http://news.mjob.in.th/politic/cat3/news19000/
ศาล พิเคราะห์แล้ว ที่จำเลยที่ 1-2 โต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ข้อ 2 และข้อ 5 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 4, 100 และ 122 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2540, รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ปี 2549 และรัฐธรรมนูญปี 2550 ศาลเห็นว่าเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยที่ 5/2551 แล้วว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และมีคำวินิจฉัยที่ 11/2551 ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 4, 100 และ 122 ว่า ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 องค์คณะจึงมีมติเอกฉันท์ว่าข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ส่วน ที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่า เมื่อประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลงวันที่ย 19 กันยนยน 2549 มีผลทำให้ พ.ร.บ.ดังกล่าวสิ้นสุดลงตามไปด้วย ศาลเห็นว่า การทำรัฐประหารเป็นการยึดอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ แต่ไม่ได้เป็นการประสงค์ล้มล้างการใช้อำนาจแต่อย่างใด เมื่อ คปค.ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ที่ให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง แต่ศาลอื่นยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้ แสดงให้เห็นว่า กฎหมายที่ยังใช้อยู่ในขณะนั้นไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มีสถานภาพเทียบเท่ากับกฎหมายทั่วไป จึงยังสามารถใช้บังคับใช้ได้ ที่ คปค.ออกประกาศฉบับที่ 19 ให้ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ใช้บังคับต่อไปก็เป็นการยืนยันว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ได้ถูกยกเลิก องค์คณะจึงมีมติเอกฉันท์ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น
ส่วน ที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินไม่ใช่ ผู้เสียหาย และไม่ได้มีการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย คตส.ไม่ใช่พนักงานสอบสวนตาม ป.อาญา และไม่มีอำนาจสอบสวนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. และจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ศาลเห็นว่า หลังการยึดอำนาจแล้วมีประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส. แต่งตั้ง คตส. ซึ่งข้อ 5 ของประกาศดังกล่าวให้ คตส.มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. และข้อ 9 หาก คตส.มีมติว่ามีบุคคลกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการให้ส่งสำนวนให้อัยการ สูงสุดดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น คตส.จึงมีอำนาจสอบสวนได้ตามกฎหมาย
ส่วนการไต่ สวนจะเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ศาลเห็นว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ข้อ 5 วรรคท้าย ให้ คตส.มีอำนาจตรวจสอบเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด ขณะที่นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. พยานโจทก์เบิกความว่า คตส.ดำเนินการเรื่องนี้ตามที่มีผู้ร้องเรียน หลังการไต่สวนแล้ว คตส.เห็นว่ามีมูลจึงแจ้งให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 66 ต่อมากองทุนฯมีหนังสือกล่าวโทษแจ้งไปยัง คตส.
องค์ คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คตส.มีอำนาจตรวจสอบดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองและมีการร้องทุกข์โดยชอบถูกต้อง ตามกฎหมาย โดยศาลฎีกาฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) และ (2)
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 อนุ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่ากองทุนฯไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 4 ไม่ได้บัญญัติคำว่าหน่วยงานของรัฐไว้เป็นการเฉพาะ แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัติว่าหน่วยงานรัฐ คือกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และกฎหมายทั้งสองฉบับตราขึ้นในปีเดียวกัน ดังนั้น คำว่าหน่วยงานของรัฐจึงมีความหมายเป็นไปทำนองเดียวกัน
จาก การไต่สวนได้ความว่ากองทุนถูกตั้งขึ้น ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจดูแลและพิจารณาส่งเงินเข้าสนับสนุนเป็นครั้งๆ ดังนั้น องค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่ากองทุนฯเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 อนุ 1
ที่ จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับควบคุมดูแลกอง ทุนฯนั้น ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ และรัฐมนตรี ซึ่งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกฯ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกฯมีอำนาจบริหารราชการ 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โดย มาตรา 11 กำหนดให้นายกฯเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปทั้ง 3 ส่วนราชการ มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการทั้งในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และมาตรา 40 กำหนดให้แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่แถลงต่อ รัฐสภา จึงมีอำนาจการบริหารเหนืออำนาจข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม
ขณะ ที่กองทุนฯก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธปท.กองทุนฯจึงเป็นหน่วยงานของรัฐ แม้กรรมการจัดการกองทุน จะมีอิสระ แต่ก็มีผู้ว่าการ ธปท.เป็นประธาน และปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานล้วนมีความเกี่ยวข้องที่จะให้คุณให้โทษ ได้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จากคำ เบิกความของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท.และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เบิกความว่า กองทุนมีหนี้จำนวนมาก ซึ่งในยุครัฐบาลของนายชวน หลีกภัย นั้นนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขณะนั้น ได้เสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอออกพันธบัตรจำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อล้างหนี้ให้กองทุนฯ นอกจากนี้ พยานยังเคยเสนอรัฐบาลออกพันธบัตร 7.8 แสนล้านบาทอีกด้วย ขณะที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เบิกความว่า เงินที่สนับสนุนกองทุนฯได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังมีอำนาจเข้ามากำกับดูแลผ่านปลัดกระทรวงการคลัง ที่เป็นรองประธานกรรมการกองทุนฯ
