ไม่ทราบว่า มีคนนำมาให้อ่านหรือยัง ถ้ามีแล้วก็ขออภัย แต่ก็ถือซะว่าช่วยนำมาให้ดูใหม่ได้สะดวก เนื่องจากกระทู้มันตกไว
ความจริงบทความนี้ผมได้รับมานานแล้วจากท่านผู้ใหญ่ที่เคารพ ว่าจะสแกนมาให้ช่วยกันพิจารณา แต่เมื่อไปเจอในประชาไท ก็ดีไม่ต้องเสียเวลาสแกน
ในบทความจะไม่แจ้งให้ทราบไว้ว่า ใครเป็นคนเขียน
แต่เพื่อเพิ่มน้ำหนักในเรื่องความคิดเห้น ในฐานะที่พอจะทราบว่าใครเป็นผู้เขียน จึงบอกได้แต่เพียงว่าผู้เขียนบทความปัจจุบันเป็นผู้พิพากษา และเคยอยู่ในตำแหน่งที่สุงสุดมาแล้ว
ที่มา: http://www.prachatai.com/05web/th/home/16596
__________________________________________
วิเคราะห์เชิงวิชาการ : คดีที่ดินรัชดาฯ
ตุลาการผู้ไม่ภิวัตน์
ในช่วงรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ขาดสภาพคล่อง ด้วยพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่เคย
อิงแอบศักดินาอำมาตย์ และนายทุนสามานย์ ที่ยึดประโยชน์ของพวกตนเป็นใหญ่ จึงได้ทุ่มเทเงินจากภาษีของประชาชนเข้าช่วยเหลืออุ้มชูบริษัทเงินทุนเหล่านั้นไว้ โดยมิได้คำนึงถึงความทุกข์ยากแร้นแค้นของราษฎร์
บริษัทเงินทุน เอราวัณทรัสต์ จำกัด เป็นบริษัทหนึ่งที่ขาดสภาพคล่องในทางการเงิน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสังกัดธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขณะนั้น ได้สั่งให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าแก้ไขฟื้นฟูโดยเพิ่มทุนให้ 300,000,000 บาท และรับโอนหุ้นจดทะเบียนและชำระค่าหุ้นแล้วจากบริษัทเงินทุนเอราวัณทรัสต์ จำกัด ร้อยละ 75 ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวร้อยละ 92 แต่กระนั้นบริษัทก็ยังมีกองทุนติดลบอยู่ จำเป็นต้องทำให้เงินกองทุนของบริษัทเป็นบวกเสียก่อนนำออกขาย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2538 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จึงซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษกของบริษัทเงินทุนเอราวัณทรัสต์ จำกัด 2 แปลง 31 โฉนด เนื้อที่รวม 121 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา เป็นราคาค่าซื้อทั้งสิ้น
4,889,497,500 บาท ซึ่งล้วนแต่เป็นเงินของประชาชนทั้งสิ้นต่อมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์บัญชีทรัพย์สินรอขายใหม่ทั้งหมดเพื่อรับรู้การขาดทุน โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินในขณะนั้นเป็นราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เป็นผลให้ที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวมีราคาลดลงเหลือเพียง 2,064,600,000 บาท เฉพาะแปลงที่ 2 ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีราคา 754,500,000 บาท
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 กองทุนฟื้นฟูฯ นำที่ดินแปลงที่ 2 ออกประมูลขายทางอินเตอร์เน็ต โดยกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่ 870,000,000 บาท มีผู้ประสงค์จะซื้อ 8 ราย แต่เมื่อกำหนดต้องเสนอราคาปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดเสนอราคาประมูล กองทุนฟื้นฟูได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงที่ 2 ออกเป็น 4 โฉนดโดยแบ่งหักส่วนที่เป็นสาธารณะประโยชน์ออกไป เหลือเนื้อที่ 22 ไร่ 78.9 ตารางวา หลังจากนั้นจึงประกาศขายที่ดินนี้ใหม่อีกครั้งโดยวิธีประกวดราคาโดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำเอาไว้ มีผู้เสนอราคา 3 ราย คือบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 730,000,000 บาท บริษัท โนเบิลดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 750,000,000 บาท และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 เสนอราคา 772,000,000 บาท ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด และสูงกว่าราคาที่ดินที่ปรับแล้วคือ 754,500,000 บาท กองทุนฟื้นฟูจึงประชุมกันและอนุมัติให้คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ชนะการประกวดราคา คุณหญิงพจมานได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับกองทุนฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2546 และชำระราคาครบถ้วนในเวลาต่อมาก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขาย และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันในวันที่ 30 ธันวาคม 2546 โดยพันตำรวจ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมแก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งเป็นภรรยา โดยมอบหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประเภทข้าราชการการเมือง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกอบการทำสัญญาด้วย
มีปัญหาว่า โดยหลักกฎหมายและหลักนิติธรรม Rule of Law แล้วพันตำรวจโท
ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะจำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในฐานะจำเลยที่ 2
ควรต้องรับโทษในทางอาญาหรือไม่
จากคุณ :
+:Non Media:+
- [
26 เม.ย. 52 12:03:14
A:222.123.230.240 X:
]