Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    เนื้อหาคำอธิปราย เหลิม อย่างละเอียด

    นายกฯ มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ
    ขาดจริยธรรมและคุณธรรม
    มีการกระทำที่ผิด
    ต่อกฏหมาย

    เนื้อหาคำอภิปราย
    กล่าวหา นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจที่จะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ขาดจริยธรรมและคุณธรรม  มีการกระทำที่ผิด
    กฎหมาย  กล่าวคือ

    1.  ความผิดครั้งแรกในช่วงระหว่างวันที่  12  กรกฎาคม  2547  ถึงวันที่  2  กุมภาพันธ์  2548  พรรค ปชป. โดยผู้บริหารระดับสูงของพรรค  ปกปิด  ซ่อนเร้น  การรับเงินสนับสนุนทางการเมืองจากบริษัท ทีพีไอฯ  จำนวน 27 ครั้ง  รวมเป็นเงิน  261,436,000 ล้านบาท  อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายพรรคการเมือง

    2.  ความผิดครั้งที่สอง ในช่วงระหว่างวันที่  10 มกราคม 2548  ถึงวันที่ 11  มกราคม  2548  พรรค ปชป.ได้รับเงินสนับสนุนโครงการจัดทำแผ่นป้าย
    โฆษณาประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งจากคณะกรรมการ กกต.  จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 29 ล้านบาท  แต่ไม่นำเงินดังกล่าวไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กลับปกปิด  เบียดบัง เอาเงินสนับสนุนบางส่วน จำนวน 18 ล้านบาทเศษ ไปให้ลูกพรรคเป็นการส่วนตัว ผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ในขณะเกิดเหตุ คือ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ปชป. มีส่วนรับรู้ด้วย  นอกจากนั้นเมื่อนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ปชป. ยังได้จัดทำงบดุลและงบการเงินประจำปี 2547 และ 2548  ของพรรค ปชป. ปกปิดรายงาน
    การรับบริจาคเงิน และแจ้งการใช้จ่ายเงินดังกล่าวอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการกกต.อีก  อันเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุกและให้ยุบพรรคการเมืองได้
    พฤติกรรมการกระทำทั้งสองกรณีดังกล่าว  ผู้บริหารพรรค ปชป.ได้ใช้บริษัท MSA เป็นตัวเชื่อมข้อกลางระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับพรรค ปชป.
    และระหว่างพรรค ปชป. กับ บริษัทผู้รับจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์  โดยได้จัดทำสัญญาเทียมเป็นนิติกรรมอำพรางให้บริษัท MSA เป็นผู้รับจ้างโดย
    ไม่มีการจ้างจริง  แต่เป็นตัวช่วยฟอกเงินให้  โดยเป็นผู้รับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯและจากพรรค ปชป. จำนวน 261,436,000 บาท และ 29 ล้านบาท ตามลำดับ  แล้ว  บริษัท MSA จะใช้วิธีเบิกเงินสดจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขารังสิต  จำนวนครั้งละไม่เกิน  2  ล้านบาท  (เพราะการทำธุรกรรมโอนเงินถอนเงินครั้งละเกิน  2  ล้านบาท  ธนาคารพาณิชย์จะต้องรายงานแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)  แล้วถือเงินสดไปให้ผู้บริหารพรรค ปชป.บ้าง , ลูกพรรค ปชป.บ้าง
    อีกวิธีหนึ่ง คือ บริษัท MSA จะโอนเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้อง หุ้นส่วนแพปลาหุ้นส่วนศูนย์การค้าใหญ่  บริวารคนสนิท  เช่น คนขับรถ   คนรับใช้ของนักการเมือง  ผู้บริหารพรรค ปชป.ทางภาคใต้และกรุงเทพมหานครบ้าง  โดยมีเอกสารหลักฐานรายละเอียดการเบิกเงิน  การถอนเงิน  การโอนเงินของบริษัท MSA เป็นใบนำฝากเงิน (สลิป) ของธนาคารกสิกรไทย  สาขารังสิตที่เกี่ยวข้องทั้งสองเรื่องนี้  จำนวน 75 ฉบับ และสลิปบางฉบับยังปรากฏหมายเลขแฟ็กซ์ของพรรค ปชป.อีกด้วย คือ FAX 02-270-2521 ด้วย เพื่อให้เนื้อหาการอภิปรายกระชับ และเข้าประเด็นสำคัญ  จึงจำเป็นต้องเอ่ยชื่อบริษัทที่รับทำหน้าที่ฟอกเงินให้กับผู้บริหารพรรค ปชป. คือ บริษัท MSA ที่มาของบริษัท MSA    MSA กำเนิดขึ้นที่พรรคประชาธิปัตย์โดยก่อนจดทะเบียนตั้งบริษัท มีบุคคลคนหนึ่งชื่อ นายประจวบ  สังขาวประกอบอาชีพรับจ้างทำแผ่นสติ๊กเกอร์หาเสียงให้กับ ส.ส.ภาคใต้ของพรรคปชป. มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539  จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารพรรค
