 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
5 สิงหาคม 2551 เว็บไซต์สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันออกจดหมายเปิดผนึก "ความอยุติธรรมต่อคนคนหนึ่ง คือ ความอยุติธรรมต่อคนทั้งสังคม" พร้อมด้วยรายชื่อประชาชน 139 คน เรียกร้อง ขอให้มีการประกันตัวแก่ดารณี เช่นเดียวกับผู้ต้องหารายอื่นๆ
25 กันยายน 2551 ศาลรับคดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้องดารณี หลายข้อหา กรณีนำมวลชนล้อมบ้านพระอาทิตย์ ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3634/2551
9 ตุลาคม 2551 ราว 1 สัปดาห์ ก่อนจะครบอำนาจฝากขังของพนักงานสอบสวน (84 วัน) ศาลได้รับคำฟ้องจากพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ซึ่งยื่นเป็นโจทก์ฟ้องดารณี ในมาตรา 112 ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3959/2551 โดยในสำนวนอัยการระบุการกระทำผิด 3 กรรม
10 ตุลาคม 2551 ศาลนัดสอบคำให้การคดีนี้ จำเลยให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี ศาลจึงนัดแถลงเปิดคดีในวันที่ 1 ธันวาคม 2551
16 ตุลาคม 2551
 ผศ.ดร.สุธาชัย ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวดารณี โดยใช้หลักทรัพย์เป็น เงินสดจำนวน 200,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยกคำร้อง ออกมาในวันเดียวกัน
17 พฤศจิกายน 2551 ศาลอาญานัดไต่สวนเพื่อตรวจพยานหลักฐาน สอบคำให้การจำเลย ในคดีล้อมบ้านพระอาทิตย์ เบื้องต้นจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลจึงนัดพิจารณาวันที่ 15 ธันวาคม 2551
1 ธันวาคม 2551 ศาลอาญา นัดตรวจสอบหลักฐาน สอบคำให้การจำเลยคดีหมิ่นฯ โดยศาลได้สั่งให้เลื่อนการนัดไปเป็นวันที่ 15 ธันวาคม 2551
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และศาลชั้นต้นยกคำร้อง โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
4 ธันวาคม 2551 ทนายของดารณี ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยโต้แย้งว่า การสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวตาม ม.108/1 นั้น ต้องเข้าข่ายผู้ต้องหา/จำเลยจะหลบหนี, จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน, จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น, ผู้ร้องขอประกันไม่น่าเชื่อถือ, จะไปก่อความเสียหายต่อการสอบสวนหรือดำเนินคดี ซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะไปยุ่งกับพยานหลักฐานเพราะพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ส่วนการหลบหนีนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานโดยไม่ปรากฏเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ส่วนที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นเรื่องร้ายแรงนั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน และขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 39 วรรค 2 และ 3 เพราะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ยังไม่แน่ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยบริสุทธิ์ การไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวยังเป็นอุปสรรคต่อการต่อสู้คดีของจำเลย การรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ทำได้ยากลำบาก อาจทำให้เสียความยุติธรรมได้ ฯลฯ
ต่อมาราวกลางเดือนธันวาคม ศาลอุทธรณ์ได้ยืนยันเหตุผลเดิมของศาลชั้นต้น ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
15 ธันวาคม 2551 ศาลนัดสืบพยานในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของดารณี โดยนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23-25 มิถุนายน 2552 และนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 26-30 มิถุนายน 2552


ส่วนคดีเกี่ยวกับการนำมวลชนจำนวนหนึ่งไปปิดล้อมบริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอมฯ นั้น ศาลได้นัดหมายเพื่อสืบพยานโจทก์ในวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2552 


26 มกราคม 2552 ศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน คดีหมายเลขดำที่ อ.4767/2551 คือคดีหมิ่นประมาท พล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร ศาลสั่งเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน สอบคำให้การจำเลย ไปเป็นวันที่ 16 มีนาคม 2552 เนื่องจากทนายจำเลยร้องขอ
23 มิถุนายน 2552 สืบพยานโจทก์นัดแรกของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยผู้พิพากษาพรหมาศ ภู่แส ได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีดังกล่าวเป็นการลับ อาศัยอำนาจตามมาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จากคุณ |
:
ดาบแห่งแสง
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ก.ย. 52 07:38:40
A:116.58.231.242 X:
|
|
|
|
 |