โครงการแก้ไขความยากจน (กข.คจ.)
โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ความหมายของตราสัญลักษณ์
เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่สำคัญ ที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้คนยากจนในชนบทระดับ ครอบครัวมีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ได้ด้วยความสดใส รุ่งโรจน์(สีส้ม) มีความร่มเย็น เป็นสุข(สีเขียว) และพึ่งตนเองได้ในระดับครัวเรือน ตามแนวเศษฐกิจพอเพียง และเป็นฐานของชุมชนที่ เข้มแข็งตลอดไป
ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 1 (2536 - 2540) โดยมอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ จำนวน 18,608 หมู่บ้าน ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 1 ตามข้อมูล กชช.2 ค ปี 2533 ผลจากการดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1 เป็นที่น่าพอใจ คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบในหลักการของโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2 ปี 2541 - 2544 จำนวน 28,038 หมู่บ้าน โดยดำเนินการในหมู่บ้านที่มีครัวเรือนยากจนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2539
วัตถุประสงค์
1. เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจน ระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) หรือ มากกว่า 15,000 บาท/คน/ปี
วิธีการดำเนินงาน
1. กำหนดหมู่บ้านและครัวเรือนยากจนเป้าหมายทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นตัวกำหนด
2. อำเภอและจังหวัด จัดทำบัญชีเรียงลำดับหมู่บ้านเป้าหมาย ไว้สำหรับสนับสนุนงบประมาณ ตามจำนวนหมู่บ้านที่ได้รับการจัดสรรของแต่ละปี/จังหวัด
3. จัดการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมองค์กรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการเงินทุนและประชาชนในหมู่บ้าน ระยะเวลา 3 วันงบประมาณ 10,000 บาท ในรูปเวทีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน
4. การบริหารจัดการเงินทุนให้คณะกรรมกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน เป็นผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน 1 คณะ จำนวน 7 - 9 คน อยู่ในวาระ 3 ปี
5. สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ จำนวน 280,000 บาท ให้หมู่บ้าน โดยเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหมู่บ้านเพื่อคณะกรรมการกองทุนฯ ของหมู่บ้านรับผิดชอบบริหาร/จัดการ และมีอำนาจจัดลำดับครัวเรือน อนุมัติติดตาม ตรวจสอบ จัดทำเอกสารบัญชี การรับคืนเงินยืม การหมุนเวียนการยืมให้กับครัวเรือนในครั้งต่อไป และการรายงานผลการดำเนินงาน
6. ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย เสนอโครงการยีมเงินตามประเภทอาชีพที่กำหนด และระยะเวลาคืนเงินไม่เกิน 5 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย
7. คณะกรรมการกองทุนน ของหมู่บ้านโอนเงินอนุมัติให้ยืมเข้าบัยชีเงินฝากธนาคารของครัวเรือน เพื่อไปประกอบอาชีพ
8. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ทุกระดับเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม กำกับ ดูแล ช่วยเหลือการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และครัวเรือนเป้าหมาย โดยต่อเนื่อง
อ่านต่อได้ที่
http://www.geocities.com/sarakham2000/Kkkj.html
เสียดาย ปชป และชวน น่าจะหัดสร้าง ภาพ มากกว่านี้หน่อย จ้างล๊อบบี้ ยิสสักเจ้าสองเจ้า ท่าทางจะเข้าท่าดี อิอิ
แก้ไขเมื่อ 02 มี.ค. 52 04:21:14
จากคุณ :
ระดับโลก
- [
2 มี.ค. 52 04:15:54
A:58.9.113.2 X:
]