    ปชป. อนุญาตให้มาเปิดสำนักงานสาขาที่ชั้นล่างของพรรค ปชป.  ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2543  มีงานพิมพ์โฆษณาเข้ามามากขึ้น  นายประจวบฯ ได้หารือกับนายสุพัฒน์  ธรรมเพชร ส.ส.จังหวัดพัทลุง พรรค ปชป. และนายไทกรพลสุวรรณ  เลขานุการของนายสุพัฒน์ฯ  ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดคุ้นเคย สนิทสนมกันมา ให้เข้ามาร่วมลงทุนตั้งบริษัทรับงานทำป้ายและแผ่นพับโฆษณาหาเสียง
    เลือกตั้ง  เพราะในขณะนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองและพรรคการเมืองจะต้องยื่นหลักฐานการใช้จ่ายเงิน แจ้งต่อ กกต.  จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดตั้งบริษัทรองรับ  เพื่อออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีในกรณีรับจ้างพรรค ปชป. จัดทำป้ายโฆษณาหาเสียง  เพื่อให้พรรค ปชป.
    นำไปแสดงต่อคณะกรรมการ กกต. ว่ามีการจ้างจริง แต่เนื่องจากนายสุพัฒน์ฯ ขณะนั้นยังเป็น ส.ส.พัทลุง จึงได้ส่ง น.ส.สุพัชรีธรรมเพชร  บุตรสาวเป็นผู้ถือหุ้น และกรรมการบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งนายไทกร  พลสุวรรณ  เลขานุการของนายสุพัฒน์ฯ ด้วย  นายประจวบฯได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทชื่อ “บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด”  เมื่อวันที่  30  ตุลาคม  2543  โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาทนายประจวบฯ ถือหุ้น 29,000 หุ้น  นางสาว วลัยลักษณ์  ประสงค์ (เมียนายประจวบฯ)  ถือหุ้น 10,000 หุ้น  น.ส.สุพัชรี  ธรรมเพชร (บุตรสาวนายสุพัฒน์ฯ)ถือหุ้น 20,000 หุ้น  นายไทกร  พลสุวรรณ (เลขานุการนายสุพัฒน์ฯ)  ถือหุ้น1,000 หุ้น  ในช่วงระหว่างวันที่ 30  ตุลาคม  2543 – 12  มีนาคม  2544  บริษัท
    MSA  เริ่มตั้งใหม่มีกรรมการบริษัท  7 คน  อาทิเช่น  นายประจวบ  สังขาวนางสาววลัยลักษณ์  ประสงค์ (เมียนายประจวบฯ)  น.ส.สุพัชรี  ธรรมเพชรนายไทกร  พลสุวรรณ  ต่อมาได้มีการเปลี่ยนกรรมการหลายครั้ง  แต่ก็มีนายประจวบฯ  เป็นกรรมการบริษัทตลอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยนายประจวบฯเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทด้วย ในระยะเริ่มแรกระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึงกลางปี พ.ศ. 2547  MSA มีรายได้จากการประกอบธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์จากพรรค ปชป.  ส.ส.ของพรรค ปชป. เช่น  ต้นปี พ.ศ. 2547  รับทำป้ายหาเสียงให้กับนายนวพล
    บุญญมณี  น้องชายของนายนิพนธ์  บุญญามณี  ส.ส.สัดส่วนของพรรค ปชป.ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  แต่รายได้จากการรับจ้างโฆษณาดังกล่าวมีไม่มากนัก
    MSA ได้ยื่นแบบรายการงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้าในช่วงปี
    พ.ศ. 2543 – 2546  ว่ามีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย  ดังนี้
    ปี  2543 มีรายได้ 5,220,999.10 บาท
    ปี  2544 มีรายได้ 9,315,128.88 บาท
    ปี  2545 มีรายได้ 6,513,795.54 บาท
    ปี  2546 มีรายได้ 8,242,627.60 บาท
    (โดยเฉลี่ย  4  ปี  มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเพียงปีละ  7  ล้านบาท)

