นายแล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าววันนี้ (14 ม.ค.) ระหว่างการเสวนาเรื่อง "วิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อสภาวะการจ้างงานในประเทศไทย" ถึงมาตรการการอัดฉีดเงิน 115,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า เป็นมาตรการที่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ กระจัดกระจายเกินไป ไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่สุด
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานโดยเฉพาะการให้เงินผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 14,000 บาท จำนวน 2,000 บาท ว่า เป็นมาตรการที่ไร้ประโยชน์และไม่เข้าใจว่ารัฐบาลทำเพื่ออะไร มุ่งเน้นการหาเสียงมากกว่า มาตรการที่รัฐบาลที่ควรจะทำคือใส่เงินเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้างโดยตรง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและควรจะมีมาตรการชะลอการเลิกจ้าง หากรัฐบาลจ่ายเงินให้ผู้ถูกเลิกจ้างก็ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะนำเงินไปจับจ่ายใช้สอยทันทีไม่นำไปเก็บออมหรือซื้อ สินค้าฟุ่มเฟือย รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยมีตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างร่วมมือกัน ส่วนวงเงินกองทุนจะเป็นเท่าใด รัฐบาลจะต้องมีการประเมินว่าคนถูกเลิกจ้างจะมีจำนวนเท่าใด จึงจะสามารถจัดสรรงบประมาณสำหรับกองทุนได้อย่างชัดเจน
นายแล กล่าวด้วยว่า ไม่อยากเห็นนายจ้างมองแรงงานเป็นเพียงทรัพยากร ควรมองว่าเป็นมนุษย์ และไม่ต้องการให้นายจ้างฉวยโอกาสอ้างว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแล้วปลดคนงาน ทั้งๆ ที่ธุรกิจยังเดินหน้าได้ รวมทั้งเห็นว่าหากเกิดภาวะเศรษฐกิจควรที่จะลดต้นทุนส่วนอื่น เช่น ค่าน้ำมัน วัตถุดิบ หรือภาษี ก่อนที่จะปลดคนงาน ที่ควรเป็นสิ่งที่ทำขั้นสุดท้าย
ที่มา: http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=119115
จากคุณ :
sao..เหลือ..noi
- [
14 ม.ค. 52 15:42:37
A:58.8.168.181 X:
]