ความคิดเห็นที่ 23

ปรากฏการณ์คนเสื้อแดง : ความแตกต่างของกระบวนทัศน์ในสังคมไทย
ปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดง ปรากฏขึ้นมาพร้อมๆกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของจริยธรรมทางการเมืองของสังคมภายหลังเหตุการณ์ 19 กันยายน โดยมีฐานของกระบวนการถ่วงดุลย์และรักษาอำนาจการจัดการทรัพยากรและเศรษฐกิจปัจจัยสำคัญ อุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นเพียงเครื่องมือโดยใช้องค์ประกอบของระบอบประชาธิปไตยเป็นกลไกขับเคลื่อนมวลชน ความเข้มแข็งของคนเสื้อแดงนับว่ามีพลังอย่างสูงอันเนื่องมาจาก การกระจายและจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมโดยโครงการประชานิยม ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ใช่โครงการใหม่ เพราะในอดีตก็เคยมีโครงการเช่นนี้มาแล้ว เช่น โครงการเงินผันของรัฐบาล, โครงการสร้างงานในชนบท การสูญเสียองค์ประกอบของประชาธิปไตย นั่นคือ การรัฐประหาร, และการแทรกแซงของข้าราชการ (ทหาร) ทำให้เงื่อนไข ของการเปลี่ยนแปลงจริยธรรมทางการเมือง นั้นไม่อาจยอมรับได้
อุดมการณ์ของคนเสื้อแดงจึงต้องพยายามรักษา เครื่องมือ ของระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ นั่นคือ รัฐธรรมนูญ 2540 การเลือกตั้ง และการลาออกของนายกรัฐมนตรี และ/หรือ การยุบสภา แต่ทว่า กระบวนทัศน์ของสังคม ไทยในด้านจริยธรรมทางการเมืองได้เปลี่ยนไป (คือสนับสนุนทหาร,สนับสนุนรัฐบาล)คนเสื้อแดง จึงไม่สามารถประสบความสำเร็จนอกจากนั้น ปฏิบัตการของคนเสื้อแดงบางกลุ่มได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมจนเกินกว่าจะรับได้ (อนุสาวรีย์ชัยฯ, รถแก้ส และ นางเลิ้ง)
เสื้อเหลือง VS เสื้อแดง: กระบวนทัศน์ทางสังคมที่แตกต่างกัน
ความขัดแย้งระหว่างคนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดง ถ้าพิจารณาโดยทั่วไป อาจจะเห็นความขัดแย้งในสามระดับ 1 ความขัดแย้งในอุดมการณ์ประชาธิปไตย เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี การแทรกแซงของกลุ่มทหาร จนไปถึง ระดับสูงอย่างองคมนตรี 2 ความขัดแย้งทางจริยธรรมตามมาตราฐานที่สังคมกำหนด เช่น การประท้วง, การก่อการจราจล, การบังคับใช้ กฏหมาย และ วิธีการสองมาตราฐาน 3 ความขัดแย้งในพฤติกรรม เช่น การใช้อาวุธ, การใช้ความรุนแรง
แต่หากพิจารณาในกรอบทางสังคม ก็จะเห็นความขัดแย้งที่มากไปกว่านั้น
ประการแรก ความขัดแย้งของชนชั้นในสังคม อันเนื่องมาจากกลุ่มมวลชนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา และแนวทางการดำเนินชีวิต ความขัดแย้งเช่นนี้ ได้ขยายขอบเขตออกไป จนเกือบจะกลายไปความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ (คนเหนือ คนอิสาน คนใต้ คนกรุงเทพฯ) เมื่อมีความขัดแย้งเช่นนี้ สังคมจึงเกิดความพยายาม ถ่วงดุลย์เอาไว้ด้วยเครื่องมือเก่าแก่ นั่นคือ แนวคิดชาตินิยม แต่ไม่อาจใช้การได้มากนักซ้ำยังกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ดังกรณีเขาพระวิหาร นอกจากจะไม่ช่วยลดช่องว่างความขัดแย้งแล้วยังทำให่เกิดความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะ เครื่องมือ ชาตินิยมนั้นได้ล้าสมัยไปแล้ว
ประการที่สอง ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ ฐานของมวลชนคนเสื้อแดง นั้นเป็นคนต่างจังหวัด ที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นคนชายขอบของสังคมเมือง เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ที่ได้รับมาอย่างต่อเนื่องยาวนนานหลายชั่วคน ได้บ่มเพาะ ความเป็นอริกับคนในเมือง มาเป็นเวลานาน เมื่อความเชื่อเรื่องประชาธิปไตย ที่จะสามารถเป็นเครื่องกุญแจที่เปิดกว้างไปสู่โลกของความเท่าเทียมกันได้ เราจึงเห็นภาพของคนเสื้อแดง ยืนร่ำไห้ ก่อนขึ้นรถกลับบ้าน และสัญญาว่าจะกลับมาเรียกร้องความยุติธรรมอีกครั้ง
ประการที่สาม ความขัดแย้งของการเปลี่ยนแปลง สังคมเมืองใหญ่ ระบบอุปถัมภ์ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบและเนื้อหาไปมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา คนในเมืองใหญ่ ระบบอุปถัมภ์เพื่อการต่อรองผลประโยชน์ ได้คลี่คลายกลายไปเป็นระบบการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมมาขึ้น ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แรงงานในเมืองใหญ่ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยนักการเมือง เพื่อสร้าง ถนนเข้าหมู่บ้าน, จำนำข้าวเปลือก หรือ เชิญผู้ใหญ่บ้านมาทอดผ้า บังสุกุล ฯลฯ แต่ในต่างจังหวัด ฐานมวลชนของคนเสื้อแดง ประธาน ผู้สมัคร สส สามารถ ช่วยให้ถนนในหมู่บ้าน ได้รับการซ่อมแซม, ศาลารอรถโดยสารสร้างใหม่โดย สส และแม้กระทั่งการขอยืมเงิน
ความขัดแย้งทั้งสามประการนั้น เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ความขัดแย้งเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นความขัดแย้ง ที่ผสมผสานกันจนกลายเป็นความขัดแย้ง ขนาดใหญ่นั่นคือ ความขัดแย้งเรื่องกระบวนทัศน์ของสังคมเมืองและสังคมต่างจังหวัด ซึ่งหลายๆฝ่ายหลายๆองค์กรได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล ต้องรีบเร่งเยียวยาแก้ไข, ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็เรียกร้องให้ยุติความเคลื่อนไหว, สังคมก็เรียกร้อง ให้ทุกฝ่ายเห็นแก่ประเทศชาติ ใครจะเป็นเจ้าภาพหัวเรี่ยวหัวแรง แน่นอนที่สุดว่า รัฐบาลทำไม่ได้แน่นอน, ฝ่านแกนนำคนเสื้อแดงก็ไม่ได้ ฝ่ายแกนนำคนเสื้อเหลืองก็ไม่ได้
จากคุณ :
q_cosmo
- [
2 พ.ค. 52 19:25:43
A:124.121.102.122 X:
]
|
|
|