    มูลเหตุที่บริษัท MSA  เข้ามารับจ้างทำสัญญาเทียมเป็นนิติกรรมอำพราง  ฟอกเงินให้กับบริษัท ทีพีไอฯ  และพรรค ปชป.  รวมทั้งผู้บริหารของพรรค ปชป. เกิดจากในช่วงปี   2547  ได้เกิดวิกฤตทางการเมือง  โดยกลุ่มพันธมิตรชุมนุมประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตรนายกรัฐมนตรี  ประกอบกับบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน
    จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์   ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ  จากมาตรการลอยตัวค่าเงินบาท  ทำให้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงิน  มีหนี้สินเพิ่มขึ้น  130,000  ล้านบาท  ในปี พ.ศ. 2546  ศาลล้มละลายกลางแต่งตั้งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ  นายประชัย  เลี่ยวไพรัตน์กรรมการคนหนึ่งของบริษัท ทีพีไอฯ ต้องการซื้อกิจการคืน  โดยจะร่วมทุน
    กับกลุ่มธุรกิจประเทศจีน  แต่ไม่ประสบความสำเร็จ  อันเป็นมูลเหตุหนึ่งทำให้นายประชัยฯ จำเป็นต้องเข้าสู่การเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม  เพื่อรักษาทรัพย์สินของบริษัท ทีพีไอฯ  ด้วยการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรค ปชป.   นายประชัย   เลี่ยวไพรัตน์   นายเอกยุทธ  อัญชันบุตร  นายอัมรินทร์  คอมันตร์  ได้เคยเข้าไปพรรค ชป.หลายครั้ง
    ในราวกลางปี  2547 นายประจวบ  สังขาว  ได้ไปพบนายนิพนธ์  บุญญามณี ที่โรงแรมเพรสซิเด้นท์  สี่แยกราชประสงค์ ณ ที่นั้น  ยังได้พบนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์    และนายประดิษฐ์    ภัทรประสิทธิ์    ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ปชป   และยังได้พบลูกพรรค ปชป.สายภาคเหนืออีกหลายคนรับประทานอาหารกันอยู่กับนายนิพนธ์ บุญญามณี  มีการแนะนำ
    ตัวให้นายประชัยฯ รู้จักกับนายประจวบฯ ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจสื่อโฆษณา  จัดทำแผ่นป้ายหาเสียงให้พรรค ปชป.  หลังจากนั้นไม่นานนายประจวบฯ ก็
    ไปพบและรู้จักกับนายธงชัย   คลศรีชัย    ซึ่งเป็นสมาชิกพรรค ปชป. และเป็นเลขานุการส่วนตัวนายประดิษฐ์   ภัทรประสิทธิ์  และติดตามนายประดิษฐ์ฯ
    เข้า – ออกพรรค ปชป.ทุกครั้ง  นายธงชัย  คลศรีชัย  ชื่อนี้คนในพรรค ปชป. อาจจะไม่รู้จัก  แต่ถ้าบอกว่าชื่อนายทีซี  รับรองคนในพรรค ปชป.รู้จักหมด  
    นายธงชัย  คลศรีชัย  เป็นลูกน้องสาวพ่อนายประดิษฐ์ฯ (โดยนางเยาวลักษณ์ฯ แม่นายธงชัยฯเป็นน้องสาวนายวิศาลฯ พ่อนายประดิษฐ์  ทั้งสองมีบิดามารดา
