 |
ความคิดเห็นที่ 29 |
คุณคนมะเก่า
" ส่วนเรื่องปราสาทพระวิหาร เรื่องเซ็นต์สัญสัญญาร่วมไม่ผิด ผิด ที่ก่อนเซ็นต์สัญญา ต้องในรัฐสภารับรู้ "
- ประเด็นที่ว่าทำไมนพดลไม่เอาแถลงการณ์ร่วมเข้าสภา เพราะทั้งนพดลและข้าราชการกต.ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ต่างเห็นตรงกันว่า แถลงการณ์ร่วมไม่ใช่สนธิสัญญา แต่ที่มีปัญหาเพราะตลก.รธน.กลับไปเติมคำว่า "อาจ" เข้าไปในคำวินิจฉัย ทั้งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้อย่างนั้น
หมายความว่า หากตลก.รธน.ว่าไปกันตามกฎหมาย ก็จะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น และแถลงการณ์ก็ไม่ต้องนำเข้าสภาเพราะไม่ใช่สนธิสัญญา
รัฐธรรมนูญ 2550
มาตรา 190 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศตามวรรค 2 คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรค 2 แล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไข หรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอน และวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้าหรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติ ตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรค 2 ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 154 (1) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
........................................................................................................
จะเห็นว่าในรธน.ใช้ถ้อยคำชัดเจนว่า "มีบทเปลี่ยนแปลง" ซึ่งนั่นหมายความว่า แถลงการณ์ร่วมฯ หรือสนธิสัญญานั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนอาณาเขตขึ้นแล้ว
แต่ที่เป็นประเด็นก็คือ ตลก.ที่พิจารณาแถลงการณ์ร่วม กลับเติมคำว่า "อาจ" ลงไปในข้อความ "หนังสือสัญญาใด(ที่อาจ)มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย" (ตามรูป)
โดยหากเป็นไปตามถ้อยคำนี้ หมายความว่า แถลงการณ์ร่วมฯ ยังไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต แต่เป็นเพียงการคาดเดาสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรธน.
ประเด็นนี้จึงมีการถกเถียงกันว่า ตลก.ทำเกินหน้าที่หรือไม่ เพราะนี่เท่ากับเป็นการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่ แทนที่จะพิจารณาตัดสินไปตามตัวบทกฎหมายที่มีอยู่แล้ว
นั่นคือกรณีแถลงการณ์ร่วมฯ หากพิจารณาไปตามตัวบทกฎหมายก็จะไม่เข้าข่ายม.190 ซึ่งข้าราชกระทรวงต่างประเทศที่ทำงานมานานรู้เรื่องเอกสารและรวมถึงสัญญาต่างๆ ดีว่าแบบไหนเรียกว่า "บันทึก" , "แถลงการณ์" , "สัญญา" หรือ "สนธิสัญญา"
จึงเป็นที่สงสัยพอสมควร ที่ตัดสินว่านพดลไม่ทำตามรธน.ด้วยการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่โดยไม่เป็นไปตามรธน.
คำวินิจฉัยที่เติมคำว่า "อาจ" ลงไปในข้อความ "หนังสือสัญญาใด(ที่อาจ)มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย" ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรธน.2550 รวมถึงรธน.ฉบับก่อนหน้านั้น
จากคุณ |
:
TSC
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ม.ค. 53 15:57:18
A:124.121.41.70 X:
|
|
|
|
 |