Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ถึงคนที่เอาแต่แถว่า "ต้องรับโทษก่อน ถึงอภัยโทษได้" คุณกำลังก้าวล่วงพระราชอำนาจ

    บรรดาผู้นำบ้านเมืองทั้งหลายที่พยายามบอกว่า ให้นายกฯทักษิณกลับมารับโทษก่อน ค่อยขอพระราชทานอภัยโทษ กับพวกที่บอกว่า คนที่จะถวายฎีกาได้ต้องเป็นญาติพี่น้องเท่านั้น  พวกคุณเคยศึกษาประวัติศาตร์ไหม รู้ถึงพระราชอำนาจส่วนนี้มากแค่ไหน


    นับแต่อดีตที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าเหนือชีวิต ว่าราชการเอง จนถึงภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตามแบบอย่างนานาอารยประเทศ  พระมหากษัตริย์ พระประมุขของราชอาณาจักร ย่อมสถิตย์ในฐานะ ที่มาแห่งความยุติธรรม  เห็นได้จาก การพิพากษา พิจารณาอรรถคดีทั้งปวง ล้วนกระทำในพระปรมาภิไธย

    รวมทั้งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งหากจะนับแต่อดีตมีหลายกรณีที่ พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานอภัยโทษโดย ไม่ได้อยู่ในเงือนไขที่ นายมาร์ค นายชัย นายประสพสุข ฯลฯ ค่อยตะแบงว่า ต้องรับดทษก่อน หรือ ต้องเป็นญาติเท่านั้น  เพราะว่า พระราชอำนาจนี้ พระมหากษัตริน์จะทรง พระราชทานพระกรุณาธิคุณอย่างไร ก็สุดแต่พระราชหฤทัย ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

    1. ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวร พระราชอภัยโทษ แม่ทัพนายกอง ที่ตามเสด็จช้างหลวงไปรบกับ พระมหาอุปราชาของหงสาวดีไม่ทัน โดยมีสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว เป็นผู้ถวายฎีกาขอบิณฑบาต (ไม่ใช่ญาติผู้ต้องโทษ)

    2. ในสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชที่8 พระเจ้าเสือ พระราชทานอภัยโทษแก่ พันท้ายนรสิงห์ ที่คุมท้ายเรือพลาด โขนเรือพระที่นั่งชนต้นมะขามหัก โดยพระราชกรุณาส่วนพระองค์ แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยินยอม(นักโทษ ยังไม่ได้รับโทษ และไม่ได้ถวายฎีกา แต่ทรงมีพระกรุณาธิคุณเป็นพิเศษ)

    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    3. ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล และพระอนุชา(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน) เสด็จเหยียบศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ประทับบัลลังก์ ในการพิจารณาคดีลักทรัพย์ของ แม่ลูกคู่หนึ่ง  ภายหลังการพิจารณาคดีผู้พิพากษา ตัดสินตามคำสารภาพของจำเลยว่ามีความผิด พิพากษาจำคุก 6เดือน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระกรุณาธิคุณ พระราชทานอภัยโทษ ให้โทษจำคุกรอลงอาญาไว้ก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสปรับปรุงตัว และยังพระราชทานเงินขวัญถุงแก่จำเลย (คดีนี้ ฝ่ายจำเลยยังมิได้ถวายฎีกา คดียังไม่ถึงที่สุด และจำเลยยังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาล)


    จาก 3 กรณีข้างต้น  คงสะท้อนถึง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการพระราชทานยุติธรรมอย่างดี ว่าไม่มีกฎระเบียบใดมาบังคับได้


    นอกจากนี้ การถวายฎีกาของราษฎร ถือเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์กับราษฎร ไม่มีใครสามารถมาห้ามปราม

    ส่วนพระราชวินิจฉัยจะเป็นเช่นไร ไม่ควรไปคาดการณ์อย่างไม่เป็นมงคล

    เพราะพระราชวินิจฉัยใดที่ในหลวงทรงพระราชทานมาล้วนต้องมีเหตุผลรองรับ เช่นเดียวกัยกรณีฎีกาของนายกฯพระราชทาน ที่แม้จะม่ กลุ่มผู้สูงศักดิ์ นักวิชาการ และประชาชน รวมกันเข้าชื่อมากแค่ไหน แต่เมื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าทรงไม่มีอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญ จึงทรงยกฎี:-XX็เป็นอันยุติ

    เช่นเดียวกัน แม้ท้ายสุด จะทรงมีพระราชวินิจฉัย ในทางยกฎีกา ราษฎรของพระองค์ ก็ต้องยุติเช่นกัน  ไม่มีการสร้างกระแสกดดันแน่นอน

    อย่างคิดว่า เหลืองเป็นอย่าง แล้วให้แดงเป็นอย่าง

    เพราะนั้น เท่ากับว่าบรรดา คุณๆทั้งหลาย มองว่าคนที่ถวายฎีกาไม่จงรักภักดี อันเป็ฯการแบ่งแยกประชาชน ทั้งๆที่ กองทัพเร่งโฆษณาสปอรต์ ความสามัคคีอยู่

    จากคุณ : <<First>> - [ 6 ก.ค. 52 00:47:48 A:125.27.28.139 X: ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป


Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com