บุคคลเหล่านี้ปรากฏตัวขึ้นในการสลายการชุมนุมด้วยแกสน้ำตา ด้วยอาการทุรนทุราย
รับไม่ได้ต่อความโหดร้ายที่เกิดขึ้นจากการสลายการชุมนุม
แต่หลังจากมีการสลายการชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม บุคคลเหล่านี้กลับหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
หากผู้ใดมีเบาะแส ช่วยแจ้งด้วยครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
รพ.จุฬางดตรวจรักษาตร.เจ็บจากเหตุสลายม็อบ
นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ แพทย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลังจากที่กลุ่มอาจารย์แพทย์ พยาบาล และแพทย์ประจำบ้านของโรงเรียนแพทย์ 8 สถาบัน ประกอบด้วย คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาสงขลานครินทร์ ออกแถลงการณ์ ประณามตำรวจ และผู้สั่งการที่สลายการชุมนุม อย่างไร้มนุษยธรรม ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ต.ค.คณะแพทย์จากโรงบาลพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้งดตรวจและรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการทางสังคมที่เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นว่าแพทย์และพยาบาลไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่รุนแรงเกิดเหตุของผู้บริหารประเทศ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ
http://www.giggog.com/politic/cat3/news17884/
สภาทนายความออกแถลงการณ์ให้ตร.ยุติใช้กำลังปชช.
สภาทนายความออกแถลงการณ์ประณามเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. โดยมีข้อร้องเรียน คือ ถ้าเรื่องที่มีความเห็นทางกฎหมาย ที่ฝ่ายการเมืองเห็นว่า ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดยังจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยถามถึงความสง่างามของพรรคการเมือง
นอกจากนี้ สภาทนรายความ ยังแสดงความเสียใจที่เจ้าหน้าที่แก๊สน้ำตายิงใส่ฝูงชนจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย บางรายถึงขั้นขาขาดย ดังนั้น จึงขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สั่งระงับการดำเนินการอย่างใดที่ใช้กำลังเพื่อปะทะกับประชาชนที่ชุมนุมคัดค้าน ที่ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล
http://www.giggog.com/politic/cat3/news17759/
40 ส.ว.ร้องยูเอ็นให้รบ.หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชนสลายการชุมนุมพันธมิตร
40 ส.ว.ยื่นจดหมายถึงยูเอ็น ช่วยหยุดยั้งรัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย จากเหตุตร.สลายการชุมนุม สหภาพฯกฟผ.เล็งตัดไฟ สำนักงานตำรวจ ส่วน สร.กฟน.ประกาศไม่เลือกอยู่ข้างใคร ยันไม่ตัดไฟทำชาวบ้านเดือดร้อน พนักงานสอบสวนออกแถลงการณ์บ้าง บอกยินดีรับแจ้งความจากคนทุกสาขาอาชีพ ย้อนหมอประกาศไม่รักษาพยาบาล ตร. 40ส.ว.ร้องยูเอ็นรบ.ละเมิดสิทธิฯ
http://www.giggog.com/politic/cat3/news18146/
หมอชนบทต้านรัฐสลายผู้ชุมนุม ขู่ถ้าใช้กำลังยกพลเข้ากรุงทันที
(2มิย.) ชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกแถลงการณ์ประณามการใช้ความรุนแรงของรัฐบาล ที่มีต่อประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ ดังนั้นทางชมรมแพทย์ชนบท ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม และหากมากการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นสมาชิกชมรมแพทย์ที่อยู่ในพื้นที่ชนบท จะรวมกลุ่มเดินทางเข้าสมทบกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อเข้าไปดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ ปัญหาทั้งหมดเริ่มต้นจากความเห็นผิดของรัฐบาล ในการคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
http://www.giggog.com/politic/cat3/news12272/
พนง.กฟผ.แต่งชุดดำประณามรบ. - ไว้อาลัยผู้เสีย 7 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) บางกรวย จำนวนมากได้แต่งกายด้วยชุดสีดำมาทำงาน เพื่อประณามการกระทำของรัฐบาลในการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา และเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ จากการสอบถามพนักงานกฟผ. พบว่าส่วนใหญ่จะแต่งชุดดำมาทำงานจนครบ 7 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้ผู้ที่เสียชีวิตและเป็นการประณามการกระทำของรัฐบาล และไม่ให้มีเหตุการณ์อย่างในครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
http://www.giggog.com/politic/cat3/news18083/
มข.ขู่ถอนเงินจากแบงก์บีบรัฐยุติความรุนแรง
กลุ่มนักวิชาการ ม.ขอนแก่น ออกแถลงการณ์ประณามเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงสลายกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมขู่ใช้วิธีอารยะขัดขืนทางเศรษฐกิจ รณรงค์ให้บุคลากร-นักศึกษาถอนเงินออกจากธนาคารทุกแห่ง หวังบีบรัฐยุติใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม
http://www.giggog.com/politic/cat3/news15174/
ปธ.กก.สิทธิฯประณามรบ.สลายม็อบ เตรียมสอบข้อเท็จจริง
นายเสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวภายหลังเข้าเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอประณามการกระทำที่รุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และรัฐบาลย เนื่องจากส่งผลให้ประชาชนที่ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก พร้อมเร่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าว และจะเสนอรายงานต่อรัฐบาล รัฐสภา และเผยแพร่ต่อประชาชน ซึ่งการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบในเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องเรียน เนื่องจากถือว่า เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง
http://www.giggog.com/politic/cat3/news17779/
นักก.ม.จวก ตร.เจตนาไม่สุจริต...ยากพ้นผิด!
