Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
น่าเสณ้าประเทสไทย /ตัวเลขหนี้สาธารณะล่าสุด 30 ก.ย.52 กว่า 4 ล้านล้านบาท 45.5% ของจีดีพี  

หมายเหตุ"มติชนออนไลน์" -เป็นการรายงานเรื่องหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันายน ๒๕๕๒  ตามประกาศกระทรวงการคลังซึ่งต้องแจ้งให้สาธารณชนรับทราบตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งมีจำนวน ทั้งสิ้น๔,๐๐๑,๙๔๒.๐๐ ล้านบาทหรือร้อยละ ๔๕.๕๕ ของผลิตภัรฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP) ประกอบด้วย

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๕๘๖,๕๑๓.๑๘ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๑๐๘,๕๘๐.๓๒ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็น สถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน ๒๐๘,๗๐๒.๐๒ ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน ๙๘,๑๔๖.๔๘ ล้านบาท

รายงานดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

๑. รายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒

๑.๑ หนี้สาธารณะ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ มีจำนวน ๔,๐๐๑,๙๔๒.๐๐ ล้านบาทหรือร้อยละ ๔๕.๕๕ ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๕๘๖,๕๑๓.๑๘ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๑๐๘,๕๘๐.๓๒ ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน ๒๐๘,๗๐๒.๐๒ ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๙๘,๑๔๖.๔๘ ล้านบาท

หนี้สาธารณะจำนวนดังกล่าวจำแนกตามอายุของหนี้เป็นหนี้ระยะยาว ๓,๖๐๐,๙๕๗.๙๙ ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น ๔๐๐,๙๘๔.๐๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๘ และร้อยละ ๑๐.๐๒ และจำแนก ตามแหล่งที่มาเป็นหนี้ต่างประเทศ ๓๘๔,๓๗๖.๖๘ ล้านบาท และหนี้ในประเทศ ๓,๖๑๗,๕๖๕.๓๒ ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ ๙.๖๐ และร้อยละ ๙๐.๔๐ ตามลำดับ
-----------------------------------------
ตาราง หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒(หน่วย:ล้านบาท)

๑. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ๒,๕๘๖,๕๑๓.๑๘/     ๒๙.๔๔( % GDP)
๑.๑ หนี้ต่างประเทศ   ๖๒,๙๙๗.๗๓
๑.๒ หนี้ในประเทศ   ๒,๕๒๓,๕๑๕.๔๕

๒. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ๑,๑๐๘,๕๘๐.๓๒ /  ๑๒.๖๒ ( % GDP)
๒.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๕๕๙,๔๗๓.๘๕
- หนี้ต่างประเทศ ๑๗๕,๕๔๓.๕๖
- หนี้ในประเทศ ๓๘๓,๙๓๐.๒๙

๒.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๕๔๙,๑๐๖.๔๗
- หนี้ต่างประเทศ ๑๓๗,๓๕๗.๘๔
- หนี้ในประเทศ ๔๑๑,๗๔๘.๖๓

๓. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐค้ำประกัน) ๒๐๘,๗๐๒.๐๒ / ๒.๓๘( % GDP)
๓.๑ หนี้ต่างประเทศ ๘,๔๗๗.๕๕
๓.๒ หนี้ในประเทศ ๒๐๐,๒๒๔.๔๗

๔. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ฯ ๙๘,๑๔๖.๔๘  /  ๑.๑๒( % GDP)
๔.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๗๓,๗๙๔.๖๐
๔.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๒๔,๓๕๑.๘๘

๕. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ - -
๕.๑ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน -
๕.๒ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน -

๖. รวม   ๔,๐๐๑,๙๔๒.๐๐/    ๔๕.๕๕( % GDP)

หมายเหตุ :- ๑. ประมาณการ GDP ปี ๒๕๕๒ เท่ากับ ๘,๗๘๖.๒๙ พันล้านบาท (สศช. ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒)
                   ๒. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ยังไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน ๒๓,๙๙๙.๙๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งตามระบบ GFS นับเป็นหนี้สาธารณะ
-----------------------------------
๒. รายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒

คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย ๖ แผนย่อย และได้ปรับปรุงแผน ฯ ในระหว่างปีเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินกู้และบริหารหนี้ ซึ่งหลังการปรับปรุงแผน ฯ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ ทำให้วงเงินรวมในแผน ฯ ที่จะบริหารจัดการมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๓๗๕,๕๓๕.๔๕ ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน ๒๕๕๒ กระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการกู้เงินและบริหารหนี้เป็นวงเงินทั้งสิ้น ๖๙๑,๑๖๗.๔๐ ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

๒.๑ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล

๒.๑.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จำนวน ๒๒๕,๕๓๐.๕๒ ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงินรวม ๑๔๕,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงินรวม ๑๔,๐๓๐.๕๒ ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง วงเงินรวม ๖๖,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของตั๋วสัญญาใช้เงินที่ได้ดำ เนินการออกนั้น
กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนก่อนครบกำหนดโดยใช้งบชำระหนี้ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ลดหนี้คงค้างลงตามจำนวนดังกล่าว และลดภาระดอกเบี้ย จำนวน ๖๙๗.๖๐ ล้านบาท

