Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  
 


สองคนยลตามช่อง" "มาร์ค"ปลื้มพันธบัตร "แม้ว"เย้ย"ไทยเข้มแข็ง" vote  

สีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสของ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี ที่เห็นผู้เฒ่าผู้แก่เข้าคิวยาวเหยียดเพื่อซื้อพันธบัตรไทยเข้มแข็งวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ล็อต โดยล็อตแรกวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ขายให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป วันที่ 13-14 กรกฎาคม ล็อตที่ 2 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เปิดขายให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปวันที่ 15-16 กรกฎาคม และล็อตที่ 3 วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เปิดให้ประชาชนทั่วไป วันที่ 17-21 กรกฎาคม แต่ปรากฏว่าการเปิดขายวันแรก 1.5 หมื่นล้านบาท สำหรับผู้สูงอายุหมดเกลี้ยงอย่างรวดเร็ว จนต้องนำวงเงินในส่วนล็อตที่ 3 มาสมทบ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็ขายหมดอย่างรวดเร็ว

คำพูดของนายอภิสิทธิ์ที่ระบุว่า "ในอดีตไม่เคยมีคนต้องการมากขนาดนี้ กระทรวงการคลังบอกว่าเวลาออกพันธบัตรอะไร จะมีคนเข้ามาซื้อไม่ถึงหมื่นคน แต่นี่วันเดียวคนมาซื้อหลายหมื่นคน ผมคิดว่านี่คือเครื่องยืนยันว่าเรากำลังทำถูกต้อง ในแง่ของการนำเงินออกมาจากเงื่อนไขที่ผู้ฝากก็ไม่พอใจ ผู้ให้กู้ก็ไม่พร้อมจะปล่อยกู้ได้ แต่เราเอาเงินตรงนี้มาลงทุน น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพราะได้รับการตอบสนองอย่างดี"

สอดรับกับคำพูดของ "นายกรณ์ จาติกวณิช" ขุนคลังใหญ่รัฐบาลที่บอกว่า "การขายพันธบัตรวันแรกถือว่าสำเร็จเกินคาดหมาย ซึ่งกระทรวงการคลังคาดการณ์เตรียมที่จะเพิ่มวงเงิน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง"

ซึ่งปฏิกิริยาของนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ ถือเป็นการยืนยันว่าแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยการกู้เงินในวงเงินที่รัฐบาลวางเอาไว้คือ 8 แสนล้านบาท ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง รัฐบาลเดินมาถูกทาง

แต่อย่าลืมว่า มีหลายฝ่ายออกมาท้วงติงว่าสิ่งที่รัฐบาลทำคือการกู้เงินมาแก้ปัญหา เมื่อกำหนดระยะเวลาโดยเฉพาะพันธบัตรที่มีอายุ 5 ปี สิ่งที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่ารัฐบาลจะหาเงินต้นและดอกเบี้ยมาจากไหน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถือเป็นทุกข์หนักของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ และกรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาภาษี คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ที่ต้องเป็นผู้สร้างสมดุลในการจัดหาดอกเบี้ยและความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต

เสียงท้วงติงที่ดังและหนักหน่วงคงไม่พ้นเสียงดังข้ามทวีปในวันเดียวกับที่ "นายกฯอภิสิทธิ์" อยู่ในห้วงของความสุข คือ เสียงโฟนอินของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โทรศัพท์เข้ารายการสถานีวิทยุชมรมคนรักอุดร คลื่น 97.5 เมกะเฮิร์ตซ์ พูดคุยกับนายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร ผู้ดำเนินรายการ เพื่อออกอากาศสดผ่านวิทยุกระจายเสียงทางวิทยุชุมชนกลุ่มคนเสื้อแดงทั่วประเทศ และเว็บไซต์เครือข่าย

พ.ต.ท.ทักษิณได้ชำแหละแนวทางของ "รัฐบาลอภิสิทธิ์" ว่า "หากย้อนไปในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลช่วงเข้าโปรแกรมองค์กรการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ เห็นชัดว่ามีการกู้เงินมิยาซาว่ามาใช้กันชนิดที่ว่าไม่มีสติปัญญา มีการทุจริตและเงินไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นครั้งนี้ก็ไปกู้เงินมาทำแบบเดิมก็ไม่แปลกอะไร เพราะเป็นสิ่งที่เขาทำมาแล้ว และจะทำต่อ ซึ่งเขาถนัด แล้วจะทำอีก"

