ความคิดเห็นที่ 17

พ่อทำผิด อะไร ที่ไหนลูก พ่อจึงถูกตำรวจจับ มากักขัง พ่อเคยทำ อะไร กับใครบ้าง จึงถูกขัง ถูกจำจอง อยู่ห้องกรง โธ่, ลูกเอ๋ย เคยคิด พ่อผิดมั้ย ? แล้วเหตุใด เขาจึงคิด จิตลุ่มหลง จับพ่อมา กล่าวหา ว่า ฆ่าคน ในกมล พ่อไม่คิด สักนิดเดียว พ่อจากไป เพียงร่าง ที่ห่างเจ้า ส่วนใจเล่า ยังชะแง้ อยู่แลเหลียว ไม่เคยลืม เจ้าสักว่า นาทีเดียว ใจ ห่วงเหนียว ลูกยา ทุกนาที
นี่เป็นบทกลอนส่วนหนึ่ง ที่นายเฮาดี้ กนกชวาลชัย ได้ระบายความรู้สึกขณะ ที่ถูกจองจำร่วมกับพรรคพวก ในคดีฆาตกรรมนางสาวเชอรี่แอน ดันแคนที่เกิดขึ้น เมื่อ 16 ปีที่แล้ว เป็นคดีที่มีผู้ถูกยัดเยียดให้ต้องรับผิดทั้งที่ความผิดนั้นตนเองมิได้ เป็นผู้ก่อ หรือที่เรียกกันว่าเป็น แพะรับบาป
ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นสอบสวนใหม่อีกครั้ง หลังจากปรากฏว่าศาลฎีกาได้ พิพากษายกฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าว แต่กว่าที่จำเลยในคดีนี้จะได้รับอิสรภาพและ ความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องประสบวิบากกรรมในระหว่างถูก ดำเนินคดีมากมาย จำเลยบางคนเสียชีวิตขณะอยู่ในเรือนจำ บางรายสูญเสียครอบครัว และจำเลยทุกคนต้องเสียชื่อเสียง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ หากจะกล่าวย้อนไปเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ในคดีดังกล่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2529 พาดหัวข่าวตัวโตขึ้นหน้าหนึ่งว่า นร.สาวหายตัว แท็กซี่ลึกลับพาเชิดขณะ ร.ร.เลิกกลับบ้าน โดยต่อมาปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า เด็กสาวดังกล่าวชื่อเชอรี่แอน ดันแคน วัย 16 ปี ลูกครึ่งไทย อเมริกัน ถูกแท็กซี่หลอกลวงขึ้นรถ แล้วหายไป ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2529 หลังจากโรงเรียนเลิก ในที่สุดมีผู้พบศพ เชอรี่แอน ดันแคน ที่อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรปราการจึงได้ทำการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน แล้วเข้าจับกุมนายวินัย ชัยพานิช เจ้าของบริษัทก่อสร้าง กับพวก 4 คนซึ่งเป็นลูกน้องของนายวินัยคือนายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชัชวาลชัย, นายพิทักษ์ ค้าขาย, นายกระแสร์ พลอยกลุ่มและนายธวัช กิจประยูร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2529 โดยพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาทั้ง 5คนร่วมกันกระทำผิดฐานฆ่าผู้ตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงมีความเห็นควรสั่งฟ้องและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ จังหวัดสมุทรปราการ พนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวินัย ชัยพานิช และมีคำสั่งฟ้องนายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชวาลชัย, นายพิทักษ์ ค้าขาย, นายกระแสร์ พลอยกลุ่ม และ นายธวัช กิจประยูร ซึ่งถือได้ว่าเป็น แพะรับบาป ในคดีนี้ ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2533 ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4), 83 ลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสี่ ประหารชีวิต คำตัดสินที่ได้รับ มีผลต่อจิตใจของคนที่ไม่เคยทำผิด ความรู้สึกตอน นั้นเป็นอย่างไร คงไม่มีใครเข้าใจได้ดีเท่ากับพวกเขา! จำเลยทั้งสี่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการและศาลอุทธรณ์ได้รับ ไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2533 ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ กนกชวาลชัย จำเลยที่ 1 เจ้าของบทกลอนข้างต้น ได้ถึงแก่ความ ตายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2534 ที่เรือนจำบางขวาง ส่งผลให้ศาลจังหวัดสมุทร ปราการสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2535 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แต่ให้ขังไว้ระหว่างฎีกา และในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2536 ศาลฎีกาได้พิจารณาแล้วมีคำพิพากษาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2536 พิพากษา ยืนตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ อันเป็นสิ่งแสดงว่าจำเลยที่ยังมีชีวิตอยู่ในคดีดังกล่าวเป็น ผู้บริสุทธิ์ ระยะเวลาประมาณ 6 ปี 2 เดือนในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็น ผู้กระทำผิด ช่างดูยาวนานเหลือเกิน โดยเฉพาะสำหรับผู้บริสุทธิ์เช่นพวกเขา ความบก พร่องของระบบการดำเนินคดีอาญาดังกล่าว นอกจากจะไม่สามารถอำนวยความยุติธรรม มิได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้บริสุทธิ์ได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังทำให้ผู้บริสุทธิ์อย่างเช่น นายรุ่งเฉลิม หรือเฮาดี้ เสียชีวิตก่อนที่จะได้รับความเป็นธรรม และผู้ต้องหาทั้ง 3 คนที่ เหลืออยู่ แม้ศาลฎีกาจะตัดสินยกฟ้องได้เป็นอิสระ เพื่อกลับไปหาครอบครัว แต่สิ่งที่พวก เขาได้พบ กลับหน้ามือเป็นหลังมือ!! คือครอบครัวที่แตกสลาย ปัจจุบันนายกระแสร์ เป็นคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนนายพิทักษ์และนายธวัช ออกจากคุกมาได้ไม่เท่าไรก็เสียชีวิต เนื่องจาก ติดโรคมาจากในเรือนจำ นายกระแสร์ ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ เปิดใจ แพะรับบาป คดีเชอรี่แอน ดันแคนคน เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ตอนหนึ่งว่า
ก่อนเข้าคุกผมมีครอบครัว ภรรยาอยู่ที่ท่าเรือคลองเตย มีลูกชาย 1 คน ลูกสาว 1 คน ตอนที่ผมเข้าไปอยู่ในคุกภรรยาผมเครียดมากจนเสียชีวิต ต่อมาลูกสาวอายุ 17 18 ปีถูกฆ่าข่มขืน ผมอยู่ในคุกไม่มีใครบอกว่าลูกสาวผมโดนฆ่าตาย ผมก็ไม่รู้เรื่องเขาปิดกัน ลูกสาวกำลังสอบชิงทุนไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น ถ้าเกิดผมซึ่งเป็น พ่อยังอยู่ข้างนอก ก็ยังดูแลเขาได้ไม่โดนฆ่า ต่อมาลูกชายก็หายสาปสูญยังหาไม่เจอ
เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเพียงวิบากกรรมส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริสุทธิ์เช่น พวกเขา ซึ่งต่อมากรมตำรวจ (ในขณะนั้น) ได้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่เพื่อหาตัวฆาตรกรที่แท้จริง จนในที่สุดผู้ต้องหาตัวจริงที่ฆ่า น.ส.เชอรี่แอน ดันแคน คือนายสมัคร ธูปบูชาการและนายสมพงษ์ บุญญฤิทธิ์ โดยศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ของความบกพร่องของระบบการดำเนินคดีอาญาใน ประเทศไทย เพียงคดีเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงปัจจุบันมีคนถึงร้อยละ 20 ที่ต้องติดคุกฟรี โดยไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ซึ่งไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสังคม จนแทบจะไม่เป็นข่าว เนื่องจากมิใช่คดีที่โด่งดังมากเฉกเช่นคดีฆาตกรรม นางสาวเชอรี่แอน ดันแคน และหากตัวเลขดังกล่าวเป็นความจริง ก็เป็นสิ่งที่ สะท้อนให้เห็นว่า แนวทางปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรมสวนทางกับหลักการ ที่ยึดถือกันในวงการนักกฎหมายที่ว่า ยอมปล่อยตัวผู้กระทำความผิดสิบคน ไป ยังดีกว่าลงโทษหรือจำคุก ผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว
นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวปฏิบัติที่เป็นการขัดหลักตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ที่ว่า สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาล พิสูจน์ถึงที่สุดจึงจะลงโทษ เหตุเพราะ จากคดีที่มี แพะรับบาป ปรากฏอยู่เสมอ ๆ นั้น แสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันมุ่งแต่เฉพาะกระทำการอย่าง ใดๆเพื่อแสวงหาผู้ที่จะมารับโทษในคดี มากกว่าการคำนึงถึงความบริสุทธิ์ของ ผู้ต้องหา แม้บางครั้งจะยังไม่มีพยานหลักฐานที่แน่นอนว่าผู้รับโทษในกรณีดังกล่าว เป็นผู้กระทำผิดที่แท้จริง ดังนั้นจากหลักข้อสันนิษฐานความเป็นผู้บริสุทธิ์ดังกล่าว ผู้ต้องหาจึงควรได้รับจนกว่าจะมีพยานหลักฐานที่แท้จริงจากระบบการทำงานที่มี ประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม พิสูจน์ยืนยันแล้วว่าผู้ต้องหาดังกล่าวเป็น ผู้กระทำความผิดจริง
การพิจารณาคดีอาญาควรมีการพิจารณาอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง หากความล่าช้าในการพิจารณาคดี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนบางส่วนต้อง ติดคุกฟรี ถึงแม้พวกเขาอาจจะได้ค่าชดเชยจากรัฐมีนคุ้มกันไหม ?? ถ้าเป็นต้องแลกกับความสูญเสียทั้งสิทธิและเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องติดอยู่ในคุกทั้งที่ไม่ผิดอะไร สภาพจิตใจก็ยิ่งแย่อยู่แล้ว เมื่อออกมาได้โรคแถมมา หรือต้องสูญเสียครอบครัวที่รักไป เมื่อออกมาแล้วได้รับเงินชดเชย เป็นคุณจะเลือกเงินหรือ ???
คดีอย่างนี้มีอยู่มากในสังคมไทยอยู่ที่ว่าคดีนั้นจะตีแผ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ขึ้นมาให้ประชาชนคนไทยอย่างเราต้องเศร้าสลดใจหรือไม่ ..
ถ้าอำนาจการสอบสวนและอำนาจการจับกุม อยู่ในมือของหน่วยงานเดียวกัน โดยไม่มีใครมาตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจ มันจะง่ายต่อการประพฤติมิชอบ และ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการยุติธรรมของไทย จะเป็นกระบวนการที่มีความยุติธรรมจริง เป็นที่พึ่งของประชาชนได้จริงไม่ใช่ทำร้ายประชาชนเสียเอง และหวังว่าความผิดพลาดในคดีต่าง ๆ จะเป็นบทเรียนให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบให้ช่วยเยียวยาโดยใช้มาตรการที่เป็นหลักประกันได้ว่าผู้บริสุทธิ์คนอื่น จะไม่ต้องสูญเสียชีวิตและครอบครัวจากการใช้อำนาจโดย มิชอบหรือโดยผิดพลาดของบุคคลในกระบวนยุติธรรมอีก หรือเท่ากับว่าการใช้อำนาจของรัฐไปละเมิดสิทธิมนุษยชนเยี่ยงนี้อีก .....
หมวดหมู่: กฏหมาย การเมือง การปกครอง คำสำคัญ: tu-hr-classroom2551 กระบวนการยุติธรรมของไทย การใช้อำนาจของรัฐ ละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชน เชอรี่แอน แพะรับบาป สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ สร้าง: ศ. 02 พฤษภาคม 2551 @ 20:08 แก้ไข: ศ. 02 พฤษภาคม 2551 @ 20:08 ขนาด: 31225 ไบต์
จากคุณ :
แดงเดือด
- [
2 มิ.ย. 52 17:28:51
A:61.19.26.58 X:
]
|
|
|