 |
ความคิดเห็นที่ 51 |
คุณ thyrocyte
1. หนังสือนั้นเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ไทยเสียดินแดนได้อย่างไร ในเมื่อมีเขมรเป็นผู้ยื่นหนังสือนั้นฝ่ายเดียว กับยูเนสโก การลงนามหนังสือนั้น ก็ไม่ได้ทำให้ไทยเป็นผู้ร่วมยื่นกับเขมร
- เข้าใจว่าแถลงการณ์ฯ มีอยู่ 3 ฉบับ ฉบับหนึ่งไทยเก็บไว้ ฉบับที่ 2 เขมรเก็บไว้ และฉบับที่ 3 สำหรับยื่นให้ unesco เพราะเป็นการลงนามทั้ง 3 ฝ่าย ไทย , เขมร , unesco
ซึ่งในวันขึ้นทะเบียน คณะกรรมการมรดกโลกประกาศให้ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมฯ ในที่ประชุมก่อนจะขึ้นทะเบียนให้ปราสาทพระวิหาร เนื่องจากคำสั่งของศาลไทย ตามนี้...
5. รับรอง ว่าคำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาลแห่งกัมพูชาและไทย กับยูเนสโก รวมทั้งร่างคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้ ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้
" ในหนังสือนั้น มีการรวม พื้นที่ในเขตพื้นแผ่นดินไทย ไปกับการยื่นมรดกโลกโดยเขมรฝ่ายเดียว "
- กรณีนี้เป็นการยื่นเอกสารของฝ่ายเขมรในครั้งแรกสมัยรัฐบาลสุรยุทธ ก.ต่างประเทศรู้ถึงได้รีบคัดค้านและนำมาสู่การเจรจาและทำแถลงการณ์ร่วมให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะปราสาทนี่ไง
" แต่การที่เขมรเป็นผู้ยื่นมรดกโลกต่อยูเนสโก เขมรสามารถระบุได้ว่า ยินดีให้ประ เทศใดบ้างเข้ามาบริหารจัดการร่วม ในเขตมรดกโลกนี้ เป็นความยินยอมจากฝ่ายเขมรที่ได้เป็นผู้ยื่นมรดกโลก ไม่ได้ทำให้ไทยสามารถอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าวได้เลย "
- คุณระบุเองว่าในเขตมรดกโลก ในเมื่อปราสาทพระวิหารเป็นเขตมรดกโลก คณะกรรมการที่เข้ามาบริหารก็อยู่แค่ในเขตปราสาทหรือบริเวณเขตของเขมรเท่านั้น ซึ่งในแถลงการณ์ร่วมฯ(หากมีผล)ก็บอกให้ขึ้นทะเบียนแค่ปราสาทอยู่แล้ว
จากคุณ |
:
TSC
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ก.ย. 52 21:33:19
A:124.122.205.68 X:
|
|
|
|
 |