http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun01190452§ionid=0140&day=2009-04-19
วนัญญา สมาธิ ว่าที่บัณฑิตรุ่นแรก "หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน"จากอิตาลี
โดย สุรเชต เพชรน้ำไหล
เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เธอก็ต้องบินลัดฟ้าสู่ประเทศอิตาลีทันที
ความรู้สึกของหญิงสาวในตอนนั้น เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ด้วยนี่เป็นครั้งแรกที่ต้องจากบ้านเกิดไปอาศัยอยู่ยังถิ่นอื่นเนิ่นนาน ทั้งยังเป็นดินแดนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารอย่างที่เธอ คุ้นเคย
เธอบอกว่า "เครียด และกดดัน (พอสมควร)"
ภาพสวนยาง วิถีชีวิตชาวบ้าน อ.นายูง จ.ตรัง ถูกแทนที่ด้วยตึกรามสูงใหญ่ ผู้คนมากมาย และภาษาพูดไม่คุ้นหู แต่ทว่าความไม่คุ้นชินนี้ก็ไม่ได้ทำให้เธอทดท้อ งอแง ร้องไห้ ถอดใจจนต้องเดินทางกลับบ้านเกิดก่อนจะสำเร็จการศึกษา
"ทั้งที่ก่อนหน้านั้น เคยมีข่าวคราว "เด็กทุน" โครงการเดียวกันนี้เครียดจัดถึงขั้นฆ่าตัวตายมาแล้ว"
"" วนัญญา สมาธิ"" วันนี้ในวัย 24 ปี กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เอกการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัย Tor Vrgata ประเทศอิตาลี ตามโครงการ "หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน" (One Dicstrict One Scholarship:ODOS) ทุนซึ่งรัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้แก่นักเรียนผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้รับคัดเลือกจากทุกอำเภอ กิ่งอำเภอ ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา แต่มีผลการเรียนและมีความประพฤติดี ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ
โดยเฉพาะใน ต่างประเทศนั้น ต้องเป็นกลุ่มประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เป็นต้นว่า เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, จีน, ญี่ปุ่น และอิตาลี เป็นต้น ปัจจุบันมีนักเรียนทุน ODOS แล้วจำนวน 2 รุ่น
วนัญญา คือ "เด็กทุน ODOS" รุ่นแรก (ปี พ.ศ.2547) เลือกประเทศอิตาลี เป็นคำตอบสุดท้ายของการเรียนปริญญาตรี
หญิง สาวมีพ่อชื่อ "นายเขื่อง สมาธิ" (เสียชีวิตแล้ว) และ "นางวารี สมาธิ" ประกอบอาชีพทำสวนยาง เฉกเช่นชาวบ้านแถบปักษ์ใต้ทั่วไป ก่อนหน้าที่จะเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างแดน วนัญญาเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาที่โรงเรียนเพาะปัญญา และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย ที่โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาพิมุข ซึ่งเมื่อเรียนจบได้ทุนก็มุ่งตรงสู่แดนมะกะโรนีทันที
แม้จะลังเลใจกับการต้องใช้ชีวิตยังถิ่นที่ไม่เคยรู้จัก แต่สาวใต้ตาคมก็บอกว่า...
" เมื่อโอกาสมาถึงแล้ว ควรจะฉวยไว้ และทำให้เป็นประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุด ทั้งที่โดยใจลึกๆ อยากอยู่ใกล้กับพ่อแม่ เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกันเท่าไหร่ ท่านต้องไปกรีดยางยังสวนที่อยู่ไกลจากบ้าน
"แต่คิดดูแล้ว เห็นว่าแต่เมื่อโอกาสมาถึง ประกอบกับที่ทุกวันนี้เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น พูดคุย ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น จึงตัดสินใจมาเรียนต่อ จนทุกวันนี้" วนัญญาเล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ
แน่ล่ะ เพราะอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เธอก็จะคว้าใบปริญญากลับไปให้คนที่บ้านได้ชื่นชมแล้ว
"แต่อย่ามองเพียงแค่ความสำเร็จ เพราะ "ระหว่างทาง" ของหญิงสาวผู้นี้มีเรื่องน่าสนใจ"
ทำไมถึงได้มาเรียนต่ออิตาลี?
เริ่ม แรกเลยคือ ครูแนะแนวที่โรงเรียน ร.ร.สวัสดิ์รัตนาพิมุข อ่านข่าวพบเรื่องโครงการ "หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน" และแนะนำให้ลองสมัครดู มีหลักเกณฑ์คือ ต้องเป็นนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป คือเรียนดี มีฐานะยากจน
จากนั้นจะมีการสอบภาษาอังกฤษ ได้แล้วจะคัดเลือกนักเรียนจากการสอบข้อเขียนมา 3 คน เพื่อทำการสัมภาษณ์เหลือเพียง 1 คน โดยผู้ที่ได้สิทธินี้ จะต้องมีอาจารย์และนายอำเภอรับรองทุกอย่าง เพื่อตรวจสอบว่าพ่อแม่ยากจนจริงมั้ย เงินเดือนพ่อแม่รวมกันแล้วไม่เกิน 2 แสนบาทจริงหรือเปล่า ทุนนี้จะให้เราเลือกว่าจะเรียนในประเทศหรือต่างประเทศ และเลือกเรียนสาขาไหนก็ได้
เลือกเรียนต่างประเทศ แล้วชีวิตช่วงแรกเป็นอย่างไร?
