ความคิดเห็นที่ 47

มาตรการเพิ่มความมั่นคงของทุนประกอบการ (๑) แทรกแซงธนาคารพาณิชย์ ๗ แห่ง ที่อ่อนแอและเพิ่มทุนให้กับธนาคารเหล่านี้ให้เพียงพอต่อการประกอบกิจการต่อไป และยังได้เพิ่มทุนอย่างเพียงพอให้แก่ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาธนาคารของรัฐอย่างเป็นระบบ โดยวิธีการควบรวบกิจการ, การปิดกิจการ, และการเสนอขายคืนให้กับภาคเอกชน (๒) สำหรับธนาคารพาณิชย์เอกชนและสถาบันการเงินที่ไม่ได้ถูกแทรกแซง รัฐบาลได้ออกแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเพื่มทุน ทั้งเงินกองทุนชั้นที่ ๑ และเงินกองทุนชั้นที่ ๒ สำหรับการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ ๑ ได้กำหนดให้เป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนเพื่อลดภาระภาครัฐ โดยโครงการเพิ่มทุนดังกล่าว มีวงเงินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และได้มีธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดใหญ่ ๑ แห่งและขนาดกลาง ๑ แห่ง และสถาบันการเงินอีกหลายแห่งได้เข้ามาร่วมโครงการ (๓) ในช่วงที่ระบบสถาบันการเงินภาคเอกชนนำม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ รัฐบาลชวน ๒ ได้ออกมาตรการเพื่อชาวยเหลือสภาพคล่องให้แก่ระบบเศรษฐกิจผ่านสถาบันเฉพาะกิจของรัฐโดยการเพื่ทุนให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำแห่งประเทศไทย (ธสน.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทเงินทุนอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย ( IFCI )
มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (๑) ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งทำให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต่ำและอัตรดอกเบี้ยสินเชื่อต่ำ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการประนอมหนี้ได้ง่ายขึ้น (๒) จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)ในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๑ บริหารงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการเงินเกิดผลโดยเร็ว (๓) ออกพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินแยกสินทรัพย์ส่วนที่ดีกับส่วนที่ไม่ดีออกจากกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฎิบัติหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินในการอำนวยสินเชื่อเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น และการบริหารหนี้เสียมีประสิทธิภาพมากขึ้น (๔) ส่งเสริมการปรับปรุงโครงหนี้โดยมาตรการทางภาษี เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล, ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล, ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม, ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ, และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้, เจ้าหนี้สถาบันการเงิน, และเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับการจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (๕) ออกกฏหมายและปรับปรุงกฏหมายต่างๆ เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีการพิจารณา พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้การพิจารณาคดีล้มลายเป็นคดีฟื้นฟูกิจการ นอกจากนี้ยังได้แก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลายเดิมให้เอื้อประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้ให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ยังรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรม (๖) จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ SMEs และประชาชนทั่วไป (ศ.ง.ป.) เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๒ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางด้านการเงินและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีเครือข่ายการทำงานทั่วประเทศทั้งสิ้น ๔๐ ศูนย์ (๗)จัดตั้งโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล โดยจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลชั้นต้นและศาลสูงรวม ๑๔๙ ศาล และได้มีการออกระเบียบศาลแพ่งแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลแพ่งว่าด้วยการไกล่เกลี่ย เพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความ พ.ศ.๒๕๔๓ เพื่อรองรับโครงการดังกล่าว (๘) สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารของรัฐที่ยังไม่ผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรืออยู่ในขั้นตอนของศาล รัฐบาลชวน ๒ ได้กำหนดธนาคารแห่งประเทศไทยจัดกลุ่มลูกหนี้ตามประเภทธุรกิจหรือตามประเภทกลุ่มลูกหนี้ที่มีเจ้าของเดียวกัน นำไปประมูลการบริหารโดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินมืออาชีพ เร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลขึ้นโดยเร็วต่อไป (๙) คงให้ซึ่งมาตราการของรัฐบาลชุดก่อนในการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมดประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ของสถาบันการเงินทั้งหมด ๕๖ แห่งที่ถูกปิดกิจการ โดยองค์การเพื่อการการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน
จากคุณ :
thyrocyte
- [
4 ม.ค. 52 23:15:56
A:124.121.33.184 X:
]
|
|
|