 |
ความคิดเห็นที่ 13 |
. สร้างไม่เสร็จแม้แต่สายเดียวครับ เพราะวงเงินไม่พอ แต่ก็บรรลุถึงเจตนารมย์ของพรรคประชาธิปัติ์ที่พยายามประมูลให้ครบ 13 สาย เพื่อกินหัวคิวการประมูลของแต่ละสาย แถมยังรวบการซื้อรถไฟฟ้าเข้ามาประมูลด้วย ทั้งที่ระบบรางยังทำไม่เสร็จ
ทำไมผมพูดเช่นนั้น เพราะว่า
โครงการระบบรถไฟฟ้าตามแผน Logistics Time ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามแหล่งที่มาของเงินกู้ มีทั้งสิ้น 13 โครงการวงเงินลงทุน 228,493 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการประเภทที่ 1 เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้า มีทั้งสิ้น 6 โครงการวงเงินลงทุน 168,586 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) โครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กม. กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 6,713 ล้านบาท 2) โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วง บางซื่อ-รังสิต กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 42,992 ล้านบาท 3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติจำนวน 41,527 ล้านบาท 4) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ กรอบวง เงินที่ ครม. อนุมัติจำนวน 19,885 ล้านบาท 5) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติจำนวน 25,992 ล้านบาท 6) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 31,477 ล้านบาท โครงการประเภทที่ 2 มีทั้งสิ้น 4 โครงการวงเงินลงทุน 45,606 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยาย ช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกาคลองสี่ กรอบวง เงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 14,219 ล้านบาท (อยู่ในระหว่างการจัดทำแบบรายละเอียด) 2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 7,419 ล้านบาท (อยู่ในระหว่างการจัดทำแบบรายละเอียด) 3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 22,266 ล้านบาท (อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนแผนแม่บทระบบขนส่งทางราง) 4) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 1,702 ล้านบาท (อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนแผนแม่บทระบบขนส่งทางราง) โครงการประเภทที่ 3 มีทั้งสิ้น 3 โครงการวงเงินลงทุน 14,301 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) โครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 228 ล้านบาท แต่ต้องรอให้ช่วงบางซื่อ-รังสิต แล้วเสร็จก่อน 2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 4,830 ล้านบาท (อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนแผนแม่บทระบบขนส่งทางราง) 3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเข้ม ช่วงพัฒนาการ-สำโรง กรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติ จำนวน 9,243 ล้านบาท (อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนแผนแม่บทระบบขนส่งทางราง
เห็นภาพชัดไหมครับ ทั้งที่ในความเป็นจริง ไม่มีประเทศไหนบ้าทำหลายๆสายพร้อมกันอย่างประเทศไทศไทย เพราะ ในระหว่างที่ก่อสร้าง พื้นที่ของถนนเสียไปมากมายเพียงใด ซึ่งเท่ากับพิ่มภาวะการขาดดุลด้านพลังงานให้ประเทศไทยอย่างมหาศาล
ดูกรณีเวียดนามที่กำลังจะสร้างรถไฟฟ้าใต้เดิน 6 สายในเมืองโฮจิมินท์ รองรับการเดินทางของคนที่นั่นที่มีประมาณ 8 ล้านคน ใกล้เคียงกับกรุงเทพฯของไทย ซึ่งได้อนุมัติการก่อสร้างไป 1 เส้นทางเมื่อเดือนเมษายน 2550 มูลค่าการลงทุน 35,000 ล้านบาท จะเปิดให้บริการได้ในปี 2556 และค่อยๆทยอยทำใน 7 ปี จนครบ 6 สาย ในปี 2563 ทั้งๆที่พื้นที่ถนนกับจำนวนรถเขามีมากกว่าประเทศไทยหลายเท่า
จากคุณ |
:
บุรุษหน้าเหล็ก
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.ย. 52 11:11:02
A:117.47.160.6 X:
|
|
|
|
 |