 |
ความคิดเห็นที่ 6 |
มาพิจารณากันอย่างถ่องแท้ของการดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ต่อการเตรียมการณ์รับสถานการณ์รายได้จากสัมปทานที่ลดลง ด้วยการแปลงรายได้สัมปทานมาเป็นภาษีซึ่งถือเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ และยังเป็นการส่งตรงเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
ที่ผ่านมา ต่างทราบดีว่า รัฐวิสาหกิจผู้ให้สัมปทานมือถือทั้ง 2 ราย คือ ทีโอที และ กสท. จะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากภาคเอกชน ทุกปี เฉลี่ยรวมกันประมาณ 30,000 ล้านบาท จากนั้นจึงจัดส่งให้ให้รัฐบาลคือกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ 2 หน่วยงาน ถ้าย้อนมองการจัดเก็บรายได้และการนำส่งรายได้ต่อกระทรวงการคลัง ของ ทีโอที และ กสท. โดยดูจากงบการเงินที่ปรากฎบนเวบไซด์ของทั้ง 2 หน่วยงาน พบว่าในปี 2550
ทีโอทีรับส่วนแบ่งรายได้ที่ 17,365 ล้านบาท จัดส่งเงินปันผลเข้าคลัง 1,002 ล้านบาท ปี 2551 รับส่วนแบ่งรายได้ 19,462 ล้านบาท จัดส่งเข้าคลัง 5,511 ล้านบาท
ขณะที่ กสท. รับส่วนแบ่งรายได้ในปี 2550 จำนวน 14,091 ล้านบาท จ่ายปันผลให้คลัง 3,740 ล้านบาท ปี 2551 รับส่วนแบ่งรายได้ 15,097 ล้านบาท จ่ายปันผลส่งคลัง 6,900 ล้านบาท
ซึ่งการจัดส่งมอบรายได้ปันผลต่อคลังของ 2 หน่วยงานดังกล่าว แต่ละปี ที่ลดลงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากมีการนำรายได้ดังกล่าวไปเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ภายในองค์กรของตนเองก่อนปันผลให้คลังนั้นเอง
ดังนั้นเมื่อมองความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตัวเลขรายได้ที่คลังได้รับจากการจัดการภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นการจ่ายตรงเป็นรายได้ที่คลังได้เต็มที่ 100% แต่ก็มาถูกยกเลิกไปเมื่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยกลับคืนไปเป็นรายได้สัมปทานของทีโอที และกสท. เช่นเดิม ซึ่งคลังต้องรอรับรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายของ 2 หน่วยงานก่อน ซึ่งไม่ทราบว่าแต่ละปีเขาจะปันผลมาให้มากน้อยแค่ไหน ขณะที่ภาคเอกชนก็ยังคงจัดส่งรายได้ให้ 2 หน่วยงานคือ ทีโอที และ กสท. อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเช่นเดิม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ก็ตาม
แล้วอย่างนี้ ยังจะเรียกว่า รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต อีกหรือ
จากคุณ |
:
ตริวิกรมเสน
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ก.พ. 53 12:33:55
A:58.8.73.198 X:
|
|
|
|
 |