชาติทำสัญญา SWAP กับเอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ทุนสำรองสุทธิค่อนข้างคงที่
วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2540 แบงก์ชาติทำสัญญา SWAP กับเอกชนเพิ่มขึ้น เงินไหลออกนอกประเทศจนทุนสำรองสุทธิลดลง 208 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 5,200 ล้านบาท) ทุนสำรองสุทธิเหลือประมาณ 4,675 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2540 มีการทำสัญญา SWAP เพิ่มอีกเช่นเคย ผู้บริหารแบงก์ชาติ เข้าพบนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อนายทนงได้เห็นทุนสำรองสุทธิที่เหลือน้อยมากไม่สามารถปกป้องค่าเงินบาทได้แล้ว จึงให้นโยบายว่าให้แบงก์ชาติต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน แต่แบงก์ชาติกลับบอกว่าจะกลับไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของแบงก์ชาติทั้งๆ ที่ได้มีการประชุมผู้บริหารไปก่อนหน้านี้แล้ว
วันนั้นนอกจากผู้บริหารของแบงก์ชาติทั้ง 7 คนแล้ว นายทนง พิทยะ รัฐมตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ย่อมรู้ดีว่าจะต้องมีการเปลี่ยนระบบค่าเงินด้วย เพราะได้เห็นสถานภาพของทุนสำรองระหว่างประเทศจนหมดสิ้นแล้ว
ปรากฏว่าวันเดียวกัน เงินไหลออกนอกประเทศ จนทุนสำรองสุทธิลดลงไปอีก 417 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 10,425 ล้านบาท) หรือเงินไหลออกนอกประเทศสุทธิเกือบ 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับก่อนหน้าหนึ่งวัน ทำให้ทุนสำรองสุทธิเหลือประมาณ 4,258 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2540 ปรากฏว่า เงินไหลออกสุทธิเพิ่มหนักมากขึ้นประมาณถึง 1,408 ล้านเหรียญสหรัฐฯในช่วงเวลาเพียงแค่วันเดียว (ประมาณ 35,200 ล้านบาท) เทียบเป็น 3 เท่าตัว เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า 1 วัน หรือคิดเป็นกว่า 6 เท่าตัวเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า 2 วัน เป็นผลทำให้ทุนสำรองสุทธิลดลงเหลือเพียง 2,850 ล้านเหรียญสหรัฐฯเท่านั้น
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2540 เป็นวันหยุดทำการไม่มีธุรกรรมใดๆ นายทนง พิทยะ ได้ตกลงกับ นายเริงชัย มะระกานนท์ และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ว่าจะไปเรียนนายกรัฐมนตรี ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2540
วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2540 เป็นวันหยุดทำการเช่นเดียวกัน เวลา 9.30 น. นายทนง พิทยะ, นายเริงชัย มะระกานนท์, นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เข้าร่วมประชุมเพื่อแจ้งว่าจะมีการลอยค่าเงินบาท โดยมีนายโภคิน พลกุล ร่วมประชุมอยู่ด้วย (ตามคำพิพากษาศาลฎีกา)
วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลงนามให้ประกาศลอยค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 โดยนายเริงชัย มะระกานนท์ อ้างว่าเพื่อให้ปิดงวดบัญชีครึ่งปีในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นวันหยุดทำการของแบงก์ชาติ
แต่ในวันดังกล่าว แบงก์ชาติกลับไปทำ SWAP เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดกับเอกชนเป็นจำนวนถึง 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งๆ ที่น่าจะรู้ดีว่าการทำ SWAP กับเอกชนในวันนั้นเมื่อถึงกำหนดคืนเงินเหรียญสหรัฐฯตามสัญญา SWAP จะต้องขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการลอยค่าเงินบาทอย่างย่อยยับและเอกชนคู่สัญญาก็น่าจะได้กำไรไปอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน
จากคุณ :
supermanza
- [
2 ธ.ค. 51 16:24:17
A:202.57.129.150 X:
]
|
|
|