 |
ความคิดเห็นที่ 41 |
ข้อ8 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัมนาระบบสถาบันการเงิน มีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ในการประกาศขายที่ดิน ทำสัญญาซื้อ ขายที่ดิน ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เปรียบเทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 4655/2533 ระหว่าง นางลาวัณย์ ดิลคณารักษ์ โจทก์ กระทรวงการคลังกับพวก จำเลย วินิจฉัยไว้ว่า กองทุนเพื่อการพื้นฟูฯ เป็น นิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่ง กฎหมายภายในของวัตถุประสงค์ของตน และแม้จะอ้างว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีฐานะเป็นรัฐ วิสาหกิจ แต่จะนำเอาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบรามการทุจริต พ.ศ 2542 หมวด 9 ว่าด้วย การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลปละประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 100 (1) มาบังคับใช้ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติในมาตรา 100 (1) มิได้บัญญัติหน่วยงานของรัฐประเภท รัฐวิสหกิจ ไว้เช่นกันกับบทบัญญัติในมาตรา 100 (3) และสัญญาซื้อขายระหว่าง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่ สัญญาสัมปทาน
ข้อ 9. สัญญาซื้อขายที่ดินที่จัดให้มี การประกวดราคา ไม่เป็นเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย่งกับประโยชน์ส่วนรวม มิได้ลิด รอนผลประโยชน์ของประชาชน ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประมูลในการประกวดราคาตามประกาศของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ การกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผู้ขายและ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ซื้อ กระทำโดยสุจริต เปิดเผย มีการแข่งขันราคาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีการศึกษา และตรวจสอบแล้วว่า ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องห้ามในการทำสัญญาซื้อ ขายที่ดิน การจำหน่ายที่ดินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประมูลขายที่ดินและการขายที่ดินเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย และเป็นไปตามข้อบังคับและเป็นไปตามมติของคณะกรรมการจัดการกองทุน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 เตรส
ข้อ 10. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่ได้รับความเสียหายจากการจำหน่ายที่ดินแปลงพิพาทแต่ได้รับ ประโยชน์จากการจำหน่ายที่ดิน คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด เดิมราคาที่ดินที่แท้จริงที่ บริษัท เอราวัณทรัสต์ ซื้อมาเพียงราคา 103 ล้านบาท หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่จำหน่ายที่ดินต้องมีภาระดอกเบี้ยปีละประมาณ 35 ล้านบาท การที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ปรับลดราคาที่ดิน และออกหลักเกณฑ์การขาย การประกาศประกวดราคาที่ดิน ราคาที่ดินอนุมัติขาย รวมทั้ง ข้อกำหนดในการส่งมอบที่ดิน กระบวนการ ต้งแต่การประกาศขายจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายทิ่ดนทุกขั้นตอนเป็นไป โดยเปิดเผยสามารถตราจสอบได้ เพราะในเรื่องดังกล่าวกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำ รายงานการขายที่ดินถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เข้าทำการตรวจสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสร็จสิ้นแล้ว มิได้มีข้อ สังเกตหรือมีข้อทักท้วงในรายงานการตรวจสอบบัญชีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่า การปรับลดราคาที่ดินและการขายที่ดินใน ครั้งนี้ ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสียหาย และการปรับลดราคาที่ดินและการขายที่ดินเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการ กองทุน สำหรับที่มีการกล่าวว่าภายหลัง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อที่ดิน มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาการ มีข้อ
เท็จจริงดังนี้ (1.) ข้อกำหนดตามกฎหมายผังเมืองใหม่ (พ.ศ.2549) ที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อ มาอยู่ ประเภท ย 6 ซึ่ง ห้ามสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีพื้นที่ตั้ง 10,000 ตามรางเมตรขึ้นไป) (2.) ข้อกำหนดการยกเลิกข้อจำกัดความสูงในการก่อสร้างอาคาร เป็นกรณีที่อาคาร
