 |
ห นี้ สิ น ภ า ค รั ฐ บ า ล ทำ ใ ห้ ฟ อ ง ส บู่ แ ต ก อี ก ค รั้ ง ใ น ปี ๕ ๓
|
|
.
**************************************************
คัดจากคอลัมภ์ ปกิณกคดี สาระพันเรื่อง โดย ภักดี ธนะปุระ จาก นสพ. Thai Red News ฉบับวันที่ ๑ - ๗ มกราคม ๒๕๕๓
**************************************************
ห นี้ สิ น ภ า ค รั ฐ บ า ล จ ะ ก ล า ย เ ป็ น ฟ อ ง ส บู่ แ บ บ เ ดี ย ว กั บ วิ ก ฤ ติ ซั บ ไ พ ร ม์ อี ก ห รื อ ไ ม่ ?
บทความโดย คริส นิโคลัส จาก Aaron Task in Investing Recession
นี้เป็นคำถามซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากกำลังถามเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ นักลงทุนจำนวนมากเริ่มไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถใช้หนี้ของตนได้ เช่นเดียวกับหนี้ด้อยคุณภาพ ล้มเหลวสืบเนื่องมาจากการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ และ ๒๕๕๒ หนี้ภาครัฐบาลเหล่านี้กำลังล้มเหลวและอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นตัวดังที่หวังไว้ ครั้งนี้ประเทศจำนวนมากกำลังประสบกับภาวะหนี้สินเกินตัว กรีก เสปน ยูเครน ออสเตรีย ลัทเวีย และเม็กซิโก ฯลฯ ตกอยู่ในฐานะการเงินล่อแหลม ถึงกับหยุดการชำระหนี้ในขณะที่ดูไบเกือบล้มละลายเมื่อเร็วนี้ เพียงแต่ประเทศอาบูดาบี้ที่ร่ำรวยมาจากน้ำมัน นำเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้าน US$ มากู้สถานการณ์ไว้ได้ในนาทีสุดท้าย ประเทศใดบ้างที่กำลังประสบวิกฤติการณ์การเงินที่ร้อนแรง
ประเทศกรีก : ฟิชท์ เรตติ้ง เช่นเดียวกับบริษัทเรตติ้งอีกสองบริษัท รู้สึกกังวลเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล “ประเทศกรีกกำลังจมดิ่งลงใต้กองหนี้มหาศาล” นายจอร์ช บาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีได้กล่าว และเรียกร้องให้ลดการขาดดุลย์ของประเทศโดยการเก็บภาษีเพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เอควาดอร์ : ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๑ ประธานาธิบดีราฟาแอล คอเรลร่า ได้กล่าวว่าประเทศ เอควาดอร์ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย ๒๐ ล้าน US$ จากพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า ๕๑๐ ล้าน US$ ในขณะที่ขายพันธบัตรรัฐบาลชุดนี้ พันธบัตรได้รับการจัดอันดับ CCC+ โดย S&P ซึ่งหมายความว่าเป็นพันธบัตรจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและสภาพเศรษฐกิจทั่วไปหรืออีกนัยหนึ่งคือ รัฐบาลสามารถใช้หนี้ได้ยาก อาร์เจนติน่า เกรนาต้า เลบานอน ปากีสถาน และโบลิเวีย อาจจะอยู่ในสภาพดีกว่าเล็กน้อย ได้รับการจัดเรตติ้งในกลุ่ม BBB- การจัดให้อยู่ในกลุ่ม B ตามบริษัท เรตติ้ง S&P หมายถึงสภาพเศรษฐกิจอยู่ในฐานะไม่สู้ดีและต้องรีบจัดการโดยเร็ว ประเทศเม็กซิโก : บริษัท S&P ลดความน่าเชื่อถือ แต่ถือว่าอนาคตยังมั่นคง ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบริษัทเรตติ้งเชื่อว่าความพยายามของเม็กซิโกในการหาเงินจากแหล่งเงินอื่นนอกจากเงินจากแหล่งน้ำมัน และต้องการทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพดีขึ้น จะไม่สามารถหารายได้พอกับงบประมาณขาดดุลย์ หมายความว่าบริษัทเรตติ้งกำลังจับตาดูสถานภาพของประเทศอยู่ สเปน : เมื่อประมาณต้นเดือน บริษัท เรตติ้ง S&P ขั้นของเศรษฐกิจลงกว่าเดิม จากมั่นคงเป็นลบ เนื่องจากกลัวว่า “ประเทศจะเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องของการเงินสาธารณะเป็นระยะเวลานานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน” อะไรคือหนี้สินของรัฐบาล ?
