 |
ความคิดเห็นที่ 45 |
ความเป็นมาของ ที่ดินรัชดาฯ
ปี 2538 สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ดินจำนวน 35 ไร่เศษได้รับโอนมาจาก บง.เอราวัณทรัสต์ ในมูลค่า 2,000 ล้านบาท ให้กับกองทุนฟื้นฟู ระบบสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทมีปัญหาทางการเงิน กองทุนฟื้นฟูเข้าไปอุ้มได้ที่ดินเป็นหลักประกัน
ปี2538-2540 กองทุนได้จำหน่ายที่ดินที่ยึดมา แต่ขายไม่ออก เพราะเริ่มอยู่ในช่วงต้นภาวะฟองสบู่ ธุรกิจพัฒนาที่ดินกำลังส่อปัญหา จนถึงปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ต้องหยุดการจำหน่ายเริ่มจำหน่ายอีกครั้งปี 2546
ต้นปี 2546 ครั้งแรกได้เปิดการประมูลทางอินเทอร์เน็ต กำหนดราคากลางไว้ที่ 870 ล้านบาท ปรากฏไม่มีใครเข้าประมูล ทั้งที่มีผู้สนใจ 20 ราย ต่อมาปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของได้โอนให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เพื่อทำถนน และลำรางสาธารณะ ไป 2 ไร่เศษ โดยได้ทำการรังวัดหลังสุด จึงทำให้ที่ดินเหลือจริงเพียง 33 ไร่
กรกฎาคม-ธันวาคม 2546 จึงหันมาใช้ระบบประมูลแบบเปิดซองทั่วไปโดยยื่นตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.2546 ประมูลเสร็จสิ้นในเดือน ธ.ค.2546 ปรากฏว่า มีผู้เข้าประมูล 4 ราย ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 3 ราย เสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินทั้ง 3 ราย ประมูลได้ที่ราคาตารางวาละ 5.8 หมื่นบาท (ราคาประเมินตารางวาละ 5 หมื่น 2 พันบาท) ซึ่งผลปรากฏว่า ตัวแทนของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร คือ นายสมบูรณ์ คุปติมนัส เสนอราคาสูงสุด คือ 772 ล้านบาท สูงกว่าราคาประเมิน คือ 695.8 ล้านบาท ส่วนรายอื่นๆ คือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เสนอ 730 ล้านบาท โนเบิล เสนอ 750 ล้านบาท บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ เสนอ 750 ล้านบาท
ซึ่งกองทุนฟื้นฟู ก็ได้ดำเนินการโอนเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 30 ธ.ค.2546 ซึ่งได้สิทธิทางภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอน ก่อนที่รัฐบาลจะปรับอัตราใหม่
==================================================== สรุปความเป็นมาของที่ดินที่ขายให้ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร
กองทุนฟื้นฟู ฯ ประมูลซื้อจากบริษัท เอราวัณ ทรัสต์ จำกัด เมื่อพ.ศ. 2538 2539 จำนวน 31 โฉนด เนื้อที่ 1.21-2-55.1 ไร่ มูลค่ารับโอนรวม 4,889,397,500 บาท ราคาเฉลี่ยตารางวาละ 100,491 บาท แบ่งเป็น 2 โซน คือ
โซนที่ 1 ที่ดินบริเวณข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 18 โฉนด เนื้อที่รวมประมาณ 85-3-68 ไร่ มูลค่า 2,749,040,000 บาท
โซนที่ 2 (โซนที่คุณหญิงได้เข้าประมูล) ที่ดินบริเวณฝั่งตรงข้ามสถานทูตเกาหลี เยื้องกับโครงการเมืองรุ้ง และโรงแรมปี๊ปอิน ตลอดจนบริเวณใกล้เคียงกับสถานีจอดรถไฟฟ้าใต้ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รถไฟฟ้ามหานคร) จำนวน 13 โฉนด เนื้อที่ประมาณ 35-2-87.1 ไร่ มูลค่า 2,140,357,500 บาท
จะสังเกตว่าราคาตอนนั้นมันสุงมากๆ..เป็นแสนต่อตารางวา..ซึ่งเป็นช่วงที่ผลมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่..ที่ยังไม่แตก ...ขณะนั้นราคาที่ดินจึงสูงมาก..ซึ่งต่างกับราคาทุกวันนี้
==================================================== โซนที่ 2 นำออกประมูลขายครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 โดยวิธีประมูลขายทาง Internet
โดยประมูลขายตามสภาพและเนื้อที่ตามโฉนด (35 ไร่ 2 งาน 92.1 ตารางวา รวม 13 โฉนด) (14,292.1 ตารางวา) ในราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 870 ล้านบาท (ตารางวาละ 60,872.79 บาท)
มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 รายคือ (จากผู้สนใจ จำนวน 20 ราย) 1. บมจ.แสนสิริ 2. บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 3. บจ.ทองหล่อ เรสซิเดนซ์ ผลการประมูลเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ไม่มีผู้เสนอราคา
สาเหตุที่ไม่มีผู้เสนอราคา 1. ราคาเริ่มต้นตั้งประมูลขายที่ 870 ล้านบาท สูงเกินไป เนื่องจากการคิดราคาตั้งขายจากเนื้อที่เต็มตามโฉนด แต่เนื้อที่ใช้ประโยชน์ได้จริงมีไม่เต็มตามเนื้อที่ในโฉนด เพราะมีการที่อุทิศที่ดินบางส่วนให้เป็นสาธารณะประโยชน์ ถนนเทียมร่วมมิตร และที่ให้ประชาชนใช้เป็นทางเข้า ออกไปก่อนกองทุนรับโอน 2. เป็นพื้นที่สีส้ม ประเภทหนาแน่นปานกลาง มีข้อจำกัดทางกฎหมายในการควบคุมอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
==================================================== การนำออกประมูลขายครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2546 โดยวิธียื่นซองประกวดราคา
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุน ครั้งที่ 9/2546 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 ระเบียบวาระที่ 5.2 ให้ชะลอการประมูลขายที่ดินบริเวณ ดังกล่าวออกไปก่อนเพื่อดำเนินการรังวัดและแบ่งแยกโฉนดในส่วนที่อุทิศที่ดิน เพื่อใช้เป็นสาธารณะประโยชน์ ถนนเทียมร่วมมิตร และส่วนที่ประชาชนใช้เป็นทางเข้า ออกให้ชัดเจน
ผลการรังวัด แบ่งแยกโฉนด และรวมโฉนด เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2546 คงเหลือเนื้อที่จริง 33 ไร่ 78.9 ตารางวา (13,278,9 ตารางวา รวม 4 โฉนด)
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุน ครั้งที่ 11/2546 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 มีดังนี้
1. อนุมัติให้เสนอขายที่ดินตามเนื้อที่ ที่ได้มีการรังวัดใหม่แล้ว จำนวน 4 โฉนด เนื้อที่ประมาณ 33-1-12.4 ไร่ พร้อมทั้งให้แจ้งรายละเอียดให้ผู้ซื้อทราบเกี่ยวกับส่วนที่อุทิศให้เป็นถนนเทียมร่วมมิตร และส่วนที่อาจถูกแบ่งหักเป็นคลองลำชวดบางจาก รวมทั้งการขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินดังกล่าวให้เป็นภาระของผู้ซื้อด้วย
2. ให้ใช้วิธีการประมูลขายโดยยื่นซองประกวดราคา 3. ไม่กำหนดราคาขั้นต่ำในการขายที่ดิน แต่กำหนดเงื่อนเวลาในการชำระเงินเป็นเงินสดทั้งหมดภายใน 7 วัน นับจากวัน เปิดซองประกวดราคา 4. อนุมัติกระบวนการและกำหนดการในการขายตามที่เสนอ โดยกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 16 ธันวาคม 2546 5. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อเปิดซองประกวดราคา โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน และกรรมการประกอบด้วยผู้จัดการกองทุน และบุคคลอื่นที่เหมาะสมตามที่ประธานเสนอ
==================================================== ประกาศกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ย่อที่เกี่ยวข้อง)
เรื่อง การจำหน่ายที่ดินโดยวิธีการประกวดราคา ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546
ข้อ ง. เงื่อนไขและการพิจารณาจำหน่าย
ข้อ 13. ผู้ชนะการประกวดราคา ต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าอากร และภาษีต่าง ๆ (ไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคลของ ผู้ขาย)
การประชาสัมพันธ์ การยื่นซองประกวดราคา
1. มีหนังสือแจ้งกลุ่มที่แสดงความสนใจซื้อจากครั้งก่อน (การประมูลทาง Internet) จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย บจ.ไทยวัฒน์วิศวการทาง / บจ.นวเจษฎาขนส่งและก่อสร้าง / บจ.นิวเวฟ พร็อพเพอร์ตี้ / บจ.เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้
2. มีหนังสือแจ้งกลุ่มที่ลงทะเบียนเข้าร่วมประมูลครั้งก่อน (แต่ไม่ได้เสนอราคา) ประกอบด้วย บจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ / บจ.แสนสิริ / บจ.ทองหล่อ เรสซิเดนท์
3. มีหนังสือแจ้งกลุ่มที่แสดงความสนใจครั้งใหม่ ประกอบด้วย บจ.MBK ดีเวลลอปเมนท์ / บจ.พี.เอส.เอส.ออแกนิค (ประเทศไทย) / บจ.กฤษณา ดีวิลอปเม้นท์ / บมจ.ศุภาลัย / บจ.นภาพรทิพย์
4. ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Website ธปท./ Website กองทุน
==================================================== ครั้งที่ 2 มีผู้ยื่นซองเพื่อเข้าร่วมยื่นซองประกวดราคา จำนวน 4 รายคือ
1. บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 2. นายสมบูรณ์ คุปติมนัส (ตัวแทนคุณหญิงพจมาน ชินวัตร)
3. บมจ.โนเบิล ดิวลลอปเม้นท์ 4. บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้
แต่มีผู้ยื่นซองประกวดราคาจริง จำนวน 3 รายคือ
1. บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เสนอราคา 730 ล้านบาท 2. คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เสนอราคา 772 ล้านบาท 3. บมจ.โนเบิล ดิวลลอปเม้นท์ เสนอราคา 750 ล้านบาท
หมายเหตุ บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศของกองทุน คณะกรรมการรับซองจึงตัดสิทธิ์ไม่รับซองเสนอราคา
คณะกรรมการจัดการกองทุนอนุมัติให้จำหน่ายที่ดินให้แก่ผู้เสนอราคาซื้อสูงสุด คือ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในราคา 772 ล้านบาท ราคาขายเฉลี่ยตารางวาละ 58,137.35 บาท
โดย : minimalist
จากคุณ |
:
rockaun
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ส.ค. 52 16:15:54
A:124.122.132.187 X:
|
|
|
|
 |