๒.๑.๒ กระทรวงการคลังได้ Roll - over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน๘๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท และตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วง
ปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ จำนวน ๖๗,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยแปลงเป็นพันธบัตรระยะยาว จำนวน ๑๙,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท

๒.๑.๓ กระทรวงการคลังได้ Roll - over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดไถ่ถอน๓ รุ่น วงเงินรวม ๔๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๕ แห่ง ตามจำนวน
ดังกล่าวมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนด จากนั้นได้ออกพันธบัตรรัฐบาล ๓ รุ่น วงเงินรวม๓๗,๗๔๐.๐๐ ล้านบาท สมทบกับเงินจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน ๒,๒๖๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าว

๒.๑.๔ กระทรวงการคลังได้ Roll - over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดไถ่ถอน๒ รุ่น วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๔ แห่ง ตามจำนวน
ดังกล่าวมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนด จากนั้นได้ออกพันธบัตรรัฐบาล ๓ รุ่น วงเงินรวม๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท เพื่อนำไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้น

๒.๑.๕ กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนครบกำหนด วงเงิน๑๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยใช้งบชำระหนี้ ซึ่งทำให้ลดหนี้คงค้างลงตามจำนวนดังกล่าว และลดภาระ
ดอกเบี้ย จำนวน ๔๓๔.๖๖ ล้านบาท

๒.๒ การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)

กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Roll - over พันธบัตร FIDF3 (พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน๕๔,๒๔๕.๗๓ ล้านบาท โดยการกู้เงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน ๒ แห่ง จำนวน ๒๓,๑๖๒.๐๐ ล้านบาทสมทบกับการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ๓ แห่ง จำนวน ๑๓,๙๓๔.๖๔ ล้านบาท และเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน ๑๑,๐๖๕.๓๖ ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด

จากนั้นได้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ วงเงิน ๒๕,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท มาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินจากบัญชีเงินฝาก ฯ ทั้งนี้ ในส่วนที่ไม่ได้กู้เงินเพื่อมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน ได้มีการชำระคืนเงินต้นจากเงินในบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน ๖,๐๘๓.๗๓ ล้านบาท นอกจากนี้ณ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๒ ได้ดำเนินการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวอีกส่วนหนึ่ง จำนวน ๗๑๑.๐๐ ล้านบาทโดยใช้เงินจากบัญชีสะสม ฯ ด้วย

อนึ่ง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ยังมีพันธบัตร FIDF3 ที่ครบกำหนดไถ่ถอน อีก ๒ รุ่นวงเงินรวม ๙๔๔.๙๙ ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนโดยใช้เงินจากบัญชีเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน แทนการ Roll - over ที่กำหนดไว้เดิม ทำให้ลดหนี้คงค้างได้๙๔๔.๙๙ ล้านบาท

๒.๓ การบริหารและจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒

๒.๓.๑ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อสมทบเป็นเงินคงคลัง จำนวน ๕๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาทโดยออกพันธบัตรรัฐบาล

๒.๓.๒ กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕จำนวน ๓๐,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท โดยกู้เงินจากสถาบันการเงินรวม ๔ แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งโตเกียว- มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกระทรวงการคลังมีแผนที่จะแปลงเป็นพันธบัตรรัฐบาลในโอกาสแรกที่ภาวะตลาดเอื้ออำนวยต่อไป

๒.๔ การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจรัฐวิสาหกิจได้ดำ เนินการกู้เงินและบริหารหนี้ในประเทศ จำ นวนทั้งสิ้น๑๐๙,๐๑๕.๑๘ ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน ๕๙,๕๗๕.๑๘ ล้านบาทและไม่ค้ำประกัน จำนวน ๔๙,๔๔๐.๐๐ ล้านบาท สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้

๒.๔.๑ เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศรัฐวิสาหกิจ ๓ แห่ง ได้กู้เงินในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศวงเงินรวม ๑๐,๑๔๗.๔๕ ล้านบาท กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ได้แก่

(๑) การไฟฟ้านครหลวงได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวม๑,๗๘๘.๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๙ ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒) จำนวน ๖๔๐.๐๐ ล้านบาท แผนงานเปลี่ยนสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนใต้ดิน ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๒ จำนวน ๑๔๘.๐๐ ล้านบาท และแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ ๑๐ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๐๐.๐๐ ล้านบาท

(๒) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงินรวม ๘,๒๓๙.๔๕ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ ๓ จำนวน ๖๙๔.๗๙ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ ๕จำนวน ๒,๐๓๐.๘๑ ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ ๑ จำนวน ๑,๕๙๓.๙๘ ล้านบาท โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ระยะที่ ๒ จำนวน ๙๓๑.๗๑ ล้านบาท

จากคุณ : ttt1234
เขียนเมื่อ : 1 ธ.ค. 52 01:43:15 A:58.8.101.170 X:




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com