หนี้สินของรัฐบาลคือหนี้สินของประเทศ เช่น รัฐบาลอเมริกันเปิดขายพันธบัตร ซึ่งได้รับการรับรองโดย “ความเชื่อถือในเครดิต” ของรัฐบาล ประเทศหลายประเทศขายพันธบัตรเพื่อการใช้จ่ายภาครัฐบาลจากการใช้จ่ายของกองทัพไปจนถึงการสาธารณสุข การ “หยุดชำระหนี้” หมายถึงเวลาเมื่อประเทศไม่สามารถ (หรือปฏิเสธ) ที่จะใช้หนี้ เช่นเดียวกับผู้กู้เงินซื้อบ้านแล้วไม่สามารถผ่อนส่งได้อีกต่อไป สืบเนื่องมาจากราคาบ้านตกต่ำ จนการจ่ายหนี้แก่ธนาคารไม่คุ้ม ผลต่อธนาคารก็เช่นเดียวกัน ธนาคารให้ยืเงินและต้องการให้จ่ายคืนอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับนักลงทุนที่ซื้อหนี้ของรัฐบาล เรื่องนี้สำคัญ คนทั่วไปมักจะคิดว่าหนี้สินของรัฐบาลปลอดภัยกว่าหนี้ของบริษัทเพราะประเทศต่าง ๆ สามารถเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากประชาชนเพื่อนำมาจ่ายหนี้ แต่ “ปลอดภัยกว่า” ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย เจ้าหนี้ของรัฐบาลก็เสี่ยงเช่นเดียวกัน อาร์เจนติน่าในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และประเทศรัสเซียในปี พ.ศ.๒๕๔๑ เช่นเดียวกับจักรวรรดิ์สเปนในปี พ.ศ.๒๑๔๓
อั ตราส่วนระหว่างหนี้สินกับรายได้ประชาชาติ (GDP) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ หนี้สินรัฐบาลกว่าครึ่งล้มเหลวสำหรับประเทศที่มีหนี้สินต่อรายได้ประชาชาติประมาณร้อยละ ๖๐ หรือมากกว่านั้น เรื่องนี้เป็นไปได้เพราะเมื่อขนาดของหนี้สินใกล้เคียงกับรายได้ประชาชาติทั้งหมด เป็นการยากลำบากที่จะจ่ายหนี้ให้ได้เหมือนบุคคลธรรมดา ซึ่งหนี้สินเริ่มมีสัดส่วนเท่ากับรายได้หรือเงินเดือน ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรืออังกฤษ ซึ่งได้เรตติ้งในระดับ AAA หมายความว่าอยู่ในสภาพเศรษฐกิจที่ดีเลิศ อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญต่างห่วงใยว่าการจัดอันดับเหล่านี้ไม่เป็นความจริงและเกิดขึ้นเพราะประเทศทั้งสองเป็นชาติแองโกลแซคซั่น (คนผิวขาว) จึงได้รับประโยชน์ในการจัดอันดับได้เหนือกว่าประเทศอื่น โลกแห่งความเสี่ยง นักลงทุนจำนวนหนึ่งเริ่มกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความไม่สามารถในการใช้หนี้ของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ความห่วงใยเกี่ยวกับความสามารถของดูไบในการชำระหนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีผลให้ตลาดสั่นสะเทือนไปทั่วโลก ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนพากันตั้งการ์ดเตรียมรับสถานการณ์ บริษัท เรตติ้ง เช่น มูดดี้ส์ ได้รายงานว่าปีใหม่กำลังมาถึงนี้จะเป็นปีลำบากของหนี้สินของรัฐบาล เขียนรายงานด้านมืดชื่อว่า “รัดเข็มขัดไว้เถิด : ความปั่นป่วนกำลังจะมาถึง” ทุกคนที่อยู่ในวงการทราบดีว่า ธนาคาร รัฐบาล ทุกแห่งประสบกับปัญหาร้ายแรง เพียงแต่ร้ายแรงมากเพียงใดและจะใช้เวลานานเท่าไรในการแก้ปัญหา โชคร้ายเราอาจจะต้องประสบกับเรื่องร้ายมากกว่านี้ ก่อนที่วันดี ๆ จะกลับคืนมา
จากบทความดังกล่าวจะเห็นว่าประเทศไทยยังจะต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกระลอกหนึ่ง ซึ่งอาจจะร้ายแรงกว่าวิกฤติการณ์ซับไพรม์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถชำระหนี้ได้ รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ทะให้ประเทศไทยติดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้เกือบถึงร้อยละ ๖๐ ของรายไดของคนในชรติ หรือ GDP ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงจัดอยู่ในประเทศที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้เช่นเดียวกับหลายประเทศดังกล่าวข้างต้น ในกรณีนี้อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ใครจำเป็นผู้รับผิดชอบ การก็เงินมาเพื่อใช้จ่ายทำให้ตัวเลขของ GDP เจริญเติบโต ทำให้หน้าตาดูดีขึ้น แต่หนี้สินก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นไม่ใช่ตัวเลขของ GDP เท่านั้น แต่สัดส่วนระหว่างหนี้ GDP จึงเป็นตัววัดที่สำคัญกว่าความเจริญเติบโตของ GDP ในกรณีที่ประเทศไทยล้มละลาย รัฐบาลอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างเต็มตัว ยิ่งไปกว่านั้นอำมาตย์ ทั้งทหารและพลเรือนที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน ป ร ะ ช า ช น ช า ย ไ ท ย กำ ลัง จั บ ต า ดู พ ว ก ท่ า น อ ยู่ .
จากคุณ |
:
hollowpig
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ม.ค. 53 22:23:38
A:118.174.40.247 X:
|
|
|
|  |