โดยเฉพาะแนวทางการออกพันธบัตรว่า "จริงๆ แล้วการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยไปกู้เงินนั้นเป็นไปได้ แต่ต้องมีเป้าหมาย เหมือนเราไปกู้เงินแบงก์มาเราต้องคิดว่าจะเอามาทำอะไร หากบอกว่ากู้เงินแบงก์มาจ่ายเงินเดือนไม่มีแบงก์ไหนให้หรอก แต่ถ้ากู้มาทำโครงการที่จะมีกำไร แบงก์ก็จะให้ แต่เรากู้เงินเราเองในประเทศ ธนาคารในประเทศ ด้วยการไปออกบอนด์ (พันธบัตร) ออกอะไร ไม่ต้องมีเหตุมีผลอะไรมาก อันนี้มันทำแบบง่ายๆ ชุ่ยๆ ดังนั้น ช่องทางที่จะคอร์รัปชั่นจึงมีมาก"

ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะสรุปส่งท้ายถึงภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นว่า "สถานการณ์เศรษฐกิจอย่างนี้ก็ต้องบอกก่อนว่าในยามที่ครอบครัวลำบากแล้วลูกยังไม่แข็งแรง หรือลูกยังไม่สบาย พ่อแม่ต้องกล้าที่จะแบกรับภาระแทนลูก ไม่ใช่ยัดเยียดภาระให้ลูก ถ้าเป็นพ่อแม่ที่ดี ดังนั้น การขึ้นภาษีในยามลำบาก เขาเรียกว่าเป็นการแก้ภาษีด้วยเครื่องคิดเลข ไม่ใช้สมองคิดแต่ใช้เครื่องคิดเลขคิด ความจริงเวลานี้เราต้องมองว่าเราจะเพิ่มรายได้ให้ประชาชนอย่างไรและลดรายจ่ายให้ประชาชนอย่างไร แล้วก็มีช่องทางหารายได้ใหม่ๆ ไหม แล้วถึงมาดูว่าเงินที่กู้มาจะไปใช้ทำอะไร"

ความเห็นที่แตกต่างของทั้งสองฝ่ายอยู่ที่ว่าใครจะยึดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เล่มไหนเป็นต้นแบบ เข้าตำรา "สองคนยลตามช่อง"

ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนั้น เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าใครคือของจริงหรือของปลอม

แต่ในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่ยืนอยู่ในที่โล่งย่อมต้องใจกว้าง กล้าจะรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น เพราะ "คำติ" ถ้าเงี่ยหูฟังดีๆ อาจเป็นประโยชน์

ยิ่งเสียงสะท้อนของ "นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ที่มองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "เป็นสัญญาณเงินฝืด ที่ขายของไม่ได้ ประชาชนจึงเอาเงินจากธนาคารเพื่อมาซื้อพันธบัตรเพราะมีดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งถ้าเศรษฐกิจดีก็คงไม่แห่แหนมาซื้อพันธบัตรมากขนาดนี้"

อย่างน้อยก็เป็นการกระตุกขารัฐบาลให้กับมายืนอยู่ในความเป็นจริง ไม่ให้หลงไปกับภาพลักษณ์ลวงๆ เพราะการออกพันธบัตรหมายถึงรัฐบาลถังแตกไม่มีเงินไปลงทุน ต้องกู้เงินจากชาวบ้านออกไปใช้

ซึ่งนี่ไม่ใช่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

แต่ความสำเร็จคือการนำเงินก้อนนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้ตกหล่นไปเข้าพกเข้าห่อใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ซึ่งเงินก้อนนี้จะต้องนำมาพัฒนาประเทศ สร้างรายได้ให้ประชาชน เพื่อก่อให้เกิดเป็นภาษีเข้ารัฐ

ต่อไปประเทศชาติจะได้ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเขาอีก...

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01col01150752&sectionid=0116&day=2009-07-15

จากคุณ : sao..เหลือ..noi
เขียนเมื่อ : 15 ก.ค. 52 21:20:55 A:58.8.169.219 X:


[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
    ขอความกรุณางดการเขียนในลักษณะต่อไปนี้

    1. การต่อว่าด่าทอ คนที่มีความเห็นไม่เหมือนท่านในกระทู้
    2. ตั้งหรือใช้สมญานามที่มีลักษณะทำให้ผู้อื่นได้รับการ ดูถูก เสียดสี ประชดประชัน หรือ ได้รับความเกลียดชัง
    3. เขียนแบบไร้ประโยชน์ อันได้แก่ เสียดสี ล่อเป้า ก้าวร้าว บิดเบือน ฯลฯ
    4. หยิบข้อเขียนของคนอื่นมาตีความทีละคำแบบ หัวหมอ หรือ ศรีธนญชัย
    5. ล้ำเส้นไปก้าวล่วงเรื่องส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ
    6. ห้ามใช้เวทีนี้ในการนัดชุมนุมใดๆ โดยเด็ดขาด
    7. อนึ่งการหยิบยกสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือพระราชดำรัสมาอ้างอิง ถือว่าเป็นการกระทำที่อาจเอื้อมและไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง จึงขอห้ามโดยเด็ดขาดเช่นกัน
 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com