สำนักงานหรืออาคารประกอบพาณิชยกรรมจะสร้างอาคารสูงประเภทดังกล่าวไม่ได้ เพราะที่ดินที่ประมูลได้มีเขตทางไม่ถึง 30 เมตร (ถนนเทียมร่วมมิตร มีเขตทางเพียง 17-20 เมตรเท่านั้น ตามหนังสือสำนักงานเขตห้วยขวางที่ กท04803/6436 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2550 ) และที่ดินดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายในระยะ 500 เมตรจากศูนย์กลางสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จากข้อกำหนดที่ (1) และ (2) ข้างต้น สรุปได้ว่าการยกเลิกข้อจำกัดความสูงในการก่อสร้างอาคารไม่ได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น เพราะแม้จะให้สร้างอาคารสูงได้ แต่ข้อกำหนดเรื่องอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินตามกฎหมายผังเมืองใหม่ (พ.ศ.2549) กำหนดไว้ไม่เกิน 45 : 1 (ตามกฎหมายผังเมืองใหม่ข้อ 17 (21) ใน (1) ย่อย กล่าวคือ ที่ดิน 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถ สร้างอาคารได้เพียง 7,200 ตารางเมตรเท่านั้น) ซึ่งข้อกำหนดนี้เดิมกฎหมายผังเมืองใหม่ไม่ได้ดำหนดไว้ แต่ใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หมวดที่ 1 ข้อ 5 กำหนดไว้ที่อัตราส่วนไม่เกิน 10 : 1 กล่าวคือ ที่ดิน 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถสร้างอาคารได้ 15,000 ตารางเมตร จะเห็นว่าพื้นที่อาคารได้หายไป กว่าครึ่ง ดังนั้นผังเมืองใหม่ดังกล่าวจึงไม่ได้เอื้อประโยชน์ (ทำให้ราคาสูงขึ้น ให้แก่ที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อแต่อย่างใด แต่ใน ทางตรงกันข้ามผังเมืองใหม่ดังกล่าวกลับทำให้ราคาที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อ มีมูลค่าที่ดินลดลง เพราะไม่สามารถ สร้างอาคารให้ได้พื้นที่ใช้สอย เท่ากับกฎหมายเดิมตามที่กล่าวมาข้างต้น (ลดลงกว่าครึ่ง) การจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จะดำเนินการจัดทำใหม่ทุก 5 ปี ตามพระราชบัญญัติผังเมืองมาตรา 26 ถ้าไม่ทันให้ขยาย เวลาการใช้บังคับกฎกระทรวงตามผังรวมเดิมได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ตามมาตรา 26 วรรคห้า และกระบวนการในการ จัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนมากมายเช่นต้องผ่าน คณะกรรมการผังเมือง ซึ่งตามมาตรา 6 แห่งพระราช บัญญัติการผังเมือง (พ.ศ.2518) กำหนดให้ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการแล้วยังมีผู้ทรงคุณวุฒิทางการผัง เมืองหรือสาขาวิชากที่เกี่ยววข้องโดยตรงกับการผังเมืองไม่เกิน 7 คน และผุ้แทนสถาบันองค์กรอิสระและบุคคลอื่นที่มีความเกี่ยว ข้องกับการผังเมืองไม่เกิน 7 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นกรรมการด้วย นอกจากนี้คณะกรรมการผังเมืองยังมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามความเหมาะสมขึ้นมาพิจารณาดำเนินการได้อีก ตามมาตรา
8 แห่งพระราชบัญญัติผังเมือง (พ.ศ.2518) ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะกรรมการร่างกฎหมายกระทรวง มหาดไทย และคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา จะเห็นว่าการจัดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จะต้องผ่านขั้นตอนและการ พิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสถาบันองค์กรอิสระมากมาย และที่สำคัญคือมีการผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การจัดกำหนดผังเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนากยรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ได้กำกับ ควบคุม ดูแลกรุงเทพมหานคร และมีข้อเท็จจริงที่สังคม ทราบโดยทั่วไปว่า ในขณะนั้น กรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นสมาชิก และผู้บริหารพรรคการเมือง ที่เป็นคู่แข่งและเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับพรรคการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะให้อำนาจหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีไปแทรกแซง สั่งการใดๆ ให้กรุงเทพ มหานคร ซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับพรรคการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำ ยอมต้องยกเลิกข้อบังคับเรื่องอาคารสูง เพื่อให้เป็นประโยชน์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น
credit : มาหาอะไร
แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 52 13:26:31
จากคุณ |
:
SaVor
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.ย. 52 13:25:49
A:124.120.14.18 X:
|
|
|
|
 |