จากคำเบิกความ ของพยานโจทก์แสดงให้เห็นว่า ในทางปฏิบัติ นายกฯจะใช้อำนาจกำกับดูแลกองทุนได้โดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังตาม ลำดับชั้น ดังนั้น องค์คณะจึงมีมติ 6 ต่อ 3 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น
มี ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่าการทำสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 อนุ 1 หรือไม่ ศาลเห็นว่า เหตุที่ต้องตั้งกองทุนฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ หากปล่อยให้สถาบันการเงินล้มจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน จึงจำเป็นต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือ อาทิ นำเงินไปซื้อที่ดินหรือทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริงเพื่อ ให้สถาบันการเงินได้กำไร นำเงินไปชำระหนี้ ให้ดำรงอยู่ได้ ซึ่งที่ดินพิพาทคดีนี้กองทุนฯซื้อมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ ทรัสต์ จำนวน 13 โฉนด เนื้อที่ 35 ไร่เศษ มูลค่า 2,140 ล้านบาทเศษ และอีกหนึ่งแปลงซึ่งอยู่บริเวณศูนย์วัฒนธรรม มูลค่า 2,749 ล้านบาทเศษ เมื่อปี 2538 ต่อมาปี 2544 กองทุนฯปรับมูลค่าหนี้ให้ลดน้อยลง เพื่อให้เกิดสภาพคล่องโดยลดราคาที่ดินเหลือ 700 กว่าล้านบาท
ต่อ มากองทุนฯนำที่ดินออกประมูลทางอินเตอร์เน็ตตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท กำหนดวางมัดจำ 10 ล้านบาท เมื่อถึงเวลาไม่มีการเสนอราคาจึงเลิกประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่โดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ และ
........เพิ่มวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท อันเป็นการกีดกันทำให้มีผู้เข้าประมูลน้อยลง จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประมูลด้วย แม้ว่าจะมีอีก 2 บริษัท คือบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนต์ ร่วมเสนอ แต่รู้ว่าต้องแข่งขันกับภริยานายกฯ จึงไม่กล้าสู้ราคา........
แม้กองทุนฯจะเห็นว่าราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ 772 ล้านบาทเป็นราคาสูงสุด แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรกซึ่งอาจจะขายได้ราคาที่สูง และเหมาะสมกว่า อีกทั้งขณะนั้นจำเลยที่ 1 เป็นนายกฯมีอำนาจบารมีเหนือรัฐมนตรีและมีอำนาจทางการเมืองสูงอีกทั้งฐานะการ เงินมั่งคั่ง ตามหลักธรรมาภิบาลนายกรัฐมนตรี ภริยา หรือบุตรไม่สมควรเข้าไปประมูลซื้อเพราะการซื้อได้ราคาต่ำก็เป็นผลทำให้กอง ทุนฯมีรายได้น้อยลง ขณะที่จำเลยที่ 2 มีผู้รู้จักจำนวนมาก ประกอบกับข้าราชการมีค่านิยมจำนนต่อผู้มีบารมีสูง นอกจากนั้น ยังอาจให้คุณให้โทษทางราชการได้
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ให้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลงนามยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินย่อมถือได้ว่าเป็นการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเอง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าการลงชื่อยินยอมเป็นเพียงทำตามระเบียบราชการ แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการซื้อขาย องค์คณะจึงมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม และต้องรับโทษตาม มาตรา 122 ขอต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ส่วน จำเลยที่ 2 องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม ไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 122 เพราะ
..................พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100
ไม่ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับคู่สมรสที่กระทำความผิด
มีแต่บทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้องมีการตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามหลักกฎหมายอาญา
..............เมื่อไม่มีกฎหมายให้ลงโทษศาลจึงไม่อาจลงโทษได้............
สำหรับ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152,157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและผู้สนับสนุนเข้ามีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ตน องค์คณะ 8 ต่อ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ดูแลกองทุนฯ แต่จำเลยดำเนินการในฐานะคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมทำสัญญาซื้อขายที่ดินอันผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. จึงไม่ผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา157 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ส่วน ที่โจทก์ขอให้ริบทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินและเงินซื้อที่ดินจำนวน 772 ล้านบาท องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงมิใช่ทรัพย์อันพึงริบตามประมวลฎหมายอาญามาตรา 33 (1) (2)
เมื่อ พยานหลักฐานรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นนายกฯ ได้รับมอบหมายให้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและ ประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ประพฤติตนในสิ่งที่ดีงามตาม จริยธรรมของนักการเมืองให้เหมาะสมกับที่ได้รับความไว้วางใจในตำแหน่งหน้าที่ อันสำคัญยิ่ง จึงไม่สมควรรอการลงโทษ
พิพากษา ว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม และมาตรา 122 วรรคหนึ่งให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่นและคำขออื่นให้ยกฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาจึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับจำเลยที่ 1 เพื่อมาปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้องจึงให้เพิกถอนหมายจับเฉพาะคดีนี้
............................ข้อมูลจาก มติชน..........................................
จากคุณ :
boss5617
- [
13 พ.ค. 52 02:27:15
A:115.67.218.136 X:
]