เพราะ มีแรงบันดาลใจจากอาจารย์ ท่านอยากลุ้นว่าลูกศิษย์คนนี้จะเรียนจบจากต่างประเทศมาได้หรือเปล่า เลยเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัย TOR VRGATA ในกรุงโรม เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ซึ่งตอนแรกพ่อกับแม่ก็รู้สึกเสียใจ เพราะต้องจากกันไกล แต่เมื่อเห็นว่านี่เป็นโอกาสดีของเราก็เลยไม่ได้ว่าอะไร
มา ตอนแรกก็รู้สึกเหงาเป็นธรรมดา เพราะว่าการอยู่อิตาลีเหมือนเป็นอีกโลกหนึ่ง เพราะไม่รู้จักเลยว่าภาษาอิตาลีเป็นอย่างไร ไม่เคยเรียนภาษาอิตาลีมาจากเมืองไทยเลย เริ่มนับหนึ่งที่นี่ เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะโครงสร้างภาษานั้นแตกต่างกันมาก และแตกต่างจากภาษาอังกฤษด้วย เพราะภาษาอิตาลีมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน
นักศึกษาทุน "โอดอส" (ODOS) เลือกเรียนที่อิตาลีเยอะมั้ย?
ประมาณ 50 คน เรียนที่โรมบ้าง มิลานบ้าง โบโลญญ่าบ้าง กระจายไปตามหลักสูตร และแผนการเรียน โดยในปีแรก พวกเราจะเรียนภาษาอิตาลีทั้งปีเลย จากนั้นก็สอบเข้ามหาวิทยาลัย คนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัย แล้วรู้สึกว่าไปไม่ไหว ขอกลับไปเมืองไทยก็มีหลายคนเหมือนกัน
ที่ สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ก็มี สำหรับตัวเอง พอสอบเรียนต่อได้แล้ว ตอนแรกมาพักอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ที่ทางสถานทูตไทยจัดให้ อยู่เฉพาะเด็กไทยในกรุงโรม ราว 3 เดือน แล้วหลังจากนั้น ใครประสงค์ที่จะอยู่ต่อ หรือใครจะไปหาเช่าบ้านอยู่เองก็แล้วแต่ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายค่าที่พักให้
ตัดสินใจออกไปเช่าบ้าน?
อยาก ออกไปใช้ชีวิตให้เข้มแข็งกว่านี้ เพราะเวลาอยู่กับเพื่อน จะรู้สึกว่าเราต้องมีเพื่อน ให้สามารถพึ่งพิงได้ แต่ถ้าเราไปอยู่คนเดียว แล้วห้องข้างๆ เป็นคนอิตาเลี่ยน เราจะมีโอกาสเจอหน้า ทักทาย หาเรื่องคุย ดูหนัง ทำกิจกรรมร่วมกับเขา อยากพิสูจน์ว่าเราจะอยู่กับสังคมเขาได้ไหม จึงเริ่มหาที่อยู่ใหม่โดยการโทรศัพท์ถาม
คือที่นี่จะมีหนังสือ พิมพ์สำหรับหาบ้านเช่า ซึ่งก็จะเป็นบ้านที่มีครอบครัวเขาอยู่แล้ว แต่มีห้องว่างให้เราเช่า ก็ต้องถามว่าบ้านของคุณรับไหม เป็นนักศึกษาต่างชาติ
พอเขานัดไปดูบ้าน ถ้าเราชอบก็ตกลง ทำสัญญาเช่า อย่างน้อย 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็แล้วแต่ เช่าห้องหนึ่ง แล้วก็แชร์ห้องน้ำ ห้องครัว ร่วมกันกับครอบครัวที่ไปเช่าอยู่ อ้อ! ที่ต้องระวังคือเรื่องการทำอาหาร เพราะเขาอาจจะไม่คุ้นเคยกับกลิ่นอาหารแปลกๆ แบบของบ้านเรา (หัวเราะ)
ได้ อยู่กับครอบครัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก คือ เขาพยายามที่จะดึงเราให้เกี่ยวกับครอบครัวเขา เช่น เทศกาลคริสต์มาสเขาทำอะไรกันบ้าง วันเด็กที่นี่เขาทำอะไรกันบ้าง ก็พยายามจะให้มีส่วนร่วมในวัฒนธรรมนั้น เขากินอะไรกัน เขาทำอะไรกัน ก็ชวนกันมา ในทางกลับกัน เราก็จะทำอาหารไทย ชวนเขากิน แต่บางครอบครัวก็อาจไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับผู้เช่า
(มีต่อ)
จากคุณ :
tonytui
- [
19 เม.ย. 52 12:34:11
A:118.174.5.97 X:
]