การที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งผิดหลักปฏิบัติสากลที่จะต้องใช้มาตรการจากเบาไปหนัก คือ ต้องเริ่มจากกระบอง-โล่ และน้ำก่อนเป็นแก๊สน้ำตา รวมทั้งการยิงแก๊สเข้าใส่ผู้ชุมนุมตรงๆ
แทนที่จะยิงด้วยวิถีโค้งทำให้เกิดข้อกังขาในเจตนาตำรวจเป็นอย่างมาก
ไม่นับ อาวุธปริศนา ที่มีอานุภาพรุนแรงถึงขั้นทำให้ขา-แขนขาด และทำให้มีคนตายไป 1 ศพ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า จะเป็นแก๊สน้ำตาอย่างที่ตำรวจกล่าวอ้างอย่างแน่นอน !!
กระแสสังคมที่รุมถล่มตำรวจอย่างหนักหน่วงเช่นนี้ ด้านหนึ่งก็เรียกร้องให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี รีบๆ ลาออกเสีย ในฐานะที่เป็นคนสั่งการให้ตำรวจสลายการชุมนุม แต่อีกด้านหนึ่งก็กระเหี้ยนกระหือรือที่จะใช้ กฎหมาย เข้าจัดการเป็นดาบต่อไปด้วย
อ.คมสัน โพธิคง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 50 นิยามปรากฏการณ์สั้นๆ ว่า
นี่มันไม่ใช่การสลายการชุมนุม...มันเป็นการพยายามฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
โดยเฉพาะภาพ ชายชุดดำ สวมฮู้ด ซึ่งยืนอยู่ในแถวตำรวจ โดยก่อนที่ตำรวจจะใช้แก๊สน้ำตา ชายคนดังกล่าวได้วิ่งออกไปหน้าแถวของตำรวจและปาระเบิดออกไป ก่อนจะเกิดเหตุระเบิดขึ้นกลางกลุ่มผู้ชุมนุมจนมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึงขั้นขาขาด
นอกจากนี้ในระหว่างที่ตำรวจใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผุ้ชุมนุม ชายชุดดำก็ปะปนอยู่ในแถวของตำรวจตลอดเวลา
กรณีนี้แม้ตำรวจจะอ้างว่าเป็นฝีมือของ มือที่สาม แฝงเข้ามาก่อเหตุ แต่ตำรวจก็ต้องรับผิดชอบอยู่ดีที่ปล่อยให้มีบุคคลภายนอกปะปนเข้ามาภายใต้ความดูแลของตำรวจ
ดังนั้น ชัดเจนว่าการกระทำในครั้งนี้เข้าข่าย พยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 218 ซึ่งคนที่สั่งการ รวมทั้งนายตำรวจที่บัญชาการอยู่ในภาคสนาม และคนที่ปาระเบิดเข้าไปจะต้องมีส่วนรับผิดชอบทั้งหมด
ส่วนกรณีที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตายิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนักก็ส่อให้เห็นว่า มี เจตนาไม่สุจริต และเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยหน้าที่
ฝ่ายที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบอย่างชัดเจน คือ นายตำรวจระดับสูงตั้งแต่ ผบ.ตร. ผบช.น. และนายตำรวจที่บัญชาการอยู่ในภาคสนามเพราะนายตำรวจชั้นผู้น้อยคงหยิบอาวุธไปใช้เองไม่ได้
แต่ถ้าจะสาวไปถึงระดับ นายกฯ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด เขาก็ยอมรับว่า คงหาหลักฐานยาก เพราะคงไม่มีใครทิ้งใบเสร็จไว้ แต่นายกฯ ก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบทางการเมือง
ถ้าเป็นในต่างประเทศ เขาลาออกไปนานแล้ว อดีต ส.ส.ร.ปี 50 กระทุ้งแรงๆ
นคร ชมพูชาติ รองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ชี้ว่าความผิดชัดเจนน่าจะเป็น ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 รวมทั้งข้อหา ทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่า และ ฆ่าคนตาย เป็นต้น
ส่วนขั้นตอนการเอาผิดตามกฎหมายก็จะต้องไปไล่ดูว่าใครเป็นผู้สั่งการตามลำดับชั้น ส่วนที่ตำรวจอ้างว่า ทำเพื่อป้องกันตัวเอง หรือป้องกันสถานที่คงฟังลำบาก เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่กับที่เฉยๆ และไม่ได้ก่อความรุนแรงใดๆ ก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุม
โดยการดำเนินคดีนี้อาจเทียบเคียงได้กับเหตุการณ์การสลายผู้ชุมนุมคัดค้านการก่อสร้างแนว ท่อก๊าซจะนะ จ.สงขลา ซึ่งตำรวจเข้าสลายการชุมนุมเพื่อให้มีการประชุมในโรงแรมโดยสะดวก
ครั้งนี้ก็คล้ายๆ กัน คือ ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลสามารถเดินทางเข้าสภาไปแถลงนโยบาย
สรุปว่า ในทางคดีน่าจะเอาผิดตำรวจได้ไม่ยาก แต่ถ้าจะสาวไปถึงระดับนายกฯ คงทำได้ลำบาก ถ้าไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ถึงอย่างไรนายกฯ ก็ควรแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองตั้งแต่แรกแล้ว
สำหรับผู้เสียหายทางคดีสามารถมาร้องเรียนขอรับความช่วยเหลือได้ที่สภาทนายความ
ขณะที่ นางสุนีย์ ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า ในเบื้องต้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะมีการตั้ง อนุกรรมการเฉพาะกิจ เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ
ขณะนี้กำลังทาบทามนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เช่น ด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ รวมทั้งแพทย์ผู้ทำการรักษาผู้บาดเจ็บ สื่อมวลชน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธจากสถาบันต่างๆ มาร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย
โดยมีประเด็นที่จะต้องตรวจสอบ เช่น มีการใช้ความรุนแรงแค่ไหน อย่างไรต่อผู้ชุมนุม มีการกระทำอะไรบ้างที่เข้าข่ายกระทำผิดหลักปฏิบัติสากลทั่วไปในการสลายการชุมนุม หรือมีข้อบกพร่องตรงไหนในการชุมนุมหรือไม่ เป็นต้น
เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จก็จะนำเสนอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดใหญ่เพื่อจัดทำรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานไม่ให้เกิดการกระทำเช่นนี้ขึ้นอีก และหากผู้เสียหายจะนำรายงานของเราไปใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ในการฟ้องร้องต่อศาล ก็ยินดีที่จะมอบให้
ส่วนกรณีที่ตำรวจถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุในการใช้แก๊สน้ำตา เธอ ก็เห็นด้วยว่า ตรงนี้เป็นข้อสังเกตที่ฉกาจฉกรรจ์ ซึ่งตามหลักปฏิบัติสากลในการสลายการชุมนุมจะต้องใช้ความรุนแรงเป็นขั้นตอนสุดท้าย และหากไม่มีความจำเป็นก็จะไม่ใช้
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้บาดเจ็บให้การด้วยว่า มีอาวุธอื่นที่แทรกเข้ามาในระหว่างการชุมนุมด้วย ซึ่งจะประสานกับแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธเข้าตรวจสอบต่อไป
คลี่ตำรากฎหมายมาดูคร่าวๆ แล้ว การเอาผิดตำรวจคงไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง เพราะถ้าตาไม่มืดบอดด้วยอคติเกินไปคงเห็นกันชัดเจนว่า ใครใช้ความป่าเถื่อนกับใคร
แต่สำหรับการควานหา จอมบงการ ที่อยู่เหนือขึ้นไปก็ไม่น่าคาดเดายาก...เพียงแต่หา ใบเสร็จ มาประจานได้ลำบากเท่านั้น
รายการคม-ชัด-ลึกตอน-ทางเลือก ทางรอดประเทศไทย ในสถานการณ์วิกฤติ
หลังตำรวจใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมหน้ารัฐสภา หนทางในการไปสู่สมานฉันท์ก็ปิดประตูลงโดยสิ้นเชิง ท่ามกลางแนวโน้มความรุนแรงระลอกใหม่ที่กำลังจะก่อตัวขึ้นในไม่ช้า นำมาสู่คำถามที่ยากจะตอบว่า ประเทศไทยจะปีนพ้นจากหุบเหวนี้เมื่อใด
http://www.giggog.com/politic/cat3/news17944/
จากคุณ :
ดาวเหิน
- [
23 เม.ย. 52 18:47:04
A:203.149.29.43 X:
]