    คนเดียวกัน  คือนายจุยกิม  และนางเฮี๊ยะ)  นายธงชัยฯ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับนายวิรัตน์  ภัทรประสิทธิ์  คือ บ้านเลขที่  119/12  หมู่ 3  ตำบลหัวดง  อำเภอเมือง  จังหวัดพิจิตร  นายธงชัยฯ ได้แจ้งให้นายประจวบฯ ทราบว่าจะมีงานโฆษณาจากบริษัท ทีพีไอฯ ให้ทำ   หลังจากนั้นไม่นานช่วงเดือนกรกฎาคม  2547  เลขานุการส่วนตัวของนายประชัยฯ  ชื่อนายสมควรได้ติดต่อมายังนายประจวบฯ ให้ไปทำสัญญารับจ้างโฆษณากับบริษัท ทีพีไอฯ สำหรับเงื่อนไขรายละเอียดการทำงานรวมทั้งการรับ – จ่ายเงิน  นายธงชัย  คลศรีชัย  จะเป็น
    ผู้กำหนด  ส่วนนายประจวบฯ มีหน้าที่ให้ญาติพี่น้องและคนสนิทไปเปิดบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทย  ตามสาขาต่าง ๆ เพื่อรองรับการฟอกเงิน บริษัท ทีพีไอฯ  โดยนายประชัย  เลี่ยวไพรัตน์  กรรมการบริษัท  ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท  MSA ให้จัดทำประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้า ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทีพีไอฯ ทั้งสิ้น  รวม  8  โครงการ  จำนวน  8  สัญญา
    เป็นจำนวนเงินประมาณ  248,900,000  บาท  ดังนี้
    1.  โครงการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ  เป็นเงิน  19,800,000  บาท
    2.  โครงการผลิตโปสเตอร์และของชำร่วย  เป็นเงิน  27,500,000  บาท
    3.  โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยป้ายโฆษณา  เป็นเงิน
          28,600,000  บาท
    4.  โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยสื่อโทรทัศน์  ตามสัญญาลงวันที่
         15  ธันวาคม  2547  เป็นเงิน  33,000,000  บาท
    5.  โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยหนังสือพิมพ์  ตามสัญญาลงวันที่
         15  ธันวาคม  2547  เป็นเงิน  18,500,000  บาท
    6.  โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยรถตระเวน  ตามสัญญาลงวันที่  
        15  ธันวาคม  2547  เป็นเงิน  28,500,000  บาท
    7.  โครงการจัดการส่งเสริมกิจกรรมการตลาดและประชาสัมพันธ์
        ผลิตภัณฑ์  ตามสัญญาลงวันที่  15  ธันวาคม  2547  เป็นเงิน
        30,000,000  บาท
    8.  โครงการที่ปรึกษาและวางแผนการประชาสัมพันธ์  ตามสัญญาลงวันที่
        25  มกราคม  2548  เป็นเงิน  65,000,000  บาท
    (สัญญาฉบับที่  8  หลังสุดเป็นเงินจำนวนมาก  เพราะใกล้เลือกตั้งทั่วไป
    วันที่  6  กุมภาพันธ์  2548
    รวมสัญญาจ้าง  8  โครงการ  เป็นเงินทั้งสิ้น  248,900,000  บาท
    (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 17.5 ล้านบาท)

    จากคุณ : หนุ่มใหญ่ปะแป้ง - [ 19 มี.ค. 52 17:11:38 A:58.8.231.93 X: ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป


Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com